svasdssvasds

ข่าวดี! ไทยได้สิทธิผลิต"ฟาวิพิราเวียร์" - ไฟเขียวคุ้มครองฉีดวัคซีนโควิด

ข่าวดี! ไทยได้สิทธิผลิต"ฟาวิพิราเวียร์" - ไฟเขียวคุ้มครองฉีดวัคซีนโควิด

เพจไทยคู่ฟ้า เผยข่าวดี! ไทยได้สิทธิผลิตยา ฟาวิพิราเวียร์ เพื่อใช้ในผู้ป่วยโควิดแล้ว แจง ที่ผ่านมาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะติดปัญหาเรื่องสิทธิในการผลิต ด้าน สปสช. พร้อมช่วยเหลือดูแลคนไทยจากอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า เผยแพร่ข้อมูล ไทยได้สิทธิผลิตยาฟาวิพิราเวียร์แล้ว โดยมีเนื้อหาระบุว่า

"อันที่จริงประเทศไทยมีเทคโนโลยีและความสามารถในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แต่ที่ผ่านมาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะติดปัญหาเรื่องสิทธิในการผลิต

ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญามีคำสั่งปฏิเสธคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยาฟาวิพิราเวียร์ ด้วยเหตุผลที่ว่าคำยื่นขอสิทธิบัตรของบริษัทที่ยื่นขอเข้ามานั้น "ไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น"

ทำให้ปัจจุบันไม่มีผู้ใดมีสิทธิผูกขาดในยาชนิดนี้ ทั้งในโครงสร้างสารออกฤทธิ์หลัก ซึ่งไม่เคยมีการขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย และรูปแบบยาเม็ด

 ดังนั้น หากองค์การเภสัชกรรมหรือบริษัทยาสามัญไทยรายอื่นต้องการจะผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อใช้ในประเทศก็สามารถทำได้

 ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ประสานสั่งซื้อวัตถุดิบสำหรับผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ไว้แล้ว 5 แหล่ง จากประเทศจีน 1 แหล่ง อินเดีย 4 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีมาตรฐานและผู้ผลิตยาทั่วโลกใช้วัตถุดิบจากแหล่งต่าง ๆเหล่านี้

ทั้งนี้ เพจไทยคู่ฟ้า ยังเผยอีกว่า บอร์ด สปสช. พร้อมช่วยเหลือดูแลคนไทยทุกสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคม บัตรทอง สิทธิข้าราชการ และบุคลากรสาธารณสุข ที่เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 

 ประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และมีอาการไม่พึงประสงค์ แม้จะพบในสัดส่วนที่น้อย รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกกรณี

โดยจะเริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่วัคซีนเข็มแรกที่ฉีดให้คนไทยเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา ดำเนินการช่วยเหลือตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

 ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นเรื่องได้ที่โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเขต สปสช. ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาอัตราช่วยเหลือเยียวยาภายใน 5 วัน ในเบื้องต้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

- ตาย/ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท

- เสียอวัยวะ/พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท

- บาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 1 แสน

related