svasdssvasds

ปลดล็อกแล้ว ‘กัญชา-กัญชง’ ใช้ผลิตอาหารได้ไม่ผิด

ปลดล็อกแล้ว ‘กัญชา-กัญชง’ ใช้ผลิตอาหารได้ไม่ผิด

กัญชา-กัญชง ปลดล็อกแล้ว! สามารถนำมาทำอาหารได้ไม่ผิด แต่มีข้อยกเว้นของส่วนประกอบที่จะนำมาใช้

วันที่ 25 ก.พ.2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย 

โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ ระบุว่า ด้วยปรากฏหลักฐายและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมว่า สารประกอบหรือกลุ่มสารประกอบในพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์บางชนิด ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค และไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบริโภคอาหาร จึงห้ามใช้พืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ดังกล่าวในอาหาร 

 

ทั้งนี้เป็นการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 378 พ.ศ.2559 เรื่องกำหนดพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ที่ห้ามใช้ในอาการ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559

ข้อ 2 ให้พืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ปลดล็อกแล้ว ‘กัญชา-กัญชง’ ใช้ผลิตอาหารได้ไม่ผิด

ซึ่งหนึ่งในพืชหรือส่วนประกอบของพืชที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจและสงสัยว่าสามารถนำมาทำอาหารได้จริงหรือไม่? คือ "กัญชา" (Cannabis) นั้น สามารถนำไปประกอบอาหารเพื่อรับประทานได้ โดยสามารถใช้ได้ทั้งต้น แต่มีเงื่อนไขและข้อยกเว้นดังนี้

1.เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น

2.มีคุณภาพ หรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง 

-เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
-ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
-สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
-กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชา และต้องมีสารไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง

ปลดล็อกแล้ว ‘กัญชา-กัญชง’ ใช้ผลิตอาหารได้ไม่ผิด

ขณะเดียวกันในส่วนของ "กัญชง" หรือที่มีชื่อเรียกว่า "เฮมพ์" (Hemp) สามารถนำมาประกอบการอาหารได้เช่นกัน โดยมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขดังนี้

1.เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น

2.มีคุณภาพ หรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

-เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
-ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
-สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง
-เมล็ดกัญชง (Hemp seed) น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed extract)
-กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชง และต้องมีสารไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนักแห้ง

ปลดล็อกแล้ว ‘กัญชา-กัญชง’ ใช้ผลิตอาหารได้ไม่ผิด

related