svasdssvasds

โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา น้องใหม่มาแรง! จากเปรู องค์การอนามัยโลกจับตา

โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา น้องใหม่มาแรง! จากเปรู องค์การอนามัยโลกจับตา

องค์การอนามัยโลกเพิ่มชื่อ โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือชื่อทางการ คือ C.37 ลงในรายชื่อสายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (VOI)แล้ว หลังแพร่ระบาดใน 29 ประเทศทั่วโลก และกระจายมากในทวีปอเมริกาใต้ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็แนะว่าอย่าเพิ่งกังวลกับเชื้อตัวนี้มากเกินไป...

โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาคืออะไร ?
    โควิดวันนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เพิ่งประกาศการตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19  ชนิดกลายพันธุ์ โดยมีการลงรายละเอียด 2 ชนิด คือ 1. พบโควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่พบครั้งแรกในอินเดียได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ แล้วกว่า 80 ประเทศ  กลายพันธุ์ไปเป็นโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส  และ 2. อีกประเด็นคือ มีการพบ โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรู และโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา กำลังได้รับความสนใจจาก WHO

ในข้อมูลเบื้องต้น พบว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือ ชื่อทางการ C.37 ซึ่งพบที่แรกคือประเทศเปรู จัดเป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการระบาดมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในทวีปอเมริกาใต้

mask

กระจายใน 29 ประเทศ

ทั้งนี้ โควิดเปรู ตรวจพบผู้ป่วยโรค โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา สูงถึง 81%  นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา  และมี สายพันธุ์แกมา (บราซิล) 11.7% และสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) 1.9% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด  แต่ยังไม่พบสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) และเดลตา (อินเดีย) ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) ที่เชื่อกันว่ามีความน่ากลัวสูง

ขณะประเทศชิลี บ้านใกล้เรือนเคียง ตรวจพบโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา ร้อยละ 32 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา  เป็นรองเพียงสายพันธุ์แกมมา (Gamma) ที่พบครั้งแรกในบราซิลเท่านั้น

ส่วน ประเทศอื่นๆ อาทิ อาร์เจนตินา และเอกวาดอร์ รายงานความชุกที่เพิ่มขึ้นของโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาเช่นกัน โดยในอาร์เจนติน่า พบผู้ป่วยใหม่ติดเชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดาถึง 30 %

โดย โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา มีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถแพร่เชื้อ หรือทำให้เชื้อไวรัสโควิดต่อต้านแอนติบอดีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลจะคล้ายๆกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส โดยปัจจุบัน มีข้อมูลเปิดเผยว่า มีการกระจายตัวของเชื้อ  โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 29 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในโซนลาตินอเมริกา

peru

การแบ่งโควิดตามประเภทต่างๆ

ปัจจุบัน เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปเป็นจำนวนมาก แต่ สายพันธุ์หลัก มีการแบ่งประเภท เป็น  โควิดสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC)  และ โควิดสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)
    โดย โควิดสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์ ดังนี้
    สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
        สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
        สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
        สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2  พบที่แรกคือประเทศอินเดีย

    โควิดสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)
    สายพันธุ์เอปซิลอน (Epsilon) ชื่อทางการ B.1.427/B.1.429 พบที่แรกคือรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ
        สายพันธุ์ซีต้า (Zeta) ชื่อทางการ P.2 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
        สายพันธุ์อีต้า (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
        สายพันธุ์เธตา (Theta) ชื่อทางการ P.3 พบที่แรกคือประเทศฟิลิปปินส์
        สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
        สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
        สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู

    การที่ องค์การอนามัยโลก ประกาศว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา เป็นโควิดสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ หรือ Variant of Interest นั้น เป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังสังเกตพฤติกรรมการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ เพื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องยกระดับความอันตรายเป็นสายพันธุ์ที่ต้องกังวลหรือไม่ ต่อไป ?

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก  WHO มีการติดตามเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่า 50 สายพันธุ์ แต่ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์จะเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยระดับโลก จนต้องเพิ่มในรายชื่อเฝ้าระวัง

ดังนั้นถึงแม้ว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ก็อย่ากลัวจนเกินไป...ขอเพียงป้องกันตัว ยกการ์ดสูง และรีบฉีดวัคซีนโควิด-19  โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาก็คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากจนเกินไป...

related