svasdssvasds

โลกนี้เขื่อนแตก!! ระทึกมาแล้ว 25 แห่ง “อเมริกา” แชมป์ภัยพิบัติจากเขื่อน

โลกนี้เขื่อนแตก!! ระทึกมาแล้ว 25 แห่ง “อเมริกา” แชมป์ภัยพิบัติจากเขื่อน

นับแต่มนุษยชาติมีความสามารถด้านวิศวกรรม ในการก่อสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างขวางแนวการเคลื่อนที่ของน้ำ เพื่อบริหารจัดการเส้นทางน้ำไหล ในการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เขื่อนจึงเป็นเหมือน “ช่องทางหรือประตูระบายน้ำ” เพื่อปล่อยให้น้ำไหลผ่านเป็นช่วงๆ หรือต่อเนื่อง และยังใช้พลังงานน้ำ ในโรงงานไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าด้วย

แต่แล้ว เขื่อน ที่ใ้ห้ประโยชน์ แต่ก็มีอันตรายไม่น้อย เมื่อเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างผลเสียเช่นกัน หากเกิดเขื่อนแตกได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เขื่อนแตก นับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนเป็นต้นมา

  • การออกแบบช่องระบายน้ำที่ผิดพลาด (South Fork Dam)
  • ความไม่เสถียรทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำระหว่างการเติมน้ำลงเขื่อน หรือเกิดจากการสำรวจที่แย่ (Malpasset)
  • การเคลื่อนตัวของภูเขาลงสู่แหล่งเก็บน้ำ เช่น กรณี Vajont Dam มีสาเหตุหลักมาจากดินภูเขาขนาด 260 ล้านลูกบาศก์เมตร ถล่มลงสู่ทะเลสาบด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยังผลให้เกิดคลื่นสึนามึขนาดใหญ่ ถล่มทุกสิ่งให้ราบเป็นหน้ากลอง
  • การบำรุงรักษาที่แย่ โดยเฉพาะท่อระบายน้ำ
  • ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
  • ความผิดพลาดจากมนุษย์ คอมพิวเตอร์ หรือการออกแบบ
  • การก่อวินาศกรรม ซึ่งเกิดขึ้นในปฏิบัติการแคสตีส โดยฝูงบินที่ 617 กองทัพอังกฤษ ถล่มเขื่อนของเยอรมนี 3 แห่งเพื่อทำลายสาธารณูปโภค กำลังผลิต และพลังงานของฝ่ายเยอรมนี การถล่มเขื่อนดังกล่าว ถูกนำไปใช้สร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง

โลกนี้เขื่อนแตก!! ระทึกมาแล้ว 25 แห่ง “อเมริกา” แชมป์ภัยพิบัติจากเขื่อน

       เขื่อนแตก ในรัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา

เขื่อน เลยถูกพิจารณาว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีปัจจัยอันตรายโดยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการทำลายล้างชีวิตพลเรือนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเขื่อนแตก เหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น เมื่อเทียบกับอุปัทวเหตุอื่นๆ แล้ว จัดได้ว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างสูง

มาดูกันว่าทั่วโลกเขื่อนแตกหนักๆต้องรับมือกันโกลาหลอยู่ที่ไหนและด้วยสาเหตุต่างๆ  ได้แก่

