svasdssvasds

ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ

ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันรัฐธรรมนูญ เนื่องจากวันที่ 10 ธนวาคม ปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ... ติดตามได้จากรายงานของ คุณเจษฎา จี้สละ

ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ

วันที่ 10 ธันวาคม ปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุตตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ

เหตุการณ์ครั้งนั้น เกิดขึ้นช่วงวิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ รวมถึงประเทศไทย จนพระองค์จำต้องปลดข้าราชการออก และสร้างความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ ประกอบกับอิทธิพลจากตะวันตกที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง

ที่ทำให้ "กลุ่มคนหนุ่ม" ซึ่งภายหลังรู้จักกันในชื่อ "คณะราษฎร" ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉบับพลันจนนำมาสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ที่มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มี “อายุสั้นที่สุด” มีอายุเพียง 5 เดือน

ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ ผ่านมาแล้ว 20 ฉบับ

หลังถูกยกเลิก เมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุธทศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่มี "อายุยาวนานที่สุด" ในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย 20 ฉบับ  ส่วนรัฐธรรมนูญที่มี "มาตรามากที่สุด" คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540 มี 336 มาตรา  และรัฐธรรมนูญที่มี "มาตราน้อยที่สุด" คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 ปี 2502 สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีเพียง 20 มาตรา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่ใช้ยาวนานถึง 9 ปี และถูกวิจารณ์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็น "เผด็จการ"  โดยเฉพาะ มาตรา 17 ที่ให้อำนาจพิเศษแต่ นายกรัฐมนตรี สามารถสั่งการหรือกระทำการใดๆ ก็ได้ เช่น การสั่งประหารชีวิตหรือยึกทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งมาตรานี้ มักถูกเปรียบเทียบกับอำนาจพิเศษใน มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 ที่ให้อำนาจพิเศษหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. คือ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ขณะที่รัฐธรรมนูญ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 ปี 2540 เพราะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ  รอบ 20 ปี มานี้ ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว 4 ฉบับ ท่ามกลางการรัฐประหาร 2 ครั้ง

คือ การรัฐประหาร ปี 2549 ที่มีรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี 2549 และการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่มีการจัดทำประชามติรัฐธรรมนูญครั้งแรก

ต่อมา การรัฐประหาร ปี 2557 และมีรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี 2557 ซึ่งระหว่างนี้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก คือ รัฐธรรมนูญฉบับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ถูกสภาปฏิรูปแห่งชาติตีตกไป จนรัฐบาลต้องขยายโรดแม็ปในการเลือกตั้ง และยืดเวลาในการลงจากอำนาจ / จนนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท้ายที่สุด ผ่านการประชามติจากประชาชน และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา

related