svasdssvasds

“เสรี ศุภราทิตย์” ชี้นี่แค่เริ่มต้น!! ยังต้องเจอ “พายุ” หนักอีกหลายลูกทั้งปีนี้

“เสรี ศุภราทิตย์” ชี้นี่แค่เริ่มต้น!! ยังต้องเจอ “พายุ” หนักอีกหลายลูกทั้งปีนี้

รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ขณะนี้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นตลอด ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลก็สูงขึ้นราว 1-2 องศาเซลเซียส โดยระดับอุณหภูมิที่ 24 - 26 องศาฯ เป็นจุดที่เหมาะกับการก่อตัวของพายุ

โดยพบว่าตั้งแต่กลางปี 2561 เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ถือว่าปี 2562 นี้ไม่ปกติ นี่เป็นแค่เริ่มต้น ยังจะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติไปอีกทั้งกลางปี และปลายปีจะเจอหนักกว่านี้ ก่อนเอลนีโญจะหมดฤทธิ์ลง ไทยก็จะเจอกับปรากฏการณ์ลานีญา โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งนักกับประเด็นการบริหารจัดการน้ำ แต่เวลานี้ ก็ขอให้กำลังใจคนภาคใต้

“ขณะนี้ภัยมาถึงตัวแล้ว เมื่อเกิดโซนร้อนปาบึก สิ่งที่ทำมาทั้งหมดในการบริหารจัดการประชาชน การอพพยพทำได้ดีเลย ดำเนินการตามพ.ร.บ.ป้องกันสาธารณภัยฯ แม้ประชาชนยังสับสนในกับการทำนายตำแหน่งพายุขึ้นฝั่ง เพราะนั่นเป็นการทำนายความเป็นไปได้ ซึ่งพายุอาจเบนทิศไป จ.สุราษฎร์ธานี หรือระโนด สงขลาก็เป็นไปได้ ผมดูโมเดลจำลอง ก็ พบว่าพายุมีการเคลื่อนย้าย ซึ่งขึ้นกับอาหาร ความชื้นและอุณหภูมิ แต่ไม่ต้องกังวลมากจะขึ้นที่ใด อยู่ที่ประชาชนเตรียมพร้อมหรือยัง และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการ เพราะการอพยพเป็นเพียงชั่วคราว อย่ากังวลเรื่องทรัพย์สิน  ผมมีคำกล่าวอยากบอกประชาชนที่กังวลว่า  ควรอพยพดีกว่าไม่มีโอกาสอพยพ ถ้าไม่ไปเกิดคลื่น 3 เมตรในระดับน้ำทะเล หรือเผชิญสตอร์ม เซิร์จ ซึ่งจะเกิดแน่ แค่ยังไม่รู้ว่าที่ไหน ต้องบริหารความปลอดภัยให้ดีและมากที่สุด”

รศ.เสรี เน้นย้ำว่า ตั้งแต่เวลา 16.00 น.ไปถึงค่ำวันที่ 4 ม.ค.นี้ ให้จับตาเป็นพิเศษ ที่ปาบึกจะกระทบชายฝั่งของไทย และอีก 1-2 สัปดาห์จากนี้ ก็พบมีการก่อตัวของพายุ ที่ฟิลิปปินส์จ่อรออีกแล้ว แต่ระยะทางที่ยังไกลตัว ไม่รู้จะเข้าไทยหรือไม่ ล้วนเป็นปรากฎการณ์จากน้ำทะเลที่อุณหภูมิสูงขึ้น ต่างมีความเป็นไปได้จะเข้ามาถึงไทยอีกหรือไม่ ทั้งนี้ เราอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลง จึงต้องปรับตัวให้ทัน ขอยกตัวอย่าง ในปีนี้รู้ว่าเกิดเอลนิโญ กระทบทำให้ไทยร้อนสุดในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ อุณหภูมิราว 40-41 องศาเซลเซียส ช่วงนั้น เกษตรกรทำนาปรัง และจะทำการเก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม หากไม่มีน้ำเพียงพอจะทำอย่างไร ยิ่งถ้าอยู่นอกเขตชลประทาน  เรื่องนี้เคยตั้งเป็นประเด็นและตนให้ข้อมูลกับทางการไว้ตั้งแต่กลางปี 2561 ดังนั้น เมื่อรัฐการจูงใจด้วยราคาข้าว ทำให้ชาวนาปลูกกันเต็มพื้นที่ จะดูแลอย่างไรไม่ทำให้ชาวนาเสียหายได้ ซึ่งการวางแผนจึงต้องรัดกุม จะเลือกจเอาผลผลิต 100%  นั่นหมายถึงพื้นที่ทำนาต้องใช้น้ำมาก การแบ่งปันจะทำอย่างไรบ้าง? เมื่อเอลนีโญมาจะทำให้ฝนล่าช้าออกไปด้วย ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลางภาคอีสานแล้งมาก และยาวนาน จึงเป็นปีที่ไม่ปกติ ซึ่งต้องปรับตัวอย่างมาก

“หลังจากฤดูฝนล่าช้า ช่วงสิงหาคม-กันยายน 2562 ฝนจะมา ภาคใต้ยังต้องเผชิญฝนที่ตกหนัก  น้ำจะมีปริมาณมาก เมื่อเอลนิโญลดระดับ ลานีญามาแทนที่ คาดว่าโอกาสจะประสบกับน้ำท่วมใหญ่ ช่วงปลายปี 2562 -2563 เป็นไปได้ เนื่องจากน้ำมาก ดังนั้นจะเตรียมการรับมืออย่างไร ต้องมีแผนและลงมือจัดการด้วย”  ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสรุปตอนท้าย

“เสรี ศุภราทิตย์” ชี้นี่แค่เริ่มต้น!! ยังต้องเจอ “พายุ” หนักอีกหลายลูกทั้งปีนี้

“เสรี ศุภราทิตย์” ชี้นี่แค่เริ่มต้น!! ยังต้องเจอ “พายุ” หนักอีกหลายลูกทั้งปีนี้

สำหรับผลกระทบจากปรากฎการณ์ เอลนิโญ

1. ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม

2. ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง บางประเทศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนผู้คนล้มตายเนื่องจากอากาศร้อนจัด ในขณะเดียวกันบางประเทศก็มีอุณหภูมิลดลงทำให้ อากาศหนาวจัดหิมะตกหนัก

3. ทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล มีผลให้การเจริญเติบโตและปริมาณของไฟโตแพลงตอนลดลง ปลาซึ่งกินไฟโตแพลงตอนเป็นอาหาร ต้องหาแหล่งอาหารใหม่ สัตว์ที่กินปลาเป็นอาหารจึงขาดอาหารและมีอัตรา การตายเพิ่มขึ้น

“เสรี ศุภราทิตย์” ชี้นี่แค่เริ่มต้น!! ยังต้องเจอ “พายุ” หนักอีกหลายลูกทั้งปีนี้

related