svasdssvasds

"วันรีไซเคิลโลก" กับ..บทบาทภาคธุรกิจที่ต้องเดินหน้า "รีไซเคิล" เพื่อโลก

"วันรีไซเคิลโลก" กับ..บทบาทภาคธุรกิจที่ต้องเดินหน้า "รีไซเคิล" เพื่อโลก

วันรีไซเคิลโลก 18 มีนาคม ของทุกปี ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับรีไซเคิล นับว่าเป็นพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ที่..ภาคธุรกิจต้องทำเพื่อโลกของเรา

SHORT CUT

  • วันรีไซเคิลโลก 18 มีนาคม ของทุกปี ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับรีไซเคิล
  • รีไซเคิล คือ การหมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติ จะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  • โอสถสภา ที่เดินหน้าต่อยอดโครงการ “จากขวดแก้วสู่ขวดแก้ว” (Bottle to Bottle) ขยายพลังสีเขียวของชุมชน

วันรีไซเคิลโลก 18 มีนาคม ของทุกปี ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับรีไซเคิล นับว่าเป็นพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ที่..ภาคธุรกิจต้องทำเพื่อโลกของเรา

ปัญหาขยะในไทยที่เป็นสาเหตุในการทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้โลกร้อน และสัตว์หายากต้องล้มตาย นับวันมีความรุนแรงมากขึ้น หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเข้มข้น ในส่วนของภาคธุรกิจเองก็รีไซเคิลขยะหรือของเหลือใช้ ให้กลับมาใช้ซ้ำ วันนี้ 18 มีนาคม วันรีไซเคิลโลก เชื่อว่าวันดังกล่าวจะเป็นการตระหนักให้สังคมได้เห็นคุณค่า และประโยชน์ของการรีไซเคิล

สำหรับวันรีไซเคิลโลก ถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2558 โดยองค์กร Global Recycling Foundation ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความสำคัญของการรีไซเคิล และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อมาได้รับการยอมรับจาก องค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ The Bureau of International Recycling ในปี 2561 โดยกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นโอกาสในการสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้ผู้คนดำเนินการเพื่อปกป้องโลกสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคตอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ความสำคัญของการรีไซเคิล คือ การหมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติ จะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และทำลายผลิตภัทฑ์ต่างๆ ซึ่งประโยชน์ดังนี้

  • ลดปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ การเผา ช่วยลดมลพิษ
  • ลดการใช้พลังงาน และทรัพยากรในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัตถุดิบ
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ปกป้องแหล่งน้ำ หรือระบบนิเวศจากมลพิษที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ไม่เหมาะสม

พามาดูตัวอย่างภาคธุรกิจที่เดินหน้าการรีไซเคิลอย่างจริงจัง เช่น โอสถสภา ที่เดินหน้าต่อยอดโครงการ “จากขวดแก้วสู่ขวดแก้ว” (Bottle to Bottle) ขยายพลังสีเขียวของชุมชน หลังยอดรับขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยมอบอุปกรณ์สำหรับแยกขยะและส่งพนักงานจิตอาสาเข้าไปแนะนำวิธีการแยกขยะแก่ชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจในการแยกขยะอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ยังมีการจดบันทึกปริมาณขยะที่ได้รับ เพื่อสมทบทุนจำนวน 50 สตางค์ สำหรับขวดแก้วทุกๆ 1 กิโลกรัมที่ส่งกลับเข้ามาสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำไปสร้างสาธารณประโยชน์หรือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยนำร่องกับชุมชนรอบข้างสำนักงานใหญ่ ย่านหัวหมาก ซึ่งมีบ้านที่เข้าร่วมโครงการกว่า 200 ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดสู่พื้นที่อื่นๆ

พร้อมกันนี้ได้จับมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งเสริมให้พันธมิตรในโครงการขยะล่องหน ทั้งชุมชนบางกระเจ้า ซึ่งมีประชากรกว่า 40,000 คน 13,200 ครัวเรือน และอาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัยต่างๆ กว่า 13 แห่ง โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก แยกขยะขวดแก้วและนำมาส่งที่จุดรับขยะขวดแก้วที่ตั้งไว้ตามอาคารต่างๆ อีกด้วย

“พลังสีเขียวของชุมชนในโครงการจากขวดแก้วสู่ขวดแก้วเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการฯ ได้รับขยะรีไซเคิลจากชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้รับขยะขวดแก้วและขยะรีไซเคิลอื่นๆ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจากที่ผ่านมา และนับจากเริ่มโครงการฯ สามารถส่งขยะขวดแก้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทั้งสิ้นกว่า 33 ตัน และขยะรีไซเคิลอื่นๆ กว่า 37 ตัน รวมทั้งหมดกว่า 70 ตัน”

ซึ่งขยะขวดแก้วนั้นโอสถสภาสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดใหม่ได้ จึงช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 8,067 กิโลคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขวดแก้วเหล่านี้ยังได้รับการแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ของโอสถสภาตามจำนวนขวดแก้วที่แต่ละชุมชนเก็บได้ และมอบให้แก่ชุมชนนั้นๆ รวมถึงชุมชนวัดจากแดง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะนำไปใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลและสนับสนุนองค์กรด้านพระพุทธศาสนา และบริษัทฯ ยังได้เปลี่ยนขวดแก้วที่ได้รับจากชุมชนรอบโรงงานโอสถสภา หัวหมากเป็นลานกีฬาของชุมชนอีกด้วย

มาดูอีกหนึ่งแบรนด์ตัวการเดินหน้ารีไซเคิล คือ กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มรายใหญ่ของไทย เป็นเจ้าของแบรนด์ เช่น กระทิงแดง, สปอนเซอร์ และแมนซั่ม เป็นต้น ได้เพิ่มความจริงจังเรื่องแผนรักษ์โลก โดยเฉพาะเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ต้องรีไซเคิลได้ 100% โดย “สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เล่าให้ฟังว่า กลุ่มตั้งเป้าพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2024 ทั้งลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม การลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและขวดพลาสติกเพื่อลดการใช้ทรัพยากร

ทั้งนี้สัดส่วนการใช้งานบรรจุภัณฑ์ของสินค้ากลุ่ม TCP แบ่งเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม 60%, แก้ว 35% และขวดพลาสติก (PET) 5% ซึ่งทั้งหมดนี้แทบจะรีไซเคิลได้ 100% แต่ติดปัญหาเล็กน้อย เช่น ขวดพลาสติกสี รีไซเคิลค่อนข้างยาก แต่บริษัทพร้อมปรับเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้

ทั้งหมด คือตัวอย่างแบรนด์ที่เดินหน้าเรื่องการรีไซเคิล และหวังว่าจะมีแบรนด์อื่นๆให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพื่อโลกของเรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related