svasdssvasds

ทำฝายชะลอน้ำผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลเสียระบบนิเวศมากกว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

ทำฝายชะลอน้ำผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลเสียระบบนิเวศมากกว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

จากที่มีดราม่าในโลกโซเชียลเกี่ยวกับกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ได้ร่วมกับน้องๆ นักศึกษา สร้างฝายในอุทยานนั้นอาจไม่ได้ส่งผลดีกับธรรมชาติ

การสร้างฝายชะลอน้ำมีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยช่วยเก็บกักน้ำ ลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า ลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย อีกทั้งยังช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จนทำให้กิจกรรมของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ หันมาสร้างฝายกันมากขึ้น รวมถึงนโนบายของพรรคการเมืองด้วย

ทำฝายชะลอน้ำผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลเสียระบบนิเวศมากกว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

โดยล่าสุดนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ในเฟสบุ๊ค เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin ว่า "หลายคนอาจสงสัยทำไมปัญหาภัยแล้งเอลนีโญถึงเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งที่ในตอนนี้ประเทศไทยก็อยู่ในหน้าฝน แต่หน้าฝนนี่แหละครับคือคำตอบ เพราะตอนนี้ประเทศไทย “ทั้งท่วมทั้งแล้ง” เมื่ออยู่ในหน้าฝนก็เกิดน้ำท่วมรุนแรงทำลายพื้นที่อยู่อาศัยและผลผลิต แต่เพียงไม่กี่วันหลังฝนหยุด น้ำก็แห้งเหือดและทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำต่อในฤดูแล้ง ปัญหาจึงอยู่ที่เราไม่มีการเตรียมการกักเก็บน้ำในฤดูฝนเอาไว้ใช้ต่อในฤดูแล้งอย่างมีประสิทธิภาพ"

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ฝายซอยซีเมนต์” คือหนึ่งในแผนที่พรรคเพื่อไทยเริ่มศึกษาและทำจริงแล้ว จากการลงพื้นที่ ณ ตำบลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา โดยที่เชียงม่วนได้มีการดำเนินการสร้างฝายไปแล้ว 4 แห่ง ซึ่งช่วยชะลอน้ำไว้ใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมได้มากถึง 449 ไร่ และช่วยเหลือชาวบ้านที่มีน้ำไม่พอใช้ได้ 966 ครัวเรือน ภายในงบไม่ถึง 2 ล้านบาท จากต้นทุนในการสร้างที่ต่ำกว่าฝายคอนกรีตทั่วไปถึง 5.5 เท่า แต่มีความคงทนถาวรถึงแม้จะเจอน้ำหลากรุนแรง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายใน 10 วัน ทันต่อการกักเก็บน้ำฝนในช่วงเร่งด่วน

โดยในขั้นต่อไป ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากพรรคเพื่อไทยจะศึกษาเพิ่มในเรื่องความเป็นไปได้ในการขยายผลในวงกว้างและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนว่าทันทีที่รัฐบาลได้รับการจัดตั้ง แผนรับมือจะพร้อมนำไปปรับใช้ โดยเพื่อไทยจะเร่งกระบวนการต่างๆ ในขออนุมัติที่เคยใช้เวลานานถึง 6 เดือนให้สั้นที่สุด เพื่อให้พี่น้องในแต่ละพื้นที่สามารถดำเนินการสร้างได้อย่างทันท่วงทีครับ"

ซึ่งก็มีความคิดเห็นถึงผลเสียในการสร้างฝายชะลอน้ำว่าอาจทำลายระบบนิเวศ เพจเด็กวิทย์นอกห้อง ได้สรุปผลกระทบของการสร้างฝายในป่าดังนี้ 

ทำฝายชะลอน้ำผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลเสียระบบนิเวศมากกว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

สรุป

1. ป่าธรรมชาติที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ฝายมีแต่ผลเสียต่อระบบนิเวศ

