svasdssvasds

กรมอุทยานฯ ชี้ เสือของกลางแห่ตาย 86 ตัว เกิดจากผสมเลือดชิด เครียด และโรคไข้หัดสุนัข

กรมอุทยานฯ ชี้ เสือของกลางแห่ตาย 86 ตัว เกิดจากผสมเลือดชิด เครียด และโรคไข้หัดสุนัข

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากกรณีเสือโคร่งของกลางจากวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรีตาย 86 ตัว ด้วยโรคหัดสุนัข และอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียงที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยึดมาเป็นของกลาง ตั้งแต่ปี 2559 จำนวน 147 ตัว โดยนำมาดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และเขาสน จ.ราชบุรี

วันนี้ (16 ก.ย. 62) นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกว่า สาเหตุมาจากเสือโคร่งมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เกิดจากการผสมพันธุ์กันเอง หรือ ที่เรียกว่าการผสมเลือดชิด อยู่ในภาวะไม่ปกติ ตั้งแต่ช่วงการขนย้าย และส่วนใหญ่มีอาการเครียด จากการขนย้ายและเปลี่ยนสถานที่

ซึ่งต่อมาพบอาการเจ็บป่วย ได้แก่ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียง ทำให้หายใจเข้าออกลำบาก เมื่ออาการหนักขึ้นจะไม่กินอาหาร ก่อนจะชักเกร็ง และตายในที่สุด นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษา ทำได้เพียงการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ และยากระตุ้นภูมิ

ด้านนายสุนทร ฉายวัฒนะ หัวหน้ากลุ่มงานเฉพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ระบุว่า ภายหลังการตรวจอาการของเสือโคร่ง พบระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากลิ้นกล่องเสียงมีอาการบวม ไม่สามารถขยับเปิดปิดระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารได้สนิท ทำให้หายใจลำบากมีเสียงดังและมีอาการหอบ หากมีปัจจัยของอุณภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผลต่ออาการเครียดและตายเฉียบพลัน การรักษาสัตวแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะลดอาการอักเสบ ลดไข้ รักษาอาการภูมิแพ้ บางตัวพบว่ามีอาการหายใจเสียงดังมาก สัตวแพทย์จะดำเนินการผ่าตัด แต่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดอาการของโรคที่แน่ชัด ต่อมาส่งตัวอย่างเสือโคร่งที่ตาย พบว่าให้ผลบวกต่อเชื้อไข้หัดสุนัข ซึ่งการรักษาดังกล่าวไม่มียารักษาเป็นการเฉพาะ สัตวแพทย์ต้องดำเนินการรักษาตามอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากระตุ้นภูมิ

สำหรับมาตรการการดูแลรักษาเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนว่า ต้องคัดแยกเสือโคร่งตามกลุ่มอาการ โดยแบ่งกลุ่มอาการเป็น ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มปกติ ไม่แสดงอาการ // กลุ่มเริ่มแสดงอาการเล็กน้อย และกลุ่มแสดงอาการปานกลางถึงรุนแรง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจติดตามอาการและประเมินการรักษา การใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข การดูแลรักษาเสือโคร่งที่มีอาการป่วย สัตวแพทย์จะดำเนินการให้รักษาและให้ยาตามอาการ

สำหรับเสือโคร่งที่มีอาการหายใจเสียงดังอันเนื่องมาจากอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียงและมีโอกาสตายหากไม่ได้รับการรักษา สัตวแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเป็นรายกรณี โดยอาจเชิญสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมรักษาหรือให้คำแนะนำ การควบคุมให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวอนามัย ภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั้ง 2 แห่ง อย่างเข้มงวด และมีสัตวแพทย์ปฏิบัติงานประจำสถานีเพาะเลี้ยง พร้อม สัตวแพทย์จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจะสนับสนุนและติดตามการดูแลรักษาทุกสัปดาห์ โดยจะมีการประชุมเพื่อประเมินผลการดูแลรักษา

related