svasdssvasds

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

น้ำเป็นปัจจัยหลักในการทำอาชีพเกษตรกรรม การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น จากการต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 การทำฝายชะลอน้ำคู่กับบริหารจัดการน้ำ นำมาซึ่งอาชีพที่ยั่งยืนของคนในชุมชน

จากโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชน ต่อยอดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เอสซีจีทำต่อเนื่องมาตลอดสิบกว่าปี ช่วยพลิกชีวิตเปลี่ยนชุมชนเลิกแล้ง มีน้ำกิน น้ำใช้ และทำการเกษตรตลอดปี และได้ต่อยอดส่งต่อโอกาสให้กับกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงวัย และผู้มีรายได้น้อย ให้เห็นคุณค่าตัวเองและสร้างรายได้ลดความเหลื่อมล้ำสังคมยั่งยืน  

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

การเริ่มต้นจากการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำชุมชน การทำสระพวง แก้มลิง ทำให้ชุมชนสามารถเอาชนะภัยเเล้งนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ในชุมชนพื้นที่ห่างไกลมีน้ำอุปโภค บริโภค และมีน้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี  อย่าง ผู้ใหญ่คง บุญโชติ กลิ่นฟุ้ง ผู้นำชุมชนบ้านสาแพะ จ.ลำปาง ที่ได้รับความรู้ในการบริหารจัดการนำจากเอสซีจี ได้เผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารจัดการนำและใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการกักเก็บน้ำในพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายให้แก่ชุมชน

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

จากความสำเร็จของชุมชนบ้านสาแพะ จ.ลำปาง นำไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจไปยังชุมชนต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยดำเนินการผ่านโครงการรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที รวมทั้งต่อยอดการสร้างอาชีพให้ชุมชนผ่านโครงการพลังชุมชนอบรมความรู้คู่คุณธรรมให้สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ใหญ่คง บุญโชติ กลิ่นฟุ้ง ผู้นำชุมชนบ้านสาแพะ จ.ลำปาง กล่าวว่า “เอสซีจีชวนแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง-น้ำหลาก ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ และบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การทำแก้มลิง สระพวง และระบบกระจายน้ำเข้าไร่นา ปัจจุบันสามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี ทำเกษตรปราณีต เพาะเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยสร้างรายได้เฉลี่ยเพิ่ม 4-5 เท่า ชุมชนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 20 ล้านบาท”   

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

จากการบริหารจัดการน้ำต่อยอดสู่โครงการพลังชุมชน หลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชน  

นอกจากการเผยแแพร่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำสู่ชุมชนแล้ว ยังมีการต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ และหลักการตลาดที่ชุมชนสามารถเข้าใจได้ง่าย คือการหาตลาดเป้าหมายและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดนั้นๆ จึงได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกับชุมชนอื่น และเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้ากันกับชุมชนอื่น

หลักสูตรเสริมสร้างความรู้ชุมชน สร้างอาชีพยั่งยืน ขยายผลศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาพัฒนา พึ่งพาตนเอง ด้วยภูมิปัญญาและวัตถุดิบท้องถิ่นมาต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่า สร้างอัตลักษณ์สินค้าให้โดดเด่น รู้จักตลาดก่อนผลิตและขาย สร้างแบรนด์ทำการตลาด ขยายช่องทางการขาย ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงวางแผนชีวิตเพื่อความยั่งยืน    

ปัจจุบันขยายผลไป 500 ชุมชน กว่า 200,000 คน ใน 37 จังหวัด มีรายได้มั่นคง อาชีพยั่งยืน อีกทั้ง ยังแบ่งปันองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วยความรู้คู่คุณธรรม   

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

นางอำพร วงค์ษา หรือครูอ้อ ศูนย์หัตถกรรมบ้านงานฝีมือผาหนาม จ.ลำพูน กล่าวว่า “โครงการพลังชุมชนของเอสซีจี สอนให้เห็นคุณค่าในตัวเอง ด้วยการทำงานที่ตัวเองรักและถนัด คือ งานหัตถกรรม เช่น การเย็บปัก ทำดอกไม้ประดิษฐ์ ช่วยสร้างรายได้ให้ครอบครัว และยังได้แบ่งปันความรู้ให้คนในชุมชนที่ว่างงานและกลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ ผู้สูงวัย ทำงานฝีมือให้มีรายได้ มีงานทำ พึ่งพาตัวเอง และก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้สร้างอาชีพ เพื่อสร้างงานให้คนในชุมชน”

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

ด้าน นางสาวเกศรินทร์ กลิ่นฟุ้ง หรือแม่หนิง เจ้าของขนมแบรนด์ แม่หนิงภูดอย จ.ลำปาง ผู้ร่วมโครงการพลังชุมชนกับกล่าวว่า “สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำมาปรับใช้โดยพลังชุมชนของเอสซีจี คือการสร้างจุดขายด้วยการสร้างอัตลักษณ์ เช่น ปรับคุ้กกี้ตัวหนอนไส้สับปะรดกลายเป็นรูปไก่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จังหวัดลำปาง และปรับบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม น่าซื้อ เป็นของขวัญของฝาก รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน อย. นอกจากนี้ได้เรียนรู้เทคนิคการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศ ส่งต่อการจ้างงานให้กลุ่มเยาวชน ผู้สูงวัยใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ร่วมกัน”

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

ทางด้านนางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management Office
เอสซีจี เผยว่าเอสซีจีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำสังคมด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง มีความรู้
คู่คุณธรรมตามคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 จากการทำฝายชะลอน้ำซึ่งสร้างไปแล้ว 115,000 ฝาย ควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำชุมชน ทำให้ชุมชนมีน้ำกินและใช้เพื่อการเกษตรมีผลผลิต ทั้งยังต่อยอดไปสู่โครงการพลังชุมชน อบรมสร้างอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

เลิกแล้ง เลิกจน! จากฝายชะลอน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนสู่อาชีพยั่งยืน

"ปัจจุบันขยายผลไป 500 ชุมชน กว่า 200,000 คน ใน 37 จังหวัด มีรายได้มั่นคง อาชีพยั่งยืน อีกทั้งยังแบ่งปันองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่น เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วย 4 ความรู้คู่คุณธรรม ประกอบด้วย

รู้เรา: รู้คุณค่าและพัฒนาศักยภาพของตนเอง สร้างมูลค่าจากสิ่งรอบตัว

รู้เขา: เข้าใจลูกค้า เข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง

รู้จัดการ: วางแผนเพื่อการบริหารจัดการและบริหารความเสี่ยง

รู้รัก-สามัคคี: สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งพร้อมช่วยเหลือและแบ่งปัน”