svasdssvasds

เจตนาดี แต่เหตุเข้าใจผิด !! ไฟฟ้าในหูฟัง....ไม่ได้ไฟดูดคนจนตาย

เจตนาดี แต่เหตุเข้าใจผิด !! ไฟฟ้าในหูฟัง....ไม่ได้ไฟดูดคนจนตาย

มีลูกศิษย์ลูกหา รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถามกันมากเรื่อง การรั่วของไฟฟ้าในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต จนอาจารย์เจษ ต้องออกมาย้ำถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าว ไว้ในเฟซบุ๊ก เพื่อสร้างความเข้าใจถูกต้อง (ดูคลิป ประกอบ)

ไฟฟ้าในสายหูฟัง ไม่ได้แรงจนไฟดูดคนตายนะ  .....คลิปตามรูปนี้โดนแชร์กันไปหลายหมื่นแล้ว ประมาณว่า มีคนเอาอุปกรณ์ปากกาวัดไฟ ไปไล่จี้ตามสายชาร์จและสายหูฟัง ที่ต่อกับแท็บเล็ต แล้วปากกามันก็มีเสียงมีแสงสว่างเตือนขึ้นว่ามีไฟวิ่งอยู่ เค้าเลยเอามาโพสต์เตือนว่านี่คือหลักฐานว่าทำไมเคยมีคนตายเพราะฟังหูฟังไปด้วยชาร์จโทรศัพท์ไปด้วย .... เรื่องนี้มั่วนะครับ ไฟฟ้าในสายหูฟังมันมีจริง แต่ไม่ใช่ไฟแรงสูง 220 โวลต์อะไร ปากกาวัดไฟมันไวมากเลยเตือนขึ้นมา แค่นั้นเอง

เจตนาดี แต่เหตุเข้าใจผิด !! ไฟฟ้าในหูฟัง....ไม่ได้ไฟดูดคนจนตาย

คือ อุปกรณ์วัดไฟแบบ "ปากกาวัดไฟโดยไม่ต้องสัมผัส"  ดีกว่าไขควงวัดไฟสมัยก่อนมาก คือ มันจะจับแค่สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า จึงมีความไวสูงมาก และเหมาะกับการจี้หาตำแหน่งที่มีไฟรั่วแม้เพียงเล็กน้อย ... แต่มันไม่ได้บอกเลยนะว่าเป็นไฟแรง ต้องใช้พวกโวลต์มิเตอร์มาตรวจวัด ถึงจะรู้ว่าไฟแรงแค่ไหน อันตรายไหม? ขนาดว่า ไฟฟ้าสถิตย์จากการถูกันของวัตถุ ซึ่งเราโดนก็ไม่รู้สึกอะไร มันยังร้องเตือนเลย ... ดังนั้นเมื่อเราเสียบสายหูฟังกับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตที่ต่อสายชาร์จไฟ มันก็ย่อมจะมีกระแสไฟอ่อนๆๆ วิ่งมาด้วย ปากกามันก็ตรวจเจอ แต่ไม่มีอันตราย แค่นั้นเอง

 

ปกติไฟบ้าน 220 โวลต์ก็ต้องโดนอะแดปเตอร์แปลงไฟให้เป็นประมาณ 5 โวลต์ก่อนจะส่งไปชาร์จ แต่ถ้ากลัวว่าอะแดปเตอร์เสีย แล้วมีไฟ 220 v. รั่วมาด้วยขณะฟังเพลง ก็ควรชาร์จผ่านเพาเวอร์แบงค์แทนใช้ไฟบ้าน ....แล้วที่ก่อนหน้านี้ เคยมีการแชร์กันว่า มีคนตายจากการฟังเพลงผ่านฟังหูโทรศัพท์มือถือล่ะ .... มันก็มี 2-3 อย่างที่แชร์กัน คือ

  1. มีไฟ 220v. รั่วจากอุปกรณ์ชาร์จไปที่เสื่อมคุณภาพ
  2. คนตาย จริงๆ แล้วไปโดนไฟดูดจากปลั๊กไฟ แต่มือถือโทรศัพท์อยู่ คนเลยเข้าใจผิด
  3. เป็นภาพคนที่ตายเพราะกินยาเกินขนาด และมีเลือดไหลจากหู แต่ดันไปแชร์กันว่าเป็นรูปสายหูฟัง เรื่องที่แชร์ต่อๆ กัน....ไม่จริง

 

อาจารย์ดุสิต สุขสวัสดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ถือว่าเจตนาดี เป็นปรากฏการณ์ที่เห็นจริง แต่บอกว่าห้ามจับมันร้อง อันนี้ไม่ถูกต้อง ไขควงจะเริ่มทำงานเมื่อไฟฟ้าเริ่มที่ 150 โวลต์เอซี ถ้าไฟรั่วจะไม่ถึง 150 โวลต์ จะรั่วแค่ 20-30 โวลต์ไม่ทำให้ไขควงแดง แต่ก็เพียงพอที่จะดูดเด็กๆ หรือคนมีผิวหนังบางได้แล้ว ไขควงหรือปากกาวัดไฟ สำหรับวัดประจุ ไม่ได้วัดแรงดัน อย่างไรก็ตาม การใช้มือถือขณะเสียบใช้กับไฟบ้าน ก็เป็นเรื่องจริงที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีความเสี่ยง ไฟฟ้าจ่ายมา 5 โวลต์ แต่มือถือรับ 220 โวลต์ ก็มีโอกาสเสื่อมเมื่อไรก็ได้ เสี่ยงอันตรายได้เช่นกัน แต่ถ้าจะชาร์จไปใช้ไป ควรเป็นแบตเตอรี่ แบงก์จะดีกว่า

เจตนาดี แต่เหตุเข้าใจผิด !! ไฟฟ้าในหูฟัง....ไม่ได้ไฟดูดคนจนตาย

related