  1. ..1864 เขื่อน Dale Dike Reservoir ที่เซาท์ยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ มีความผิดพลาดในขั้นตอนการก่อสร้าง จุดรั่วเล็กๆ ในผนังเขื่อนขยายขนาดจนเขื่อนแตก
  2. ค.ศ.1889 เขื่อน South Fork Dam ที่จอห์นสทาวน์ เพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สาเหตุที่คนในท้องถิ่นเชื่อว่าเกิดจากการซ่อมบำรุงที่แย่ ในขณะที่ศาลตัดสินว่าเป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติ จากการที่ฝนตกอย่างหนักเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้
  3. ค.ศ.1890 เขื่อน Walnut Grove Dam ที่วิกเกนเบิร์ก แอริโซนา ประเทศสหรัฐฯ สาเหตุหิมะและฝนที่ตกอย่างหนัก ตามด้วยการร้องขอให้มีการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างฝั่งตะวันออกของหัวหน้าวิศวกรของเขื่อน
  4. ค.ศ.1916 เขื่อน Desná Dam ในพื้นที่ออสเตรีย-ฮังการี ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ก สาเหตุความผิดพลาดของการก่อสร้างจนทำให้เขื่อนแตก
  5. ค.ศ.1925 เขื่อน Llyn Eigiau dam and the outflow also destroyed Coedty reservoir ที่นอร์ทเวส์ส ประเทศอังกฤษ สาเหตุผู้ว่าจ้างโทษการตัดงบประมาณการก่อสร้าง แต่ปริมาณน้ำฝนขนาด 25" ที่ตกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าวันติดต่อกันจนเขื่อนแตก
  6. ค.ศ.1928 เขื่อน St.Francis ที่วาเลนเซีย, แคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี, สหรัฐฯ สาเหตุ ความไม่มีเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ของแนวฝาซึ่งตรวจสอบไม่พบอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวิทยาการในยุคนั้น กอปรกับความผิดพลาดของผู้สำรวจในการประเมินว่าการขยายตัวของรอยแตกนั้นเป็นระดับ "ธรรมดา" สำหรับเขื่อนชนิดนั้น
  7. ค.ศ.1959 เขื่อน Vega de Tera ที่ริบาเดลาโก ประเทศสเปน ไม่ได้ระบุสาเหตุไว้
  8. ..1959 เขื่อน Malpasset ที่โกตดาชูร์ ฝรั่งเศส คาดมีความเป็นไปได้ว่ามาจากความล้มเหลวเชิงภูมิศาสตร์อันเกิดจากการใช้ระเบิดในระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้งการศึกษาภูมิศาสตร์ในขั้นต้นก็มิได้ถูกทำอย่างระมัดระวัง
  9. ค.ศ.1963 เขื่อน Ballin Hills Reservoir ที่ลอสแองเจลิส สหรัฐฯ สาเหตุการยุบตัวของพื้นดินอันเนื่องมาจากการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณใกล้เคียง
  10. ค.ศ.1963 เขื่อน Vajont ในอิตาลี สาเหตุการเติมน้ำลงเขื่อนก่อให้เกิดภูเขาถล่มลงแห่งน้ำและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ อันมีเหตุมาจากการประเมินเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ที่ผิดพลาด
  11. ค.ศ.1972 เขื่อน Buffalo Creek Flood รับเวสท์เวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เขื่อนที่บริษัทเหมืองถ่านหินในพื้นที่สร้างขึ้นนั้นไม่เสถียรเพียงพอและพังทลายเมื่อเกิดฝนตกหนัก
  12. ค.ศ.1975 เขื่อน Bangiao and Shimantan ประเทศจีน สาเหตุฝนที่ตกอย่างหนักจนเกิดปริมาณความจุของเขื่อนที่ถูกออกแบบไว้
  13. ค.ศ.1976 เขื่อน Tenton รัฐไอดาโอ สหรัฐฯ สาเหตุการรั่วไหลของน้ำบริเวณแนวกำแพงตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลาย
  14. ค.ศ.1977 เขื่อน Kelly Barnes รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน คาดเกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาดเนื่องจากมีการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง
  15. ค.ศ.1982 เขื่อน Lawn Lake สร้างบนอุทยานแห่งชาติเทือกเขาร็อกกี สหรัฐฯ สาเหตุท่อส่งน้ำผุกร่อน เขื่อนกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง
  16. ค.ศ.1982 เขื่อน Tous ในวาเลนเซีย สเปน ไม่ระบุสาเหตุ
  17. ค.ศ.1985 เขื่อน Val di Stava Dam collapse ในอิตาลี เหตุจากการซ่อมบำรุงที่แย่และการออกแบบที่เลินเล่อ ท่อส่งน้ำเสียอันก่อให้เกิดแรงดันบนฐานเขื่อน
  18. ค.ศ.1993 เขื่อน Peruca Dam detonation ในโครเอเชีย แตกจากสาเหตุถูกระเบิดโดยกองทัพเซอร์เบียที่กำลังถอนทัพ
  19. ค.ศ.1997 เขื่อน Opuha ในนิวซีแลนด์
  20. ค.ศ.2002 เขื่อนVodní nádrž Soběnov  ในสาธารณรัฐเช็ก สาเหตุปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในเหตุการณ์น้ำท่วมยุโรป
  21. ค.ศ.2004 เขื่อน Big Bay ในมิสซิสซิปปี้ สหรัฐฯ
  22. ค.ศ.2004 เขื่อน Camara ในบราซิล
  23. ค.ศ.2005 เขื่อน Shakidor ในปากีสถาน สาเหตุ ปริมาณน้ำฝนที่เกินจากที่คาดเอาไว้
  24. ค.ศ.2005 เขื่อน Taum Sauk reservoir ในเลสเตอร์วิลล์ มิสซูรี สหรัฐฯ เขื่อนแตกจากความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ มาตราวัดระดับน้ำไม่ทำแจ้งว่าเขื่อนเต็ม และน้ำยังถูกเติมลงเขื่อน ปริมาณน้ำที่รั่วไหลก่อให้เกิดการกัดเซาะแนวเขื่อน
  25. ค.ศ.2009 เขื่อน Situ GinTung ในตันเกรัง ประเทศอินโดนีเซีย สาเหตุการซ่อมบำรุงที่แย่และฝนที่ตกอย่างหนักในฤดูฝน

ล่าสุด ค่ำวันที่ 23 กรกฎาคม เขื่อนเซเปี่ยน เซน้ำน้อย เมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขื่อนแตกน้ำทะลักอย่างรวดเร็ว กวาดเอาทรัพย์สิน บ้านเรือน พื้นที่เกษตรจมใต้น้ำ ขณะนี้ยังต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

related