svasdssvasds

เช็กลิสต์ฝนดาวตกน่าติดตาม ชอบดูดาวห้ามพลาด พร้อมคำแนะนำในการดูฝนดาวตก

เช็กลิสต์ฝนดาวตกน่าติดตาม ชอบดูดาวห้ามพลาด พร้อมคำแนะนำในการดูฝนดาวตก

ในคืนนี้มีปรากฏการณ์ธรรมชาติฝนดาวตกเจมินิดส์ซึ่งมีอัตราการตกมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง รู้ไหมว่าแต่ละปีมีฝนดาวตกให้เราได้ชมกันตลอดทั้งปี มาเช็กกันดีกว่าว่ามีฝนดาวตกอะไรน่าติดตามดูบ้าง เกิดขึ้นช่วงไหน คำแนะนำในการดูเป็นอย่างไร? มาติดตามกัน

คืนวันที่ 14 ธันวาคมนี้ มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ มาให้ได้ชมกัน คาดว่าอัตราการตกของฝนดาวตกสูงสุด120-150 ดวงต่อชั่วโมง โดยฝนดาวตกเจมินิดส์ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ช่วงเวลา 20.00 น. ไปจนถึงรุ่งเช้า

ฝนดาวตก เครดิต : pixabay

ฝนดาวตกเกิดจากอะไร?

ฝนดาวตกเกิดจากการที่โลกโคจรตัดผ่านสายธารของเศษหินและฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ในอวกาศ ที่เป็นเศษที่หลงเหลือจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย หรือเศษวัตถุที่ปล่อยออกมาจากดาวหาง โดยแรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเศษวัตถุเหล่านี้เข้ามา ทำให้เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ ในช่วงเวลานี้จึงเกิดดาวตกบนท้องฟ้าในอัตราที่สูงกว่าปกติ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า Fireball

ฝนดาวตกจะแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือฝนดาวตกจะมีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ

อย่าง ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในคืนนี้ มีที่มาจากดาวเคราะห์น้อยเฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งมีอัตราตกของฝนดาวตกอยู่ที่ประมาณ 110-120 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดขึ้นทุกช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี

ฝนดาวตก เครดิต : pixabay

รู้ไหมว่าในแต่ละปีมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกทุกเกิดขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่ามีฝนดาวตกอะไรบ้างที่น่าสนใจ เกิดขึ้นช่วงไหนบ้าง?

เช็กลิสต์ฝนดาวตกน่าติดตาม ชอบดูดาวห้ามพลาด

  • ลีโอนิดส์ (Leonids)

ฝนดาวตกที่สว่างที่สุด ต้นกำเนิดของคำว่า Meteor shower หรือ ฝนดาวตก ปรากฏทุกกลางเดือนพฤศจิกายน มีอัตราดาวตกสูงสุดประมาณ 450 ดวงต่อชั่วโมง

  • เพอร์เซอิดส์ (Perseids)

มีวัตถุต้นกำเนิดจากดาวหาง Swift-Tuttle ใช้เวลาโคจรครบรอบ 133 ปี เกิดช่วงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี อัตราดาวตกมากกว่า 60 - 100 ดวงต่อชั่วโมง

  • โอไรออนิดส์ (Orionids)

วัตถุต้นกำเนิดมาจากดาวหางฮัลเลย์ (Halley) ใช้เวลาโคจรครบรอบนาน 75 - 76 ปี ปรากฏในช่วงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีอัตราดาวตกประมาณ 20 - 70 ดวงต่อชั่วโมง

  • ควอดรานติดส์ (Quadrantids)

ฝนดาวตกกลุ่มนี้มาจากดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 เกิดทุกช่วงต้นเดือนมกราคมของทุกปี มีอัตราดาวตกราว 60 - 100 ดวงต่อชั่วโมง

  • เจมินิดส์ (Geminids)

แหล่งกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อยเฟทอน (3200 Phaethon) เกิดขึ้นทุกช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี อัตราดาวตกอยู่ที่ประมาณ 110 - 120 ดวงต่อชั่วโมง

คำแนะนำในการดูฝนดาวตก

 

  • การชมฝนดาวตกควรดูในสภาพท้องฟ้าที่มืด
  • ควรลดแสงรบกวน
  • คืนเดือนมืดหรือคืนที่ดวงจันทร์มีความสว่างน้อย (ช่วงแรม 13 ค่ำ - ขึ้น 2 ค่ำ) เหมาะกับการดูฝนดาวตกที่สุด เพราะเป็นช่วงที่แสงจากดวงจันทร์ไม่สว่างเกินไป
  • มลภาวะทางแสงน้อย ไม่มีแสงรบกวนจากชุมชน เมือง ไฟถนน เป็นต้น
  • ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการดูฝนดาวตกคือ ช่วงเช้ามืด ช่วงหัวค่ำ ส่วนใหญ่จะเห็นได้น้อยกว่า
  • สภาพอากาศ เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการชมฝนดาวตก ซึ่งการดูฝนดาวตกที่เห็นชัดที่สุดคือ สภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง

 

ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :