svasdssvasds

สมชัย อธิบาย รธน. ถ้าบิ๊กตู่ลาออก ใครมีโอกาสเป็นนายกฯ ?

สมชัย อธิบาย รธน. ถ้าบิ๊กตู่ลาออก ใครมีโอกาสเป็นนายกฯ ?

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. อธิบาย รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ถ้าบิ๊กตู่ลาออก ใครมีโอกาสเป็นนายกฯ ?

สมชัย อธิบาย รธน. ถ้าบิ๊กตู่ลาออก ใครมีโอกาสเป็นนายกฯ ?

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความกรณี ถ้าสมมติว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ใครบ้างจะมีโอกาสเป็นนายกคนต่อไป โดยอ้างอิงจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้   

มีคนถามมาว่า หากลุงลาออก แล้วใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 และบทเฉพาะกาล มาตรา 272  ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560  รัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบด้วยเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา ให้ผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี

โดยมีพรรคต่างๆ  เสนอดังนี้

พรรครัฐบาล

1. พลังประชารัฐ เสนอ พลเอกประยุทธ์  (ลงมติกลับมาใหม่ได้...)

2. พรรคภูมิใจไทย เสนอ นายอนุทิน ชาญวีระกุล

3. พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (แม้ขณะนี้ไม่เป็น ส.ส.ก็สามารถเป็นนายกได้ เพราะอยู่ในบัญชี)

พรรคฝ่ายค้าน

1. พรรคเพื่อไทย เสนอ คุณหญิงสุดารัตน์ นายชัชชาติ และ นายชัยเกษม

2. พรรคอนาคตใหม่ เสนอ นายธนาธร  (ไม่สามารถเป็นได้ เนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง)

3. พรรคเสรีรวมไทย เสนอ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ 

การเสนอชื่อต้องมี สส.เสนอ 25 คน  มีผู้รับรอง 50 คน แล้วไปลงมติกันในที่ประชุม ส.ส.+ส.ว. หากไม่มีผู้ใดที่ได้รับเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา ก็มีทางออก ตามวรรคสองของมาตรา 272 คือ ใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา เสนอให้ยกเว้นการใข้บัญชีรายชื่อที่เสนอนายกรัฐมนตรี และต้องใช้มติ 2 ใน 3 ของรัฐสภา (ประมาณ 500 เสียง) ให้ยกเว้น เพื่อลงมติเลือกคนนอกบัญชีรายชื่อได้

related