svasdssvasds

งบประมาณ ? นโยบายภาครัฐไม่เอื้อ ? จิตสำนึกของคนเมืองควรอยู่ตรงไหน ?

ความหนาแน่นของประชากร รถติด ปริมาณขยะ มลพิษทางอากาศ ฯลฯ สถิติและปัญหาสังคม ที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญ

งบประมาณ ? นโยบายภาครัฐไม่เอื้อ ? จิตสำนึกของคนเมืองควรอยู่ตรงไหน ?

กรุงเทพมหานคร ติดอันดับที่ 98 เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกในสายตาของชาวโลก แต่....คนกรุงเทพ กลับมีคะแนนสุขภาพจิตต่ำที่สุด อยู่ที่ระดับ 30-32 เมื่อเทียบกับคนทั้งประเทศ อาจเป็นเพราะกรุงเทพมีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 81 แถมยังติดอันดับที่ 8 เมืองรถติดที่สุดในโลก

กรุงเทพมหานคร มีรถจดทะเบียนสะสมถึง 10,919,569 คัน แต่กลับมีพื้นที่ถนน ที่สามารถรองรับการขับขี่ได้ โดยประมาณ 1,600,000 คันเท่านั้น และแยกอโศก-สุขุมวิท ติดอันดับ 1 แยกที่มีรถติดสาหัสที่สุด

อุบัติเหตุสะสมในกรุงเทพมหานคร ปี 2563 เสียชีวิตแล้ว 12,476 คน บาทเจ็บ 819,778 คน และในช่วง 7 วันอันตรายที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุทั่วประเทศทั้งหมด 3,421 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 373 ราย และผู้บาดเจ็บ 3,499 คน

กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 13 ของโลก โดยมีจำนวนประชากรประมาณ 11,000,000 คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะ 9,800 ตัน/ต่อวัน โดย 1 คนจะก่อให้เกิดขยะ 0.8-1 กิโลกรัม/ต่อวัน ลองคิดเล่นๆ ว่า ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน ปริมาณขยะจะมากมายขนาดไหน

สถิติ 8 ปีย้อนหลัง ระหว่างเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม กรุงเทพมมีค่า PM 2.5 เกินกว่ามาตรฐาน โดยเดือนมกราคม 2562 ค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานทั้งสิ้น 25 วัน จาก 31 วัน ซึ่งสาเหตุหลักของ PM 2.5 ในกรุงเทพเกิดจากการขนส่งทางบก 72.5% อุตสาหกรรม 17% เผาในที่โล่ง 5% และเขตพญาไทขึ้นแท่นอันดับ 1 มีปริมาณ PM 2.5 มากที่สุดในกรุงเทพฯ

สถิติการร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับฟุตบาท/ทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 ครั้ง/ต่อปี     

และเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนัก จนเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เช่นซอยนวลจันทร์, ซอยลาดพร้าว 112, แยกนราธิวาสรัชดา ทางด่วนมุ่งหน้าไปพระรามสี่, แยกอโศก, ถนนศรีนครินทร์ แยกกรุงเทพกรีฑา, รามคำแหง, ถนนเทพารักษ์

ตัวเลขทางสถิติเหล่านี้ สะท้อนอะไร ? แล้วอะไรคือทางออกของปัญหา !

ตัวเลขเหล่านี้ จะถูกแก้ไขได้ด้วยตัวเลขของงบประมาณจริงหรือ ?

หรือระบบการบริหาร การบริการของภาครัฐไม่เอื้อ ?

นโยบายของภาครัฐจะใช่คำตอบหรือไม่ ? จิตสำนึกของคนเมืองควรอยู่ตรงไหน ?

ข้างต้นนี้เป็นเพียงเสียงสะท้อนของปัญหาสังคม ซึ่งคาดหวังเพื่อถามหาแนวโน้มในทิศทางการนำไปสู่การแก้ปัญหา และเชื่อเหลือเกินว่า บางปัญหาอาจยังไม่ได้คำตอบจากการตั้งคำถาม เพราะบางทีคำตอบอยู่ที่จิตสำนึกและพฤติกรรมของเราเอง

ติดตามรับชมรายการ “อยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.30 น. ทาง Nation TV ช่อง 22

related