svasdssvasds

ตุ๊กตารักษ์โลกทำจากก้นบุหรี่ แก้ปัญหาก้นบุหรี่เกลื่อนเมือง

ตุ๊กตารักษ์โลกทำจากก้นบุหรี่ แก้ปัญหาก้นบุหรี่เกลื่อนเมือง

ขยะจากก้นบุหรี่เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม และด้วยความที่ย่อยสลายยากจึงตกค้างอยู่ในธรรมชาติ จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ เช่น การนำก้นบุหรี่มาทำเป็นยางมะตอยปูพื้นถนน ล่าสุดได้มีการนำก้นบุหรี่มาวัสดุทำตุ๊กตารักษ์โลก

ตุ๊กตารักษ์โลกที่ใช้ประโยชน์จาก้นบุหรี่ เป็นผลงานการคิดค้นของ 2 พี่น้องชาวอินเดียในเมือง Noida

ตุ๊กตารักษ์โลกทำจากก้นบุหรี่ แก้ปัญหาก้นบุหรี่เกลื่อนเมือง

ตุ๊กตารักษ์โลกจากก้นบุหรี่ คิดค้นโดย Naman Gupta พี่น้องจากเมือง Noida วัย 27 ปี และ Vipul Gupta วัย 29 ปี ได้นำขยะบุหรี่ที่เกลื่อนไปทั่วถนนในอินเดียทุกแห่งและในที่สาธารณะทุกแห่ง มาเป็นวัสดุในการผลิตของเล่นเด็ก ตุ๊กตา
พี่น้องตระกูล Gupta ได้คิดค้นเทคโนโลยีเพื่อรีไซเคิลก้นบุหรี่ให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์ แล้วนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยากันยุง ที่นอน ของเล่นนุ่มๆ พวงกุญแจ หมอนอิง และหมอน

เครดิต : abc

ก้นบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้สิ่งแวดล้อมสกปรก แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากพวกมันใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการย่อยสลาย จากสถิติพบว่าก้นบุหรี่เกือบ 4.5 ล้านล้านถูกทิ้งเกลื่อนทุกปีทั่วโลก และมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 120 ล้านคนในอินเดีย 
จุดเริ่มต้นของการนำก้นบุหรี่มาทำตุ๊กตา มาจากตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยเดลี พวกเขาสังเกตเห็นนักเรียนหลายคนสูบบุหรี่และโยนก้นบุหนี่ทิ้งในมหาวิทยาลัยและตามร้านน้ำชา เมื่อเขารู้ว่าก้นบุหรี่ใช้เวลานานในการย่อยสลายจึงตัดสินใจกำจัดขยะและเริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการรีไซเคิล ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทรีไซเคิล 

ตุ๊กตารักษ์โลกทำจากก้นบุหรี่ แก้ปัญหาก้นบุหรี่เกลื่อนเมือง

ก้นบุหรี่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ กระดาษห่อ ไส้ยาสูบ และตัวกรองที่ทำจากเซลลูโลสอะซิเตต ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ชนิดหนึ่ง หลังจากแยกส่วนเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ยาสูบจะถูกย่อยสลายผ่านกระบวนใน 30 วันให้เป็นผงปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีโพแทสเซียมสูง 
กระดาษถูกฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อทำเยื่อกระดาษ จากนั้นนำไปผสมกับน้ำมันหอมระเหยและสารยึดเกาะอินทรีย์ เยื่อกระดาษผสมกับน้ำมันเลมอน ยูคาลิปตัส น้ำมันตะไคร้หอม และพิคาริดิน ซึ่งเป็นสารไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพ
เส้นใยโพลีเมอร์จะถูกฉีกเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปบำบัดทางเคมีด้วยสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อผลิตวัสดุที่มีลักษณะคล้ายฝ้าย จากนั้นจึงนำไปใช้เป็นวัสดุยัดไส้ตุ๊กตา หรือของเล่นนิ่มๆ สำหรับเด็ก รวมถึงที่นอนและหมอน 

 
ที่มา : The Weeked Leader / abc

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :