svasdssvasds

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

กสร.ย้ำชัด ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ "ใบรับรองแพทย์" ประกอบสิทธิลาป่วย และนายจ้างไม่สิทธิเรียกขอ ชี้หากไม่ให้สิทธิลา จนไม่ได้ค่าจ้าง ให้ร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงาน ด้านแพทยสภาเผยแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์ใช้ใบรับรองแพทย์ต่างกัน หมอต้องออกให้โดยสุจริต ตรงตามหลักวิชาการ ไม่ควรแสดงความเห็นนอกเรื่องจากการรักษา ไม่ฟันธงผิดจริยธรรมหรือไม่

 

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

 

กรณีสื่อสังคมออนไลน์มีการโพสต์เรื่องราวของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ไม่พอใจต่อข้อความในใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุว่า ผู้ป่วยเป็นบุคคลวัย 27 ปีใช้ประกันสุขภาพด้วยเรื่องไข้สูงกลางคืน สมควรให้พักผ่อน 1 วัน แต่ในบันทึกความคิดเห็นของแพทย์กลับมีข้อความว่า "การกรรโชกใบรับรองแพทย์กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วัน ผิดกฎหมายแรงงาน เลว และเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลลิดรอนสิทธิคนไข้ คนไข้มีสิทธิหยุด 3 วันโดยไม่มีใบรับรองแพทย์" จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งประเด็นว่า แพทย์อาจต้องการตำหนิบริษัทที่ให้ขอใบรับรองแพทย์ ทั้งที่หยุด 1 วัน ไม่จำเป็นต้องใช้ และบางส่วนมองว่า แพทย์พูดจาแรง และเป็นการตำหนิผู้ป่วยหรือไม่

 

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

 

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ส่วนสิทธิการรับค่าจ้างขณะลาป่วยนั้นกำหนดให้ 1 ปีมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน และกฎหมายยังกำหนดว่า หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ สำหรับกรณีที่แต่ละบริษัท มีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิลาป่วยต่างกัน เช่น ลางาน 1 หรือ 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบนั้น ตรงนี้ ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้

 

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

 

ส่วน กรณีที่ ลูกจ้างไม่แสดงใบรับรองแพทย์ ทำให้บริษัทหรือนายจ้าง ไม่ให้สิทธิวันลาป่วย และไม่ได้รับค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด นายอภิญญา กล่าวว่า หากเป็นเช่นนั้น ลูกจ้างสามารถดำเนินการร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ได้ เพราะถือว่านายจ้างปฏิบัติไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อย่างไรก็ตาม กรณีลาป่วยเป็นเท็จ ก็จะมีความผิดทางวินัยได้เช่นกัน หากนายจ้าง ลูกจ้างมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทร. 0-2245-7170 , 0-2246-6389 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1546

 

จริงหรือ ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิขอ

 

แล้วอย่างไร จะเรียกว่า ลาป่วยเท็จ  ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า “ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน ทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ในกรณีนายจ้างจัดแพทย์ไว้ให้ แพทย์นั้นต้องเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้  วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจาการทำงาน และวันลาเพื่อการคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้”

 

ขอบคุณข้อมูล จาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.)

ขอบคุณภาพ จาก laboursolutions.com

ขอบคุณภาพ จาก jobsDB Thailand

ขอบคุณ FB เพจ แหม่มโพธิ์ดำ

related