2. ป่าธรรมชาติที่มีคนอยู่ ช่วงใกล้หน้าแล้งอาจสร้างฝายชั่วคราวจากไม้หรือหินได้ แต่ต้องรื้อออกเมื่อหมดหน้าแล้งเพื่อคืนสมดุลให้ระบบนิเวศลำธาร แต่ทางที่ดีที่สุดคือควรมีประปาภูเขา บ่อน้ำ หรือโอ่งน้ำแยกออกมาโดยไม่รบกวนลำธาร

3. ฝายชะลอน้ำที่มีรูให้น้ำไหลผ่านและฝายน้ำล้นที่ไม่มีรู มีผลทำให้ระดับน้ำยกตัวขึ้นเหมือนกัน และทำให้สัตว์ผ่านไปได้ยากเหมือนกัน

4. ฝายที่ทำจากวัสดุที่ไม่ใช่ธรรมชาติ สามารถทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนได้

5. ลำธารมีแบบที่มีน้ำไหลตลอดเวลา และแบบที่น้ำไหลตามฤดูกาล แตกต่างกันไปในแต่ละที่ ไม่มีอะไรดีกว่าอะไร ธรรมชาติสร้างมาเหมาะสมตามวิวัฒนาการ

6. ป่ามีหลายแบบ บางแบบต้นไม้หนาแน่น บางแบบต้นไม้ไม่หนาแน่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดชนิดและจำนวนต้นไม้ในป่า ป่าบางที่เขียวตลอด ป่าบางที่เขียวเป็นบางช่วงเวลา ไม่มีแบบไหนดีกว่ากัน ธรรมชาติสร้างมาเหมาะสมตามวิวัฒนาการเช่นกัน

7. ป่าที่ถูกทำลาย มีไฟป่า หรือกลายเป็นภูเขาหัวโล้น ไม่จำเป็นต้องเข้าไปปลูกต้นไม้ เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ เราแค่รอเวลา เดี๋ยวป่าจะฟื้นฟูตัวเอง ใจร้อนไม่ได้ และต้องป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกซ้ำ

ทำฝายชะลอน้ำผิดที่ผิดทาง อาจส่งผลเสียระบบนิเวศมากกว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้ทางอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ได้โพสต์ภาพกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ ที่ร่วมกับนักศีกษาจัดทำฝายชะลอน้ำ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ บุคคลที่คนในวงการสิ่งแวดล้อมและคนรักผู้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนาธรรมชาติ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเฟสบุ๊คส่วนตัว Rungsrit Kanjanavanit ดังนี้

เห็นรอยยิ้ม อาสาสมัครทั้งหลาย แล้ว เห็นใจ

น้องๆมาด้วยความตั้งใจดี เปี่ยมล้นไปด้วยความกระตือรือร้นอยากทำความดี

น่าเสียดาย ที่การลงแรง มุ่งหวังทำดี อยากอนุรักษ์ธรรมชาตินั้น กลับกลายเป็นสร้างผลกระทบ เสียหายร้ายแรงต่อระบบนิเวศด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะถูกชักนำโดย อวิชชา

ลำธารที่โดนสร้างฝายนี้ เป็นลำธารสภาพดีมากในป่าสมบูรณ์

ไม่มีเหตุผลอันใดที่เหมาะสมในการเอา กระสอบพลาสติกบรรจุทราย ไปขวางกั้น

ให้น้ำเน่าเสีย ลำธารตื้นเขิน บ้านสัตว์น้ำถูกทำลาย ขยะพลาสติกปนเปื้อนสายน้ำ

อยากให้การจัดการต่างๆของอุทยาน

อยู่บนแนวทางวิทยาศาสตร์

มิเช่นนั้น แม้เรามีเจตนาดี แต่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง

ก็เหมือน หมอเถื่อน ที่ลงมือรักษาคนไข้ โดยขาดความรู้จริง

ความตั้งใจดีนั้น ก็เลยก่อผลเสียมากกว่าผลดี

จากข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างฝายชะลอน้ำ อาจเป็นโจทย์ในการสร้างฝาย ซึ่งควรทำการบ้าน ศึกษาให้ดีถึงความจำเป็นในการสร้างฝายแต่ละพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างไม่ทำลายระบบนิเวศ

 

ที่มา : FB : อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ / Rungsrit Kanjanavanit / เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin / เด็กวิทย์นอกห้อง