svasdssvasds

Soft Power ไทย เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ

Soft Power ไทย เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ

ในช่วงหลังมานี้เราอาจจะได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า Soft Power มากขึ้น เนื่องจากซอฟท์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการเผยแพร่วัฒนธรรมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ไทยเราดัน Soft Power ส่งเสริมผู้ประกอบการ 1,878 ราย สร้างมูลค่าการค้าถึง 3,905 ล้านบาท ในระยะเวลาแค่ครึ่งปี

Soft Power ไทย เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ จากการจัดอันดับของ Global Soft Power Index 2022 โดย Brand Finance ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 35 จาก 120 ประเทศทั่วโลก ได้ 40.2 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 38.7 คะแนนในปี 2021 และในเอเชียประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 รองจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และอินเดีย

ข้อมูลการรวบรวมโดยรายการ Bussiness Watch เกี่ยวกับ Soft Power ของไทยที่สร้างมูลค่าทางเศณษฐกิจมากที่สุด ได้แก่

-การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 409,000 ล้านบาท

-อาหารไทย  267,000 ล้านบาท

-โฆษณา 208,000 ล้านบาท

-แฟชั่น 189,000  ล้านบาท

-ออกแบบ 125,000 ล้านบาท


Soft Power ไทย เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ ในปีที่ผ่านมาความฮอตของ Lisa Blackpink การนำเสนออาหารของดีของไทยทำให้พลัง Soft Power ของไทยโตขึ้นมาก และที่เห็นได้ชัดทำเอาข้าวเหนียวมะม่วงขาดตลาดคือ แร็ปเปอร์สาว มิลลิ ดนุภา กินข้าวเหนียวมะม่วงบนเวทีเทศกาลดนตรีระดับโลก Coachella 2022 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทำให้ซอฟ์พาวเวอร์ของไทยเป็นที่ฮือฮา ส่งผลให้การส่งออกข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวหนียว และมะม่วงของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2565 รวมถึงการเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ที่ผ่านมาก็ทำให้อาหารไทยหลายๆ อย่างกลายมาเป็น Soft Power สร้างรายได้ให้ประเทศและเกษตกร ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเรื่องการประชาสัมพันธ์ เร่งขยายตลาดสินค้าไทยแล้วยังให้ความสำคัญการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) ซึ่งเป็นการคุ้มครองว่าสินค้าเกษตรชนิดนั้นเป็นสินค้าเฉพาะถิ่น พื้นที่อื่นไม่สามารถนำชื่อไปใช้ และเสมือนเครื่องยืนยันถึงคุณภาพสินค้าอีกด้วย จึงเป็นประโยชน์ต่อการทำการตลาดและเพิ่มมูลค่าอย่างมาก

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

วัฒนธรรมไทยมีศักยภาพโดดเด่น ที่สามารถเป็นซอฟท์พาวเวอร์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ ได้แก่ อาหาร ภาพยนตร์ ผ้าไทย แฟชั่น มวยไทย เทศกาล ประเพณีต่างๆ ฯลฯ โดยเฉพาะอาหารไทยที่ปี 2565 ฮอตเป็นพิเศษ และในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในครัวโลก เรามีเมนูที่ติด 50 อันดับอาหารโลกปี 2021 ของ CNN โดย แกงมัสมั่น คว้าอันดับ 1 ต้มยำกุ้ง ยังคงเป็นตัวท็อปติดอันดับ 8 และอาหารสุดคล่สสิก อย่าง ส้มตำ ติดอันดับ 46

Soft Power ไทย เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เร่งรัดการขึ้นทะเบียน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการคุ้มครอง GI ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น จัดทำระบบควบคุมคุณภาพเพื่อรักษามาตรฐานของสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และการส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชนสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยมต่อไป และในตอนนี้มีสินค้าขึ้นทะเบียนสินค้า GI กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ทั้งหมด 195 รายการ (วันที่ 26 ธันวาคม 2565) แบ่งเป็น GI ไทย 177 รายการ, GI ต่างประเทศ 18 รายการ และ 6 รายการล่าสุด คือ มะม่วงเบาสงขลา จ.สงขลา), มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลก, ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี, กล้วยหอมทองพบพระ จ.ตาก, ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา และปลาเม็งสุราษฎร์ธานี ล่าสุดทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ร่วมกับ Michelin Guide คัดสรรวัตถุดิบซึ่งเป็นสินค้า GI จากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ มาสร้างสรรค์ เป็นเมนูอาหารจากเชฟระดับมิชลินสตาร์ โดยมีสินค้า GI แล้ว 4 สินค้าจาก 3 จังหวัด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์, หอมแดงศรีสะเกษ, กระเทียมศรีสะเกษ และเนื้อโคขุนโพนยางคำ จ.สกลนคร

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ปี 2566 นับแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไปจะมีกิจกรรมต่อยอดผ่านกิจกรรม “สัมผัสสำรับ GI สุดประณีตด้วยเชฟมิชลิน” โดยการนำวัตถุดิบ GI ถึง 15 รายการ เช่น ปลากะพงสามน้ำ ทะเลสาบสงขลา, ปลาดุกร้า ทะเลน้อยพัทลุง, ข้าวเหนียวเขาวง กาฬสินธุ์, สับปะรดภูเก็ต, มะนาวเพชรบุรี และน้ำตาลโตนดเมืองเพชร เป็นต้น มาสร้างสรรค์เป็นเมนูสุดพิเศษให้แก่ผู้มีชื่อเสียงในแวดวง GI และสื่อมวลชน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพสินค้า GI ในการก้าวไปสู่เวทีโลก

 

Cr. www.thansettakij.com / www.cea.or.th / www.infoquest.co.th