svasdssvasds

ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

พามาส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

ปัญหาโลกร้อนถูกหยิบยกให้เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ทั่วโลกจะต้องให้ความร่วมมือแก้ไข โดยเฉพาะภาคพลังงานจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยมีนโยบายชัดเจนในการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น จากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อนใต้พิภพ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ประกาศขับเคลื่อนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2030 โดย กฟผ. ได้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน เพื่อช่วยผลักดันให้การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมีเสถียรภาพ ราคาเหมาะสม สร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม
ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

วันนี้จะพามาดูหนึ่งในโครงการพลังงานสะอาดของ กฟผ. ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก และเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก นั่นก็คือ โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ( Hydro-floating Solar Hybrid) ต้นแบบการผลิตไฟฟ้าแบบไฮบริดระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำ ช่วยเพิ่มศักยภาพการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น

โดยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งแรก อยู่ที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ มีขนาดเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าประมาณ 37,600 ไร่ ซึ่งได้มีการจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ไปแล้ว เมื่อปี 2564

ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

จุดเด่นของโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากเขื่อนที่มีอยู่เดิมเต็มศักยภาพ ทำให้ไม่กระทบต่อพื้นที่ทางเกษตร และยังสามารถลดต้นทุนค่าที่่ดินได้อีกด้วย นอกจากนี้เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม เช่น หม้อแปลง สายส่ง จึงช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนการผลิต ทำให้อัตราราคาค่าไฟฟ้าต่ำ และสามารถแข่งขันได้

ต่อมาจะพามาดูโครงการล่าสุดของ กฟผ. นั่นก็คือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 จ.ขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ มีจุดเด่น คือ มีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS (Battery Energy Storage System) เสริมการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ทุ่นลอยน้ำในอ่างเก็บน้ำของโครงการฯ ยังมีการใช้วัสดุ Eco-Friendly เป็นมิตรต่อระบบนิเวศน์ใต้น้ำและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญกระบวนการผลิตยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 47,000 ตันต่อปี และนอกจากจะเป็นแหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาดูงานแห่งใหม่ที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ปลายปี 2566 นี้

ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

ทั้งนี้ แผนเดินหน้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดของ กฟผ. จำนวน 2,725 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย 9 เขื่อน 16 โครงการ ได้แก่ เขื่อนสิรินธร เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนบางลาง เขื่อนรัชชประภา และเขื่อนสิริกิติ์

ส่องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. กำลังผลิต 2,725 เมกะวัตต์ บทบาทที่ยิ่งใหญ่ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ช่วยลดโลกร้อน

 

 

related