ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย ในปี 2561” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,250 ตัวอย่าง เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า
-ร้อยละ 61.92 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง
-ร้อยละ 27.12 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจเท่าเดิม
-ร้อยละ 10.96 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น
ด้านนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ประชาชนอยากเห็นจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ พบว่า
-ร้อยละ 57.60 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับรับซื้ออุดหนุนพืชผลทางเกษตร และพัฒนาสินค้าทางการเกษตร
-ร้อยละ 23.12 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
-ร้อยละ 22.00 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการจ้างงาน เพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน และแรงงานนอกระบบ
-ร้อยละ 21.44 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการควบคุมราคาสินค้า การผูกขาดทางการค้า การค้าขายอย่างเสรี
-ร้อยละ 14.00 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับลดอัตราภาษี
-ร้อยละ 10.96 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว และนโยบายเกี่ยวกับการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้น ในสัดส่วนที่เท่ากัน
-ร้อยละ 6.80 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และธุรกิจ Startup
-ร้อยละ 5.76 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมประสิทธิภาพในการเพิ่มการส่งออกของประเทศ -ร้อยละ 4.24 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจความเจริญไปตามหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ร้อยละ 3.28 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การคมนาคม ถนน รถไฟ
-ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นโยบายเกี่ยวกับการลดค่าครองชีพ (เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง) และนโยบายเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนว่า หลังจากมีการเลือกตั้ง ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นหรือไม่
-ร้อยละ 60.16 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เพราะ มีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางในการบริหารและพัฒนาประเทศได้ดีกว่า และต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น
-ร้อยละ 31.60 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะเหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา ต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย และไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็เหมือนเดิม
-ร้อยละ 4.56 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
-ร้อยละ 3.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