svasdssvasds

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

ในงาน Sustainability Dialogue “Mission to Carbon Neutral "ซึ่งจัดโดยบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) รวมพลังกับภาครัฐ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ตลอดจนองค์กรมหาชน ปรับตัวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้างหลากหลายมิติ เช่น ภาวะโลกร้อนจากอุณหภูมิโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้นานาประเทศหาแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อกอบกู้และรักษาโลก โดยร่วมกันกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย (Sustainable Development Goals: SDGs)  

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

รวมถึงการทำความตกลงปารีสหรือ Paris Agreement ตั้งเป้าหมายจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส  ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการประกาศเป้าหมายสำคัญในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) Emission ภายในปี พ.ศ.2608 จากการประชุม COP26 โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมผลักดันให้เป้าหมายดังกล่าวบรรลุผลตามที่ตั้งไว้

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

นางวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “โอสถสภาได้วางแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่กับการขับเคลื่อนธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562  โดยกำหนดกรอบการดำเนินงานระยะสั้นภายในปี พ.ศ.2568 ใน 5 ด้าน ได้แก่

1.ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจกับคู่ค้ารายย่อย จำนวน 450 ราย การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้จัดหาวัตถุดิบท้องถิ่น 500 ราย และ 100% ของคู่ค้ารายสำคัญได้รับการประเมินครอบคลุม 3 ด้าน คือสิ่งแวดล้อม (Environment), สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG

2. ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค คือ 100% ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลลดน้อยลง และ 50% ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและลูกอมจะเป็นสูตรปราศจากน้ำตาล

3. ด้านการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย 100% ของบรรจุภัณฑ์จะต้องนำไปรีไซเคิล ใช้ซ้ำหรือย่อยสลายได้ภายในปี พ.ศ.2573

4. ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจะลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลดลง 40%

5. ด้านการจัดการพลังงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะลดปริมาณพลังงานที่ใช้ในโรงงาน 10% และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต 15% พร้อมตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 30% ภายในปี พ.ศ.2573 สานเป้าหมายระยะยาวมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutrality ภายในปี พ.ศ.2593 

งานเสวนาในวันนี้คือการรวมพลังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มาร่วมแบ่งปันมุมมองและทิศทางนโยบายด้านความยั่งยืน ถ่ายทอดโรดแมปความยั่งยืน ตลอดจนเป้าหมายสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality และต่อยอดสู่การสร้างความร่วมมือเครือข่ายธุรกิจ เพื่อให้พันธกิจรักษ์โลกบรรลุได้ตามเป้าที่วางไว้” 

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานเสวนาว่า กรมการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นกรมที่เพิ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและดูแลให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality ) และ Net Zero ตามแผนการลดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่กเราจะต้องเร่งดำเนินการการออกร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ   

รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานความคืบหน้าของการร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศว่า ขณะนี้ทางกรมอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดซึ่งจะต้องใช้เวลา และการดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชน การออก พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อสร้างมาตรการในการจัดทำรายงาน ตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจ ซึ่งจะมีทั้งมาตรการการบังคับใช้ แนวทางการปฏิบัติ รวมไปถึงมาตรการทางการเงิน ซึ่งเป็นมาตรการที่จะต้องหารือกับหลายภาคส่วน เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเสนอฝ่ายนโยบายได้ประมาณต้นปี 2567 

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

อโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) กล่าวว่า ความตื่นตัวด้านคาร์บอนเครดิตในไทยนั้นอยู่ในกระแสตอบรับมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนเครดิตในหลายๆ ประเภท อย่าง  Carbon Offset สามารถทำโครงการลดคาร์บอน อย่างคาร์บอนเครดิต ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ของประเทศไทยใช้ T-VER โครงการภาคสมัครใจ ในส่วนของ Cap and Trade จะจำกัดสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการ แต่อนุญาตให้มีการซื้อขายกันได้ สามารถนำไปซื้อขายในคาร์บอนเครดิตในตลาดได้ และ Carbon Tax การเก็บภาษี เชื้อเพลิงต่างๆ และผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับบางประเทศ ส่วนที่ปล่อยเกินเก็บภาษี

ตลาดคาร์บอนในไทยเป็นภาคสมัครใจ จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งระดับคาร์บอนมีการรับรองมี 3 แบบ

1. International การรับรองจาก องค์กรระดับประชาชาติ ซึ่งสามารถรับรองคาร์บอนเครดิตได้

2. Independent เจ้าของมาตรฐานเป็นองค์กรอิสระ ที่ให้การรับรอง

3. Domestic อย่างหน่วยงานภาครัฐ เช่น TGO หน่วยงานภายในประเทศ มาตรฐานหน่วยงานอิสระมีมากที่สุด 58%

ราคาคาร์บอนเครดิตนั้นในไทยจะขึ้นอยู่ตามสถานการณ์ตลาด แต่ในปัจจุบันไทยอยู่ในสถานการณ์ Over Supply ในภาคสมัครใจราคาก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยประเภทต่างๆ ซึ่งโครงการประเภทป่าไม้ก็มีราคาสูงกว่าโครงการประเภทพลังงาน รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ต่างประเทศ ความเก่าใหม่ของคาร์บอนเครดิตแต่ในไทยนั้นดูเรื่องราคากับความสามารถ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้ได้คาร์บอนเครดิตมากกว่า

คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน

ด้านนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูง อันดับที่ 5 ของโลก ปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี สัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งมีความเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME  ซึ่งการปรับตัวนั้นเป็นสิ่งไม่ยาก ถ้าหน่วยงานรัฐนั้นมีความเข้าใจพฤติกรรมหรือสถานการณ์ผู้ประกอบการที่ดีจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ในอนาคต

ในส่วนของ ESG นั้นอยากเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจฐานรากมีส่วนช่วยที่จะทำให้เศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน แต่ SME ส่วนใหญ่นั้นยังไม่ก้าวเข้าสู่ดิจิทัล และความยั่งยืนโมเดล BCG ใช้เป็นตัวขับเคลื่อน และใช้ความเป็นผู้ประกอบการที่จะขับเคลื่อนเรื่องของ BCG และนำเอา SDG มาใช้ควบคู่กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีเรื่องของสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมการสร้างสมดุล และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นมุมมองของ SME ที่จะเข้าถึง ซึ่งทิศทางของโลกจะเข้าสู่ Green Economy อย่าง การจัดการขยะชุมชนใช้ประโยชน์จากขยะครบวงจร เปลี่ยนผ่านสู่สังคมขยะเป็นศูนย์

 

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :