"กระเช้าไฟฟ้า" เป็นอันต้องจบลงอย่างรวดเร็ว เมื่อล่าสุด ยังไม่มีข้อเสนอเรื่องของบ 28 ล้านเพื่อทำการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าเข้ามาที่ ครม. รอลุ้นอีกทีประชุม ครม. รอบหน้า
จุดเริ่มต้นต้องย้อนกลับไปในสมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ครม.ได้ออกมติครม. เพื่อเข้าไปสำรวจ และวางแผนความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง “กระเช้าไฟฟ้า” ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เพื่อช่วยในกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย ซึ่งกระบวนการตรงนี้กินเวลามาตั้งแต่ปี 2539 มาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ล่มไม่เป็นท่า
จนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านที่รัฐบาลไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง และประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ ทักษิณ ชิณวัตร ในปี 2547 ทักษิณและคณะเดินทางไปที่จังหวัดเลย และได้ปัดฝุ่นโครงการ กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงใหม่อีกครั้ง และสั่งให้เข้าไปศึกษา
พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าการก่อสร้างจะส่งผลต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ให้คำนึกถึงเรื่องนี้เป็นอันดับแรก พร้อมย้ำอีกว่า ต้องไม่ตัดต้นไม้ ดูเหมือนจะไปได้ดี แต่เกิดเหตุขัดข้องที่ส่วนไหน Keep The World ชวนย้อนไทม์ไลน์ถึงความเป็นมาของมหากาพย์ “กระเช้าไฟฟ้า” ขึ้นภูกระดึง
กระเช้าไฟฟ้า 66 เอายังไงดี?
ต้องงเรียนว่า แผนพัฒนากระตุ้นการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย เป็นที่พูดถึงมาหลายยุคหลายสมัย แต่ผ่านไปกี่รัฐบาลก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการก่อสร้างขึ้นจริง ๆ รวมถึงในครั้งล่าสุดนี้ด้วย ที่มีการพูดถึง “กระเช้าไฟฟ้า” ขึ้นภูกระดึงกันอย่างเป็นวงกว้าง
งบประมาณ 28 ล้าน ที่ทางจ.เลย ยื่นเสนอมาที่ ครม. ยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณในการออกแบบ ทางรัฐบาลให้เห็นผลว่าการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้า ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ จึงต้องเร่งศึกษา และประชุมกับหลาย ๆ หน่วยงานเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้เสียก่อนลงมือสร้าง ซึ่งยังไม่บอกแน่ชัดว่าแนวโน้มที่จะได้ก่อสร้างจริงคือช่วงไหน
ไล่ไทม์ไลน์ “กระเช้าไฟฟ้า”
17 กันยายน 2539
ครม. มีมติรับทราบสถานการณ์ท่องเที่ยวของปี 2539 จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอาทิ ภูกระดึง และเกาะภูเก็ต เล็งสร้าง “กระเช้าไฟฟ้า” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
26 พฤศจิกายน 2539
ครม. มีมติรับทราบการพิจารณาสร้างกระเช้าไฟฟ้าในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ
2 ธันวาคม 2539
ครม. มีมติรับทราบการศึกษาทบทวนมติครม.ที่มีความอ่อนไหวในทางการเมือง โดยเห็นชอบการศึกษาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนได้
22 กุมภาพันธ์ 2555
ครม.มีมติรับทราบผลการประชุมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 2/2555 ณ จ.อุดรธานี โดยมีรายละเอียดข้อเสนอเพื่อพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงที่ ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
23 กุมภาพันธ์ 2559
ครม.มีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งปรากฏว่าเป็นโครงการฯมีความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ สำนักงบประมาณ เผยว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าวด้วยได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพย์ฯ แจ้งว่า ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2555
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แจ้งว่า ได้เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย พบว่ากระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและนักท่องเที่ยว รวมทั้งช่วยลดขยะได้
ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม?
ในกระบวนการก่อสร้าง คิดว่าหลาย ๆ ภาคส่วนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ภูกระดึงเป็นอันดับแรก โครงการนี้จึงมีความซับซ้อนอยู่ในรายละเอียด
ฉะนั้น ควรมีการวางแผนโครงการให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของธรรมชาติในระแวกนั้นอาทิ
นอกจากนี้ สส.เพื่อไทย ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ได้ออกมาเรียนว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยเรื่องให้มีการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง เพราะไม่อยากให้ลูกหลานต้องแบกรับความเสี่ยงด้านสุขภาพอีกต่อไป แต่ย้ำว่า เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องเปิดโต๊ะถกเถียงเพื่อให้อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
เนื้อหาที่น่าสนใจ