svasdssvasds

5เทคนิค ถ่ายภาพพลุคืนเคาท์ดาวน์ โดย ทีม SpringNews Photo

5เทคนิค ถ่ายภาพพลุคืนเคาท์ดาวน์ โดย ทีม SpringNews Photo

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เทศกาลงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ ไม่ว่าจะงานไหน ที่ใด ส่วนมากจะมีการแสดง จุดพลุ ไปซะทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ , เอเชียทีค หรือตัวเมืองจังหวัดต่างๆ ในทุกครั้งที่เราไปร่วมงานเหล่านี้ ก็ย่อมต้องมีการถ่ายภาพนั้นเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรดีให้นักถ่ายภาพมือใหม่แบบเรานั้นสามารถถ่ายภาพพลุ ให้สวยงามได้ วันนี้เราก็มีคำแนะนำดีๆ ในการถ่ายพลุ มาฝากกัน

5เทคนิค ถ่ายภาพพลุคืนเคาท์ดาวน์ โดย ทีม SpringNews Photo

เริ่มตั้งแต่หาข้อมูลว่ามีโชว์พลุที่ไหน เวลาใด จากนั้นลองไปสำรวจพื้นที่ก่อนวันจริงเลยถ้าทำได้ หาทำเลเหมาะ ๆ โดยเราสามารถตั้งกล้องได้จนจบโชว์ เล็งว่าจากจุดนั้นเราจะได้มุมภาพอย่างไร มีอาคารที่อาจบังหรือจะช่วยให้ภาพสวยขึ้นได้หรือไม่ และควรเป็นบริเวณที่อยู่เหนือลมเพื่อไม่ให้ควันจากพลุโดนพัดเข้ามาหาเรา

ในส่วนของการเลือกใช้อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

- เลนส์ เลือกให้เหมาะกับทำเลและมุมภาพ อาจใช้เลนส์มุมกว้าง ถ้าอยากได้ภาพ Landscape แบบมีอาคารสวย ๆ อยู่ในภาพด้วย หรือจะใช้เลนส์เทเลโฟโต้ หากทำเลของเราอยู่ไกลจากจุดยิงพลุ

- ขาตั้งกล้อง เป็นสิ่งที่จำเป็นสุด ๆ สำหรับการถ่ายภาพเวลากลางคืน ขาตั้งกล้องต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของกล้องและเลนส์ ถ้ากลัวล้ม อาจนำสัมภาระมาถ่วงไว้ที่แกนขาตั้งก็เป็นไอเดียที่ดีเช่นกัน

- รีโมทชัตเตอร์  เพราะมีโอกาสที่มือเราจะไปขยับกล้องระหว่างกดชัตเตอร์โดยไม่รู้ตัว สำหรับกล้องโอลิมปัส จะมี Built-in WiFi ทุกรุ่น สามารถเชื่อมต่อผ่านแอพ OI. Share ให้สมาร์ทโฟนเป็นรีโมทชัตเตอร์ได้เลย โดยเข้าไปในเมนู Remote control แล้วเปลี่ยนจากโหมด Live view เป็น Remote shutter

- ช่องรับแสง(F)  หากรู้สึกเส้นพลุบางไป สามารถเปิดให้กว้างขึ้นได้ (ลดค่า F) หรือถ้ารู้สึกพลุดูสว่างไป เริ่มไม่ชัด ก็ปรับให้แคบลง (เพิ่มค่า F)

- ความเร็วชัตเตอร์ -หากภาพสว่างโดยรวมสว่างไปก็ปรับให้เร็วขึ้น ถ้ามืดไปก็ปรับให้ช้าลง แต่ก็ควรจะให้อยู่ที่ 2-10 วินาที

สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คล่องกับการหมุนเลนส์หาโฟกัสเอง สามารถใช้เพื่อช่วยจับโฟกัสได้ โดยเล็งไปที่บริเวณที่มีแสงสว่างใกล้กับบริเวณที่จุดพลุ ลองกดชัตเตอร์ถ่ายรูป(ก่อนพลุเริ่มโชว์) แล้วดูว่าภาพที่ได้คมชัดหรือไม่ หรือบริเวณที่พลุจะขึ้นนั้นอยู่ในโฟกัสหรือเปล่า เมื่อองค์ประกอบถูกใจแล้ว เปลี่ยนโฟกัสเป็น MF เพื่อล็อกจุดโฟกัสได้เลย เพราะหากเราไม่ได้ย้ายทำเล เปลี่ยนมุม หรือหันไปถ่ายภาพอย่างอื่น พลุลูกต่อไปก็จะถูกยิงขึ้นในระดับพอ ๆ กัน จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระยะโฟกัสบ่อย ๆ ทั้งนี้ก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเทคนิคดีๆ ให้ผู้ที่ชื่นชอบถ่ายภาพได้นำประยุกต์ใช้ ถ้าไปถ่ายภาพที่ไหนแล้ว เรามาแชร์ภาพถ่ายสวยๆให้ได้ชมกันบ้างนะ

ทีมช่างภาพ SpringNews Photo รายงาน

related