svasdssvasds

อินเดียปล่อยยานอวกาศ XpoSat ออกสู่วงโคจรต่ำของโลก เพื่อมุ่งศึกษา "หลุมดำ"

อินเดียปล่อยยานอวกาศ XpoSat ออกสู่วงโคจรต่ำของโลก เพื่อมุ่งศึกษา "หลุมดำ"

อินเดีย เริ่มปี 2024 ด้วยการปล่อย "XpoSat" หรือ "X-ray Polarimeter Satellite" ดำเนินโครงการโดยองค์กรวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) มีภารกิจศึกษาข้อมูลรายล้อมเกี่ยวกับหลุมดำ หนึ่งในสถานที่พิศวงแห่งหนึ่งของโลก โดยจะมุ่งเน้นไปที่การแผ่รังสี

เริ่มปีใหม่ก็เดินเครื่องทันที สำหรับแดนภารตะ ที่ปีนี้ส่งยานอวกาศไร้คนขับ XpoSat ออกสู่วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit) โดย องค์กรวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ระบุว่า การส่งยานอวกาศลำนี้ไปก็เพื่อศึกษาการแผ่รังสีของหลุมดำในเอกภพ

ก่อนหน้านี้ อินเดียปล่อยยานอวกาศเป็นปกติอยู่แล้ว อาทิ อาทิตยา-แอล1 (Aditya-L1) (สำรวจดวงอาทิตย์) หรือ จันทรายาน-3 ที่สามารถลงจอดบนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมของปี 2023

ถึงกระนั้น อินเดียก็ไม่ลดละความพยายามในการศึกษาเอกภพ ด้วยการส่ง XpoSat ออกไปอีก แต่ครั้งนี้ปักหมุดไว้ที่การศึกษาหลุมดำ ระยะเวลาของโปรเจกต์คาดว่ากินเวลาประมาณ 5 ปี XpoSat มีภารกิจยิบย่อยอะไรบ้าง และทำไมอินเดียหันมาให้ความสนใจหลุมดำ ติดตามได้ที่บทความนี้

อินเดียปล่อย XpoSat ออกสู่นอกโลกรับต้นปี 2024 Cr. ISRO

XpoSat คืออะไร?

XpoSat” หรือในชื่อเต็มว่า “X-ray Polarimeter Satellite” เป็นยานอวกาศลำแรกที่อินเดียส่งไปนอกโลกในปี 2024 โดยมีภารกิจหลักคือ ศึกษาข้อมูลจากหลุมดำ (Black Hole)

อินเดียปล่อย XpoSat ออกสู่นอกโลกรับต้นปี 2024 Cr. ISRO

ยานอวกาศถูกปล่อยออกไปนอกโลกในวงโคจรต่ำ (ประมาณ 650 กิโลเมตร) ดำเนินโครงการโดย องค์กรวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ทำให้ตอนนี้อินเดียกลายเป็นชาติที่ 2 ต่อจากสหรัฐที่มีหอดูดาวของตัวเองเพื่อใช้ศึกษาหลุมดำโดยเฉพาะ

ภารกิจของ XpoSat มีอะไรบ้าง?

ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบว่า ยานอวกาศลำนี้คาดว่ามีระยะเวลาศึกษาประมาณ 5 ปี ดังนั้น ในช่วงต้นปีของปี 2029 จะถือเป็นอันสิ้นสุดภารกิจ คำถามถัดมาคือ อินเดียส่งยานลำนี้ไปทำอะไร?

ที่บอกว่าศึกษาเกี่ยวกับหลุมดำนั้น เป็นเพียงยอดน้ำแข็งเท่านั้น ทว่า ในรายละเอียดมีภารกิจยิบย่อยที่ XpoSat ได้รับคำสั่งให้ไปเก็บข้อมูลและส่งมายังโลก

XpoSat จะเร่งศึกษาการแผ่รังสีจากหลุมดำโดยใช้รังสีเอ็กซ์ นอกจากนี้ จะศึกษาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ในจักรวาลอีกด้วย

อินเดียได้อะไรจากการศึกษาหลุมดำ?

หลุมดำ” สถานที่สุดพิศวงในเอกภพ ที่แม้แต่จินตนาการของ Isaac Asimov ก็อยากแท้หยั่งถึง ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยเดอรัม ประเทศอังกฤษ ได้ตีพิมพ์การค้นพบหลุมดำที่มีมวลมหาศาลประมาณ 32,000 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ (อะไรจะขนาดนั้น)

ภาพถ่ายหลุมดำแรกของมนุษยชาติ Cr. Wikimedia

หลุมดำดังกล่าวอยู่ใจกลาง Galaxy “Abell 1201” หากจากโลกของเราออกปีประมาณ 2,700 ปีแสง ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ ในแวดวงอวกาศศึกษา ยังคงมีความพยายามศึกษาเรื่องหลุมดำอยู่ตลอดอยู่แล้ว

หัวโจกในเรื่องนี้ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วอย่าง Stephen Hawking ก็ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับหลุมดำเอาไว้ได้น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่กระนั้น หลุมดำก็ยังเป็นสถานที่พิศวงอยู่ดี เพราะ ณ ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ตำแหน่งของ หลุมดำแบบเป็นที่มั่นเหมาะได้สักที

Stephen Hawking ผู้ศึกษาเรื่องหลุมดำเบอร์ต้น ๆ ของโลก Cr. Flickr / NASA

ทั้งนี้ เหตุผลที่อินเดียส่งยานอวกาศไปศึกษาหลุมดำนั้น มิใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องใหม่ เพราะหากเราตัดคำว่า “ชาติ” ออกไปจากสมการ การมียานอวกาศไปลอยล่องอาจทำให้มนุษย์พบเจอกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้

 

 

ที่มา: ngthai , indianexpress

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related