svasdssvasds

จุดเสี่ยงสัมผัสร่วมในที่สาธารณะ ที่ประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

จุดเสี่ยงสัมผัสร่วมในที่สาธารณะ ที่ประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

จุดเสี่ยงที่สัมผัสร่วมในที่สาธารณะ หากสัมผัสแล้วควรรีบล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเร็ว และเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงในแพร่และรับเชื้อโควิด 19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยจุดเสี่ยงที่สัมผัสร่วมในที่สาธารณะ พร้อมแนะผู้ที่ออกไปทำงานนอกบ้านต้องเข้มมาตรการ D-M-H-T-T เป็นการป้องกันโรคและลดโอกาสการนำเชื้อเข้ามาติดต่อสู่คนในครอบครัว 

ขณะนี้อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกใหม่ เพื่อเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสจุดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ในที่สาธารณะ และลดการเดินทางไปยังสถานที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวกหรือมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หากจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานหรือออกนอกบ้านไปทำธุระส่วนตัว ควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเข้มข้น

     

สำหรับจุดเสี่ยงที่มีโอกาสจะสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ ในที่สาธารณะ ที่ประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษ มีดังนี้

- ราวบันได 

- ห้องน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน 

- ลูกบิดหรือที่จับประตู 

-โทรศัพท์ที่ใช้ร่วมกันในองค์กร 

- ไมโครโฟน 

- ราวจับรถสาธารณะ 

- เหรียญหรือธนบัตร 

- ตู้ ATM 

-โต๊ะทำงาน 

- รถเข็นหรือตะกร้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต 

- ปุ่มกดลิฟต์ 

- ที่เปิดประตูรถสาธารณะ 

หากมีการสัมผัสจุดเสี่ยงหรือใช้ของร่วมกับผู้อื่น ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเร็วและเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่และรับเชื้อดังกล่าว

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานนอกบ้าน หรือยังต้องออกนอกบ้านไปทำธุระส่วนตัว ควรยึดหลัก D-M-H-T-T ได้แก่ 

D:Social Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด

M:Mask Wearing สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

H:Hand Washing ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรืเจลแอลกอฮอล์

T:Testing การตรวจวัดอุณหภูมิและตรวจหาเชื้อโควิด 19 (เฉพาะกรณี)

T:Thai Cha Na สแกนไทยชนะก่อนเข้า-ออกสถานที่สาธารณะทุกครั้ง เพื่อให้มีข้อมูลในการประสานงานได้ง่ายขึ้น 

หากกลับถึงบ้านแล้วต้องทำความสะอาดร่างกายทันที เพื่อลดโอกาสการนำเชื้อเข้ามาติดต่อสู่คนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้อยู่ร่วมบ้านกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะถ้ากลุ่มดังกล่าวได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น รวมถึงขอให้ประชาชนโหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อใช้ในการติดตามไทม์ไลน์ ช่วยให้การสอบสวนควบคุมโรคและติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ขอบคุณข้อมูลจาก :  ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค