svasdssvasds

ไม่เอากำไร! องค์การเภสัชฯ จับมือ สมาคม รพ.เอกชน นำเข้า วัคซีนทางเลือก

ไม่เอากำไร! องค์การเภสัชฯ จับมือ สมาคม รพ.เอกชน นำเข้า วัคซีนทางเลือก

ในช่วงโควิด-19 ระบาดนี้ หลายคนคงได้ยินคำว่า วัคซีนทางเลือก มาบ้าง คงอยากรู้ว่าคืออะไร มีรายละเอียดยังไง ซึ่งองค์การเภสัชฯ ร่วมสมาคม รพ.เอกชน นำเข้าวัคซีนทางเลือก โดยให้ อภ. เป็นตัวแทนนำเข้า เพราะเป็นกติกาทั่วโลกการใช้ภาวะฉุกเฉิน โดยราคาวัคซีนเป็นราคาที่ไม่เอากำไร

และภาคเอกชนยังทำประกันกรณีอาการไม่พึงประสงค์ มอบให้รพ.แต่ละแห่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาผลจากวัคซีน เบื้องต้นอาการปานกลางครอบคลุม 1 แสน หากเสียชีวิต 1 ล้าน

วัคซีนทางเลือก

ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในการใช้วัคซีนโควิดภาวะฉุกเฉินทั่วโลก บริษัทผู้ผลิตจะติดต่อกับภาครัฐเท่านั้น เนื่องจากจะมีเรื่องความเสี่ยงที่รัฐบาลต้องรับ รวมทั้งเรื่องไม่ให้เกิดการเกร็งกำไรมากขึ้น จึงต้องอยู่ภายใต้รัฐ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและโปร่งใสระหว่างการดำเนินงานในการนำวัคซีนเข้ามาและจำหน่ายกับทางภาคเอกชน

กรณีการนำวัคซีนเข้ามาสำหรับภาคเอกชน โดยองค์การเภสัชกรรม

- เริ่มจาก บริษัทผู้ผลิตวัคซีนจะกำหนดให้คู่สัญญาต้องเป็นภาครัฐเท่านั้น และจะมีเอกสารและข้อตกลงทางกฎหมาย 4 ฉบับ เริ่มจากหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อนจัดหาวัคซีน

-จากนั้นบริษัทและทางองค์การฯ จะเซ็นเอกสารรักษาความลับ

- จากนั้นก็จะมีเอกสารข้อเสนอการจัดหา

- หลังจากนั้นก็จะมีการปล่อยเอกสารเพื่อให้ตัวแทนนำไปขึ้นทะเบียนได้ โดยจะต้องยื่นขอทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

- เมื่อได้ทะเบียนก็จะเป็นการตกลงว่า จำนวนเท่าไหร่ ส่งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ จะมีเอกสารและข้อตกลงทางกฎหมาย 1 ฉบับ ระหว่างองค์การฯ และรพ.เอกชน ซึ่งกรณีนี้ ทางรพ.เอกชนจะทำประกันกรณีหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ นี่คือกระบวนการทำงานไม่ว่าประเทศใดก็ต้องดำเนินการตามนี้

วัคซีนทางเลือก สำหรับทางภาคเอกชนบริบทการเข้าวัคซีน ซึ่งอยู่ในเฟส 3 กติกาจึงต้องผ่านทางรัฐบาล ซึ่งเป็นกติการทั่วโลก อย่างไรก็ตามภาคเอกชนมีการช่วยฉีดวัคซีนโควิดด้วยการฉีดทุกที่ โดยฉีดให้บุคคลทั่วไปไม่ใช่แค่ฐานลูกค้าเท่านั้น เราต้องการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ 2.การฉีดวัคซีนในสมาชิกและนอกสมาชิกของเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนกรณีวัคซีนที่ต้องจ่ายเงินเองนั้น ทางสมาคมฯ ได้สำรวจความต้องการฉีดวัคซีน ซึ่งอาจมีหลายตัวในอนาคต เนื่องจากขณะนี้วัคซีนอยู่ในเฟส 3 อย่างไรก็ตาม เมื่อสำรวจแล้วว่า ใครต้องการเท่าไหร่ ก็จะทำหนังสือคู่กับองค์การเภสัชกรรมเพื่อจัดหาวัคซีน แต่ต้องเรียนว่า สำหรับรพ.เอกชนอยากให้มีวัคซีนก่อน จึงจะเปิดทำการจอง ส่วนราคาฉีดทั่วประเทศ วัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการช่วยให้คนได้ฉีดวัคซีนมากที่สุด ซึ่งราคาจะเท่ากันหมด ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าว

เมื่อถามถึงความต้องการวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชน ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์  ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขณะนี้ให้เอกชนสำรวจภายในของตนเอง เพราะทุกคนมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนวัคซีนที่ต้องจ่ายเงินเอง เราไม่เน้นกำไร จะมีการคิดค่าบริการจากต้นทุนวัคซีน ค่าบริการ ค่าสังเกตอาการหลังการฉีด และค่าประกัน ซึ่งตัวแปรสำคัญ คือ ต้นทุนวัคซีนที่จะนำเข้ามาแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน โดยขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะเป็นตัวไหน จึงยังไม่สามารถระบุราคาแพคเกจได้ แต่ในส่วนของค่าประกันเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนนั้นได้มีการหารือกับคปภ.แล้วเบื้องต้น โดยได้ออกแบบให้มีผลตั้งแต่เข็มที่ 1 และครอบคลุม 90 วัน ซึ่งราคาทำประกันจะอยู่ในกรอบ 50-100 บาท โดยจะไม่ให้เกิน 100 บาท”

