svasdssvasds

TGO เร่งสร้างรับรู้คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ สู่...เป้าหมาย NET ZERO

TGO เร่งสร้างรับรู้คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ สู่...เป้าหมาย NET ZERO

TGO ผนึกเครือข่าย TCNN องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกฯ จัดงาน TCNN Seminar: "คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO " ขึ้น เพื่อเร่งเร่งสร้างการรับรู้คาร์บอนเครดิต ในภาคป่าไม้ หนุนไทยสู่บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero

คนหิว ! ป่าหาย หนึ่งในประโยคเด็ดในงานสัมมนา TCNN Seminar: "คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO " ที่จัดขึ้นโดย TGO ร่วมกับเครือข่ายTCNN  โดยงานนี้เป็นการผนึกองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกฯ ของเครือข่าย TCNN หนุนประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero  ซึ่งมีการบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ภาคป่าไม้ การได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิต การซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการชดเชยคาร์บอน

TGO เร่งสร้างรับรู้คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ สู่...เป้าหมาย NET ZERO

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ยังมีการพูดถึงนโยบายและการดำเนินงานขององค์กรภาคส่วนต่างๆ ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality/Net Zero GHG Emissions ของประเทศ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากโครงการคาร์บอนเครดิต การแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ตลอดจนแรงจูงใจ การลดหย่อนภาษี ภายใต้โครงการ “ภาคีสนับสนุนป่าชุมชน ลดโลกร้อน” สนับสนุนชาวบ้านป่าชุมชน แบบไม่ใช่คาร์บอนเครดิต ที่สามารถขอลดหย่อนภาษี

โดยนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า TGO ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมและต่อต้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกรูปแบบ จากองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และเมือง ผ่านกลไกการประเมินการปล่อย ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณที่แต่ละภาคส่วน มีส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อนขึ้น มากน้อยอย่างไร สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ หรือข้อกำหนดจากสากล และยังส่งเสริมให้เกิดโครงการ ลด ละ กักเก็บ ก๊าซเรือนกระจก โดยเป็นผู้ประเมินผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ โครงการคาร์บอนเครดิต T-VER

TGO เร่งสร้างรับรู้คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ สู่...เป้าหมาย NET ZERO

 

นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้สามารถใช้กลไกตลาดแลกเปลี่ยน (Offset) คาร์บอนเครดิต เพื่อใช้ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตามมาตรฐานสากลอีกด้วย TGO ได้มีการพัฒนาระเบียบวิธีการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) ของกลไกการรับรองคาร์บอนเครดิตและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล โดยกระบวนการทวนสอบต้องผ่านผู้ประเมินภายนอก หรือ Third party ที่ดำเนินการด้วยความเป็นกลาง มีมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบสอดคล้องตามมาตรฐานการรับรองระบบงาน (ISO 14065) และผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ TGO ซึ่งมีองค์ประกอบของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และหน่วยงานอิสระ ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้

ทั้งนี้ประเทศไทยที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะยกระดับการแก้ไขอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality / Net Zero GHG Emissions

และการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการจัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชนในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบันเครือข่ายTCNN มีจำนวนสมาชิก 401 องค์กร (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เม.ย. 66) และมี “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” (Climate Action Leading Organization: CALO) ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัล / การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับองค์กรแล้ว 77 องค์กร จึงเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กร CALO มีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนนโยบายของประเทศไทย และเป้าหมายของประชาคมโลก

TGO เร่งสร้างรับรู้คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ สู่...เป้าหมาย NET ZERO

โดยให้ความสนใจพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต ป่าไม้ เพราะเล็งเห็นว่าการปลูกป่าหรือการเพิ่มพื้นที่สีเขียว นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังมีผลประโยชน์ร่วมในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่เป็นผลจากมลพิษ

ขณะที่ ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวเสริมว่า การผลักดันให้ประเทศไทยสามารถดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ไม่สามารถทำเพียงองค์กรเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายหรือภาคีต่างๆ TGO จึงได้จัดตั้งเครือข่าย TCNN เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันคือ การมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โดยดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ไปจนถึงไม่ปล่อยเลย ส่วนที่เหลือปล่อยไม่สามารถได้ ก็อนุญาตให้มีการชดเชย ซึ่งหนทางและแนวทางในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่ภาครัฐกำลังมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดโครงการเพิ่มพูนการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมปลูกป่าธรรมชาติ ที่สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ ปม. ทช. อส.

โดยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้กับผู้พัฒนาโครงการต่อภาครัฐ ในสัดส่วน 90:10 ดังนั้น คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้จึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะนำพาประเทศบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งต้องเร่งสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้

 

related