SHORT CUT
ชวนทำความรู้จัก! ชุมชนรักษ์โลก ชุมชนต้นแบบบ้านหัวสะพาน จ.บุรีรัมย์ ทอผ้าไหมขายอินทรีย์ครบวงจร ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ดึงคนไม่ไปทำงานเมืองใหญ่
โดยปกติแล้วค่านิยมของคนต่างจังหวัดมักจะเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ เพื่อมีรายได้ที่มากขึ้นมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ปัจจุบัน…ไม่ได้ใช่แบบนั้นเสียเสมอไป เพราะมีหลายชุมชนที่ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง ด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ร่วมกันในชุมชน ผลิตสินค้าออกจำหน่ายสร้างรายได้แบบไม่ต้องพึ่งพาการเข้าเมืองใหญ่มาหางานทำ ได้อยู่กับครอบครัว คนที่รัก อยู่กับธรรมชาติ วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้
จากทริป TCP Spirit คณะเศษสร้าง ปี 3 เจาะลึกเศรษฐกิจหมุนเวียนในธรรมชาติ โดย TCP Spirit ปี 2567 จัดขึ้นที่จ.บุรีรัมย์ นำทัพโดย “สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ทำให้ #SPRiNG ได้เห็นอีกหนึ่งชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นั่นก็คือ ชุมชนต้นแบบบ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้คนในชุมชนที่นี่นอกจากทำนาแล้ว ยังมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้า เป็นวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนมาอย่างช้านาน
โดยชุมชนดังกล่าวมีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในการทอผ้าไหม และมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยจากขี้วัวและฟางเพื่อคงสภาพดิน ช่วยให้หนอนไหมกินใบหม่อนที่สามารถปลูกซ้ำได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียที่ได้ในกระบวนการผลิต และแปรรูปรังไหมและหนอนไหม
ทั้งนี้ในปัจจุบันปัจจุบันผ้าไหมบ้านหัวสะพานได้รับการพัฒนาภูมิปัญญา ด้วยความตั้งใจของกลุ่มฯ ที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ฯ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากรมหม่อนไหม ได้ดำเนินธุรกิจด้านการปลูกหม่อนการเลี้ยงไหมวัยอ่อน การเลี้ยงไหมวัยแก่ และการผลิตเส้นไหมให้ได้ตามมาตรฐานเส้นไหมหัตถกรรมพร้อมการบริหารจัดการดักแด้ไหม
จนทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหม อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมทุกครัวเรือน ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนกระทั่งทอผ้าเป็นผืนผ้า เพิ่มมูลค่า ราคาจะอยู่ที่ 3,000 – 4,000 บาท ต่อผืน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ได้ออกไปหางานทำในเมืองใหญ่ มีงานทำที่ถิ่นฐานบ้านเกิด
พร้อมกันนี้จะพามาดูว่ากว่าจะเป็นผ้าไหม การเลี้ยงไหม และสาวไหม ต้องมีกระบวนการอะไรบ้าง
สำหรับคุณลักษณะสำหรับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเส้นไหม มีดังนี้
-เส้นไหมมีปุ่ม ปม มีลักษณะเป็นจุดจุดกลม และเป็นรูปแบบอื่น
- เส้นไหมมีความหนามาก
-เส้นไหมแตกตรงกลางเส้น
-เส้นไหมแตกที่ผิวเส้นไหม หรือมีรูทะลุ
-พบขนมาๆบนเส้นไหม มีความยาวมากว่า 1.5 เซนติเมตร
-การต่อเส้นไหมที่ขาด แล้วเส้นไหมไม่เท่กัน
-เส้นไหมมีขนาดใหญ่ หรือเล็กกว่าขนาดเส้นไหมในภาพรวมมากว่า 1 มิลลิเมตร
- เส้นไหมมีสีแตกต่างจากเส้นไหมอื่น
-มีดิน เศษดักแด้ เศษเปลือกรังไหมชั้นไหมชั้นบอกติดอยู่
-มีเส้นฝอยของไหม ติดอยู่
- มีสีดำ หรือสีอื่นติดอยู่
-มีก้อนเชริชินยึดจับเป็นก้อนบนเส้นไหม
ทั้งหมด คือตัวอย่างชุมชนรักษ์โลก ต้นแบบที่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหมขาย แบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างเงิน สร้างงาน ไม่ให้คนในพื้นที่ต้องออกมาหางานทำในเมืองได้ มาช่วยกันพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องโมเดล "ผลิตภัณฑ์นมยุโรป"ที่ยั่งยืนจากไอร์แลนด์ หนุนส่งออกสินค้ารักษ์โลก
รู้หรือไม่? ลูกค้า 64% ชี้ความยั่งยืนสำคัญ! 12% ยินดีจ่ายซื้อสินค้ารักษ์โลก
3 ก.ค. วันปลอดถุงพลาสติกสากล ภาคธุรกิจรวมพลังลดขยะพลาสติก ชูสินค้ารักษ์โลก