"การบริการวัคซีนทางเลือกในส่วนของรพ.เอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมรพ.เอกชนที่มีเกือบ 400 แห่งทั่วประเทศจะเป็นแพคเกจที่มีราคาเดียวกันทั่วประเทศ เพราะการให้บริการตรงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงวัคซีนมากขึ้น เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว ไม่ได้หวังกำไร แต่ยังไม่สามารถระบุราคาแพคเกจได้ เพราะยังไม่ทราบราคาต้นทุนวัคซีนดังที่กล่าว"

คาดว่าโรงพยาบาลเอกชนจะสามารถให้บริการวัคซีนทางเลือกได้เร็วๆ นี้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ วัคซีนที่จะนำเข้ามาต้องขึ้นทะเบียนกับ อย. ไทยก่อน โดยขณะนี้ที่ผ่านขึ้นทะเบียนแล้ว คือ ซิโนแวค แอสตราเซนเนกา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และโมเดอร์นาที่อยู่ระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตาม วัคซีนโควิด 19 ที่มีการใช้อยู่ขณะนี้มี 4 แพลตฟอร์ม คือ ชนิดเชื้อตาย ไวรัลแวกเตอร์ ซึ่ง 2 แพลตฟอร์มนี้ใช้โดยรัฐแล้ว ชนิดmRNA อย่างไฟเซอร์ก็น่าจะเป็นจัดหาโดยรัฐ และชนิดโปรตีนเบส เช่น โนวาแวกซ์ หรืออื่นๆ ซึ่งหากชนิดไหนที่ไม่ได้ใช้ในภาครัฐ ก็จะเป็นวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนจ่ายเงินเอง แต่จะนำเข้ามาได้เมื่อไหร่ต้องให้บริษัทผู้ผลิตเป็นคนตอบ เพราะขณะนี้ทุกบริษัทตอบระยะเวลาได้เพียงจะให้เร็วที่สุดเท่านั้น

ไม่เอากำไร! องค์การเภสัชฯ จับมือ สมาคม รพ.เอกชน นำเข้า วัคซีนทางเลือก

ในกรณีการพิจารณาผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิดทางเลือก จะดำเนินการอย่างไร “ต้องขึ้นกับคณะแพทย์ของทางโรงพยาบาลว่า เกิดจากผลแทรกซ้อนของวัคซีนหรือไม่ เช่น หากเป็นอาการปานกลางครอบคลุม 1 แสนบาท แต่กรณีเสียชีวิตจะครอบคลุม 1 ล้านบาท ประเด็นอยู่ที่ว่า ต้องมีคณะกรรมการแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาลเป็นผู้ลงความคิดเห็น”

“หากมีวัคซีนททางเลือก หรือต้องจ่ายเงินเอง หากเราได้ของ ผมเชื่อว่าการกระจายการกักเก็บ จะกระจายทั่วประเทศในราคาเดียวกัน โดยไม่หวังผลทางธุรกิจ แต่เรื่องไทม์ไลน์เรายังกำหนดไม่ได้ เพราะยังไม่ทราบว่ามาถึงเมื่อไหร่ แต่ถ้ามาถึงแล้ว เราจะกระจายไปใน รพ.สมาชิกทั่วประเทศ 400 แห่ง และจะเริ่มต้นฉีดพร้อมกัน ” ศ.ดร.นพ.เฉลิม กล่าว

ทั้งนี้องค์การเภสัชกรรม อยากให้เกิดความมั่นใจว่าได้ทำหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้ประชาชน โดยไม่เน้นผลกำไร ซึ่งเรามาอำนวยความสะดวก อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญการที่องค์การฯ มาช่วย เพราะบริษัทผู้ผลิตมีข้อกำหนดว่า จะซื้อขายกับภาครัฐเท่านั้น เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินจึงเป็นที่มาที่องค์การฯ จะเป็นตัวแทนในการกระจายให้กับภาคเอกชน

"การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้กับ รพ.เอกชนนี้จะไม่เป็นวัคซีนตัวเดียวกับภาครัฐ เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ใน 3 ตัว โดยขณะนี้มีวัคซีนโมเดอร์นาที่ยื่นขึ้นทะเบียนกับอย.ไทยแล้วอยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนว่าจะนำเข้ามาได้เร็วแค่ไหน ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยหารือในรายละเอียด ส่วนตัวอื่น คือ ซิโนฟาร์ม แต่ยังไม่มีการยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย.ไทยแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทยังไม่ได้ตัวแทนผู้ทรงสิทธิ์ที่แท้จริงที่จะได้รับข้อมูลรายละเอียดจากบริษัทผู้ผลิตให้มายื่นขึ้นทะเบียน และบริษัท บารัต ที่ยื่นขึ้นทะเบียนแล้วอยู่ระหว่างการพิจารณา" นพ.วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว

 

Cr. www.hfocus.org