svasdssvasds

ฝนมาเร็ว!! ทำ “แก่งกระจาน” วิกฤต เหตุ “เขื่อนดิน“ น้ำเข้ามากเอาออกได้จำกัด

ฝนมาเร็ว!! ทำ “แก่งกระจาน” วิกฤต เหตุ “เขื่อนดิน“ น้ำเข้ามากเอาออกได้จำกัด

นักวิชาการด้านภัยพิบัติระบุ ฝนตกหนักต้องคุมให้ผ่านสิงหาคมนี้ได้ก่อน ถึงจะปลอดภัยไม่ต้องอุทกภัยหนัก เพราะไทยกำลังเข้าโหมด “เอลนิโญ” ต้องเผชิญกับภัยแล้ง

คืบหน้าเพชรบุรีท่วมหรือไม่ จับตาพื้นที่อ.ท่ายางไว้

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ปกติน้ำจะมาเดือนกันยายน - ตุลาคม แต่ปีนี้ไม่ปกติมาเดือนสิงหาคม จ.เพชรบุรีหากน้ำท่วมจะมาจากสองแหล่งคือเขื่อนแม่ประจันและเขื่อนแก่งกระจานซึ่งเป็นเขื่อนดินใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อฝนตกมามากแต่มีข้อจำกัดในการปล่อยน้ำออกยิ่งฝนตกหนักน้ำในเขื่อนจะเต็มเร็วมากไม่สามารถเอาออกได้ทันทีแม้มีการสูบน้ำออกก็ทำได้ปริมาณน้อยไม่ทันในการระบายออกปริมาณน้ำเขื่อนแก่งกระจานจึงล้นสปิลเวย์เพราะไม่สามารถควบคุมได้

ผอ.ศูนย์ภัยพิบัติ กล่าวว่า จากการคาดการณ์อีก 1-2 เดือนข้างหน้า ฝนมาเร็วจะไปเร็ว แต่ขอให้ผ่านเดือนสิงหาคมนี้ไปให้ได้ หากควบคุมระดับน้ำจากฝนที่ตกมาไม่ได้ จะต้องแจ้งเตือนทำความเข้าใจกับประชาชน รวมทั้งขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารว่าจะท่วมตรงไหน ตนคาดว่าอีก 3 วันข้างหน้าน่าจะยังไหวในวิสัยรับมือ ต่อจากนั้นต้องดูว่าจะอย่างไรต่อไป

นายเสรี อธิบายว่า จะตัดสินใจได้อย่างไรว่าน้ำจะท่วมจ.เพชรบุรีว่า ให้ดูจากอ.ท่ายาง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำเป็นแอ่งเหมือนรองรับน้ำ ถ้าน้ำจากอ.ท่ายางเข้าบ้านลาด คงต้องจับตาสถานการณ์ตรงนี้ คือล้นจากบ้านลาด เข้าบ้านแหลม ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลเพิ่มขึ้น จะท่วมทั้งเพชรบุรี

เมื่อถามว่าจะมีพายุเข้ามาในประเทศไทยช่วงนี้หรือไม่ นักวิชาการด้านภัยพิบัติ ตอบว่า ภาพถ่ายทางอากาศและกรมอุตุนิยมบอกทิศทางว่า มีพายุก่อตัวขึ้นทางมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อก่อตัวขึ้นทำให้เกิดกำลังแรงส่งผลกับจังหวัดทางภาคตะวันตก นั่นหมายถึงจะมีผลต่อเขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ โดยเฉพาะจะมีผลต่อน้ำในเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเหลือพื้นที่รับน้ำได้ไม่มาก ต้องดูทางการวางแผนเร่งระบายน้ำเพิ่มขึ้น หลักการสำคัญต้องบริหารให้ผ่านเดือนสิงหาคม ที่ฝนตกหนักให้ได้ โดยเขื่อนนี้รับหนักกว่า น้ำไหลเข้าประมาณ 100 ล้านลบ.. ภายในสัปดาห์นี้ไม่น่ามีปัญหา ระบายน้ำไปก่อน เพียงน่าห่วงว่า อย่าให้นำ้เต็มเขื่อน ส่วนเขื่อนศรีนครินทร์ รับปริมาตรน้ำที่เข้ามาได้มากกว่า

เมื่อถามว่า น้ำมากจะมีโอกาสท่วมเช่นเดียวกับ ปี 2554 หรือไม่? นายเสรี กล่าวว่า ปี 2554 เป็นน้ำที่ไหลจากภาคเหนือ เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปีนี้ไม่น่ากังวล เพราะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ยังรับได้อีกปริมาณมาก ประเทศไทยเพิ่งเจอพายุลูกแรกที่ไม่ส่งผลต่อเขื่อน แต่ปี 2554 เจอพายุ 5 ลูก

ขณะนี้สถานการณ์ภาพรวม ไทยกำลังจะเข้าไปอยู่ในโหมดของปรากฏการณืเอลนิโญ นั่นคือต้องเจอกับภัยแล้ง ในเดือนกันยายน ตุลาคม ฝนจะน้อยลง โหมดของอากาศ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น   ปีนี้ฝนจะตกน้อยกว่าปกติ ไม่ต้องกังวลน้ำท่วมใหญ่ และน้ำจะไม่ท่วมภาคใต้

  

related