svasdssvasds

อบก. รับรองคาร์บอนเครดิตตลาดในประเทศเพิ่ม ลดก๊าซเรือนกระจก 883,376 tCO2eq

อบก. รับรองคาร์บอนเครดิตตลาดในประเทศเพิ่ม ลดก๊าซเรือนกระจก 883,376  tCO2eq

อบก. ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER 13 โครงการ รับรองคาร์บอนเครดิตสู่ตลาดซื้อขายภายในประเทศเพิ่มขึ้น ลดหรือกักเก็บปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งสิ้น 883,376 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) อัพเดทรายชื่อโครงการพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการและรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) 13 โครงการ โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้ รวมทั้งสิ้น 883,376 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)

อบก. รับรองคาร์บอนเครดิตตลาดในประเทศเพิ่ม ลดก๊าซเรือนกระจก 883,376  tCO2eq

13 โครงการลดก๊าซเรือนกระจก

สำหรับ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) จำนวน 13 โครงการ ประกอบด้วย

  • โครงการทีพีซีเอช เพาเวอร์ 5: โรงไฟฟ้าชีวมวล 6.3 เมกะวัตต์ โดย บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล โดย บริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด
  • โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลพลังงานร่วม ขนาด 9.9 MW โดย บริษัท ท่าฉาง ไบโอเพาเวอร์ จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 575.38 กิโลวัตต์ โดย บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่ลำปาง ประเทศไทย โดย บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่นครสวรรค์ ประเทศไทย โดย บริษัท อีเอ โซ่ล่า นครสวรรค์ จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่พิษณุโลก ประเทศไทย โดย บริษัท อีเอ โซ่ล่า พิษณุโลก จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากลม หาดกังหัน 126 เมกะวัตต์ โดย บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลม หนุมาน 1 โดย บริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลม หนุมาน 5 โดย บริษัท โป่งนก พัฒนา จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลม หนุมาน 8 โดย บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลม หนุมาน 9 โดย บริษัท เบญจ-รัตน์ พัฒนา จำกัด
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลม หนุมาน 10 โดย บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ภาพรวมโครงการ T-VER มีการรับรองคาร์บอนเครดิตที่เข้าสู่ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายในประเทศรวมทั้งสิ้นมากกว่า 15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพให้ชุมชน ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าของเสียหรือของเหลือทิ้งทางการเกษตรและครัวเรือน เป็นต้น

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ในการประชุมครั้งนี้ยังขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของ อบก. โดยเฉพาะการสร้างผลสัมฤทธิ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการทำงานของ อบก. ทั้งด้าน กฎหมายและนโยบาย นวัตกรรมและเทคโนโลยี งบประมาณ และการมีส่วนร่วม เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้บรรลุเป้าหมายเป็นผลสำเร็จได้

การแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกของไทย กำลังมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการผลักดัน โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่ง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ

พร้อมทั้งสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVER” ไปขายในตลาดคาร์บอนเครดิต ภาคสมัครใจในประเทศได้ โดย อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด และ ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