svasdssvasds

กานาเจอวิกฤต E-Waste แหล่งขยะอิเล็กทรอนิกส์โลก มลพิษทำคุณภาพชีวิตย่ำแย่

กานาเจอวิกฤต E-Waste แหล่งขยะอิเล็กทรอนิกส์โลก มลพิษทำคุณภาพชีวิตย่ำแย่

องค์การสหประชาชาติเผยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นประมาณ 50 ล้านตันทุกปี แต่มีเพียง 20% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลอย่างถูกต้อง นอกนั้นส่วนใหญ่ถูกฝังกลบหรือจัดการอย่างไม่เป็นระบบ

SHORT CUT

  • กานา กลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ภูเขา E-Waste กินเนื้อที่หลายไร่และมีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่จำนวนมาก
  • ควันลอยไปทั่วบ้านและตลาดอาหาร ทำให้สารพิษกระจายไปทั่ว และได้มีการตรวจน้ำนมแม่พบสาร PCBs ซึ่งเป็นสารพิษ
  • สิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้ของให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เหมือนกับ Lego ที่แยกส่วนที่ถอดออกได้ ทำให้รีไซเคิลได้ง่าย

องค์การสหประชาชาติเผยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นประมาณ 50 ล้านตันทุกปี แต่มีเพียง 20% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลอย่างถูกต้อง นอกนั้นส่วนใหญ่ถูกฝังกลบหรือจัดการอย่างไม่เป็นระบบ

ประเทศกานากำลังเจอวิกฤต ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีภูเขาขยะ E-Waste กินพื้นที่หลายไร่ และมีผู้คนนับหมื่นกำลังร่อนเร่และทำการแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาขาย

เครดิต : Reuters

เมืองอักกรา เมืองหลวงของกานา กลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ภูเขา E-Waste กินเนื้อที่หลายไร่และมีผู้คนอาศัยและทำงานอยู่ที่นี่จำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยการแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เพื่อไปขาย เช่น สายไฟทองแดง ออกจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งทั่วโลก

ผู้คนคิดว่าหลุมฝังหลบขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นเหมือนสมบัติ ขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำให้พวกเขามีรายได้ ทั้งการเลื่อยแผงวงจรของจอภาพเพื่อแยกชิ้นส่วน และน่าเหลือเชื่อที่ทองคำในสมาร์ทโฟนหนึ่งตันมีมากกว่าแร่ทองคำหนึ่งตันถึง 100 เท่า นับเป็นงานที่อันตราย และวิธีการแยกชิ้นส่วนก็ยังไม่ได้มาตรฐานและเป็นอันตราย

เครดิต : Reuters

คนในพื้นที่บางคนมองว่าแหล่งขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นที่สร้างงาน ทำให้ให้พวกเขามีรายได้ ซึ่งจะไปสู่สังคมที่ดีขึ้น แม้ต้องแลกมาด้วยสุขภาพและคุณภาพชีวิตก็ตาม แถมพื้นที่ใกล้เคียงยังเป็นตลาดอาหารขนาดใหญ่อีกด้วย

Anita Asamoah นักเคมีสิ่งแวดล้อมประจำคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของประเทศกานา เผยว่าว่ามีควันลอยไปทั่วบ้านและตลาดอาหาร ทำให้สารพิษกระจายไปทั่ว และได้มีการตรวจน้ำนมแม่พบสาร PCBs ซึ่งเป็นสารพิษที่อาจส่งผลให้เสียชีวิต และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง และเด็กทารกก็ยังไวต่อสารเคมีมากยิ่งขึ้น

กานาเจอวิกฤต E-Waste แหล่งขยะอิเล็กทรอนิกส์โลก มลพิษทำคุณภาพชีวิตย่ำแย่

ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นภาระที่เป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศที่ร่ำรวย บาส ฟาน อาเบล นักเคลื่อนไหวชาวดัตช์ ประณามการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีช่วงชีวิตการใช้งานสั้น และทำให้ต้องไปจบด้วยการฝังกลบ ผู้ผลิตควรคำนึงถึงจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ด้วย สร้างแรงจูงใจให้คนใช้ของอย่างคุ้มค่า อย่าทำให้การซื้อใหม่ถูกกว่าการซ่อม 
จุดมุ่งหมายคือการสร้างโทรศัพท์ที่ยั่งยืนและลดขยะ “น่าเสียดายที่โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการออกแบบในลักษณะที่คุณไม่สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ มาใช้ซ้ำได้ในบางส่วนของชิ้นส่วนนั้น” นักเคลื่อนไหวชาวดัตช์ กล่าว

ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้ของให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพเหมือนกับ Lego เนื่องจากมีชิ้นส่วนแบบแยกส่วนที่ถอดออกได้ แบตเตอรี่ไม่ได้ติดกาว ทำให้รีไซเคิลหรือเปลี่ยนได้ง่ายและไม่แพง มันเหมือนกับเลนส์กล้องและหน้าจอ
ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยจะอัพเกรดโทรศัพท์มือถือทุกๆ สองปีครึ่ง แวน อาเบล กล่าวว่า "ถ้าคุณใช้โทรศัพท์นานขึ้นสองเท่า จะลดการผลิตโทรศัพท์ได้ถึงครึ่ง"

 

ที่มา : CBS News

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :