svasdssvasds

เลือกตั้ง 62 : ย้อนประวัติเลือกตั้งไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปมาแล้ว 27 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา โดยครั้งล่าสุดกำลังจะมีขึ้นในวันนี้ 24 มี.ค.2562

การเลือกตั้งของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย, วุฒิสภาไทย, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าเมืองพัทยา และผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเลือกบุคคลที่เห็นสมควร

ครั้งที่ 1     15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม จำนวน ส.ส. 78 คน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 4,278,231 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์     1,773,532 คน     หรือ ร้อยละ 41.45

ครั้งที่ 2     7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน ส.ส. 91 คน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 6,123,239 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 2,462,535 คน หรือ ร้อยละ 40.22

ครั้งที่ 3     12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน ส.ส.91คน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 6,310,172 คน มาใช้สิทธิ์ 2,210,332 คน หรือ ร้อยละ 35.05

ครั้งที่ 4     6 มกราคม พ.ศ. 2489 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน ส.ส.96 คน ผู้มีสิทธิ์ 6,431,827คน มาใช้สิทธิ์ 2,091,827 คน หรือร้อยละ 32.52

ครั้งที่ 5     5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ผู้มีสิทธิ์ 5,819,662 คน มาใช้สิทธิ์ 2,026,823 คน หรือ ร้อยละ 34.92

ครั้งที่ 6     29 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต จำนวน ส.ส. 99 คน ผู้มีสิทธิ์ 7,176,891 คน/มาใช้สิทธิ์ 2,177,464 คน หรือร้อยละ 29.50

ครั้งที่ 7     5 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต จำนวน ส.ส. 21 คน ผู้มีสิทธิ์ 3,518,276 คน มาใช้สิทธิ์ 870,208 คนหรือร้อยละ 24.27

ครั้งที่ 8     26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต จำนวน ส.ส.123 คน ผู้มีสิทธิ์ 7,602,591 คน มาใช้สิทธิ์ 2,961,191 คน หรือร้อยละ 38.95

ครั้งที่ 9     26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งรวมเขต จำนวน ส.ส.160 คนผู้มีสิทธิ์ 9,859,039 คน มาใช้สิทธิ์ 5,668,666 คนหรือ ร้อยละ 57.50

ครั้งที่ 10   15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต จำนวน ส.ส. 160 ผู้มีสิทธิ์ 9,917,417 คน มาใช้สิทธิ์ 4,370,789 คนหรือร้อยละ 44.07

ครั้งที่ 11    10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต จำนวน ส.ส. 219 คน ผู้มีสิทธิ์ 14,820,400 คน มาใช้สิทธิ์ 7,289,837 คน หรือร้อยละ 49.16

ครั้งที่ 12     26 มกราคม พ.ศ. 2518 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส.269 คน ผู้มีสิทธิ์ 20,243,791คน มาใช้สิทธิ์     9,549,924 คน หรือร้อยละ 47.17

ครั้งที่ 13     4 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 279 คน ผู้มีสิทธิ์ 20,623,430 คน มาใช้สิทธิ์     9,072,629 คน หรือ ร้อยละ 43.69

ครั้งที่ 14     22 เมษายน พ.ศ. 2522 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 301 คน ผู้มีสิทธิ์ 21,283,790 คน มาใช้สิทธิ์      9,344,045 คน หรือร้อยละ 43.90

ครั้งที่ 15     18 เมษายน พ.ศ. 2526  เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 324 คน ผู้ใช้สิทธิ์ 24,224,470 คน มาใช้สิทธิ์     12,295,339คน หรือร้อยละ 50.76

ครั้งที่ 16     27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 347 คน ผู้มีสิทธิ์ 26,224,470 คน มาใช้สิทธิ์     16,670,957 คน หรือร้อยละ 61.43

ครั้งที่ 17     24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 357 คน ผู้มีสิทธิ์ 26,658,638 คน มาใช้สิทธิ์     16,944,931 คน หรือร้อยละ 63.56

ครั้งที่ 18     22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 360 คน ผู้มีสิทธิ์ 31,660,156 คน มาใช้สิทธิ์     19,622,322 คน หรือร้อยละ 61.59

ครั้งที่ 19     13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 360 คน ผู้มีสิทธิ์ 31,660,156 คน มาใช้สิทธิ์     19,622,322 คน หรือร้อยละ 61.59

ครั้งที่ 20     2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 391 คน ผู้มีสิทธิ์ 37,817,983 คน มาใช้สิทธิ์ 23,462,748 คน หรือร้อยละ 62.04

ครั้งที่ 21     17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต จำนวน ส.ส. 395 คน ผู้มีสิทธิ์ 38,564,836 คน มาใช้สิทธิ์     24,040,836 คน หรือร้อยละ 62.42

ครั้งที่ 22     6 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ จำนวน ส.ส.500 คน ผู้มีสิทธิ์ 42,759,001 คน มาใช้สิทธิ์     29,904,940 คน หรือร้อยละ 69.94

ครั้งที่ 23     6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ จำนวน ส.ส. 500 คน ผู้มีสิทธิ์ 44,572,101 คน มาใช้สิทธิ์ 32,337,611 คน หรือร้อยละ 72.55

ครั้งที่ 24     2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ แต่ การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เนื่องจากพรรคไทยรักไทยได้ว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กในลงรับสมัครรับเลือกตั้งโดยที่คะแนนเสียงเลือกไม่ถึง 20% ตามคำพิพากษาในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

และ พรรคไทยรักไทยโดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมด 111 คน คนละ 5 ปี

ครั้งที่ 25     23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและสัดส่วน จำนวน ส.ส. 480 คนผู้มีสิทธิ์ 44,002,593 คน มาใช้สิทธิ์     32,775,868 คนหรือ ร้อยละ 74.49

ครั้งที่ 26     3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ จำนวน ส.ส.500 คน ผู้มีสิทธิ์ 46,939,549 คน มาใช้สิทธิ์ 35,220,377 คน หรือร้อยละ 75.03

ครั้งที่ 27     2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ แต่การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลัง ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[7] คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง

และครั้งล่าสุด 24 มีนาคม พ.ศ. 2562เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ จำนวน ส.ส. 500 คน

related