svasdssvasds

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยกระทรวงศึกษาได้จัดการสัมมนายกระดับการศึกษาเพื่อผลิตบุคคลากรสำหรับรองรับในพื้นที่ "อีอีซี" รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ ทั่วประเทศ ติดตามจากคุณจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง รายงานจาก โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จังหวัดชลบุรี

กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานใหญ่ เป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการ "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้บริหารของเขตการศึกษาและสถาบันการศึกษาทั้งประเทศมาร่วมรับฟังนโยบาย

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ เรื่องแผนยุทธศาสตร์การศึกษาพื้นที่พิเศษ ที่ต้องยกระดับการศึกษาทั่งประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรทางภาคการศึกษา คู่ขนานไปกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 3 โซน คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 จังหวัด และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ซึ่งตอนนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการเร่งผลิตจำนวนนักเรียนอาชีวะ เพื่อป้อนเข้าทำงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจอีอีซีภาคตะวันออกก่อนเป็นลำดับแรก และจากนั้นจึงจะขยายผลต่อไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

ด้าน ดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงภาพแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ที่มีทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร จะต้องเร่งขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งแผน 12 เห็นภาพว่าภาคกำลังแรงงานของไทยจะลดน้อยลง เพราะประชากรชะลอตัว สังคมจะเป็นสังคมผู้สูงอายุที่จะมีมากขึ้น เด็ก วัยรุ่นจะลดลง หากประเทศไทยไม่เตรียมพร้อมอย่างจริงจัง อาจจะปรับตัวไม่ทันเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งในอนาคตจะมีความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เน้นงานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และออนไลน์ เพิ่มมากขึ้น ดูได้จากหลายอุตสาหกรรมที่พัฒนาธุรกิจตัวเองโดยใช้เทคโนโลยีเข้าสู่ระบบดิจิตัลและออนไลน์มากขึ้น

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

สำหรับยุทธศาสตร์ในด้านการศึกษาที่อยู่ในแผน 12 มี 4 หัวข้อหลัก คือ เน้นคุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครู ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการและมีส่วนร่วมในการศึกษา เพื่อรองรับ 13 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตร เซรามิก สิ่งทอ เครื่องเรือน อัญมณี เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก ผลิตยา โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม และท่องเที่ยว

ยกระดับการศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจ "EEC"

ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของความมั่นคงอย่างหนึ่งของประเทศ ที่ต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อมุ่งไปสู่การสร้างฐานรายได้ให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง ที่จะต้องเน้นนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าสินค้าให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

related