svasdssvasds

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาสำคัญของไทย เนื่องจากปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกสฺเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสารพิษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ขยะอิเล็กทรอนิกส์สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารพิษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปนเปื้อนลงสู่ดิน น้ำ อากาศ และทำลายบรรยากาศ ชั้นโอโซน นอกจากนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังมีส่วนประกอบของสารอันตรายที่อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นสารตะกั่วที่อาจทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ซึ่งสารเคมีเกิดจากขั้นตอนในการคัดแยก รื้อ ถอนชิ้นส่วน และการเผาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการแยกขยะและกำจัดอย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างภูกวิธีเป็นการแยกขยะประเภทนี้ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาของการปนเปื้อนของสารพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

หากใครกำลังมองหาที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อ อย่าง โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ ฯลฯ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทย ไร้ E-Waste’ กับ AIS เพื่อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีโดยเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste บริเวณเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น LG

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์  ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าว นอกจากนั้นเรายังได้จัดวางถังแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้รับความสะดวก และง่ายต่อการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งขยะที่ผ่านการคัดแยกจะเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยจัดสรรให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศแล้ว เรายังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมที่วันนี้ AIS เดินหน้าสร้าง Ecosystem ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์
ภายใต้โครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย โดยครั้งนี้เราได้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครือข่ายด้าน Green Partnerships โดยมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือมาเข้าร่วมงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์ต่างๆ สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อจะได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป”