svasdssvasds

กรมการแพทย์ เตรียมวิจัยยา ไอเวอร์เม็คติน รักษาผู้ป่วยโควิด19

กรมการแพทย์ เตรียมวิจัยยา ไอเวอร์เม็คติน รักษาผู้ป่วยโควิด19

อธิบดีกรมการแพทย์ เผย แนวทางการรักษาคนไข้โควิด-19 ด้วยยาไอเวอร์เม็คติน ซึ่งเป็นยารักษาโรคพยาธิ  โดยไทยเตรียมศึกษาวิจัย ให้อาสาสมัครผู้ป่วยโควิด-19 นำร่องที่ศิริราชฯ  คาดใช้ระยะรู้ผลชัดเจน 3 เดือน

30 มิ.ย.64 นพ. สมศักดิ์   อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยถึง กรณีการนำยา ivermectin  มารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ว่า ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาลัยแพทย์ต่างๆ กรมการแพทย์ สมาคมโรคติดเชื้อ และสมาคมอุรเวชช์ฯ รวมให้แนวทางการรักษา covid-19 โดยใช้ยา ivermatin ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและยาสหรัฐ  ซึ่งได้มีการทดลองในหลอดทดลอง พบว่า ยาดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากงานวิจัยบางฉบับพบว่า ยังมีข้อขัดแย้งในตัวยาอยู่ 

แต่ทั้งนี้ รายงานทางการแพทย์ที่มีการศึกษาในเบื้องต้น  ยา ดังกล่าว อาจจะลดการตายของผู้ป่วยโควิดได้ เลยนำมาใส่ไว้ในแนวทางการรักษาโควิดของไทย    โดยเพิ่มตรงหมายเหตุในแนวทาง  ว่า ยา ivermectin  การสั่งใช้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์  เนื่องจาก ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลการรักษา ข้อมูลการศึกษาในหลอดทดลอง เบื้องต้น  invermectin เสริมฤทธิ์กับยาฟาวิพิราเวียร์ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยทางคลินิก ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยหลักฐานชัดเจน ดังนั้นแพทย์ ควรติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการรักษาทันที ซึ่งในประเทศอินเดียได้มีการใช้ยา invermectin ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งจากการศึกษาของประเทศอินเดีย พบว่า มีการใช้ยาในบุคลากรทางการแพทย์ และสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจน  รวมถึงในส่วนของผู้ป่วยหนักที่มีการใช้ยาดังกล่าวก็ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกัน  

ล่าสุด ทางรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกการใช้ยาชนิดนี้แล้ว   ขณะที่ทางประเทศแถบแอฟริกาใต้และอเมริกาใต้ ได้มีการใช้ยา invermectin เนื่องจาก ยาฟาพิราเวียร์หาได้ยาก  โดยพบว่า บางประเทศใช้แล้วได้ผลดีกับผู้ป่วย แต่บางประเทศ อาการผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้ Ivermectin เป็นยาที่ใช้รักษาโรคพยาธิหลายชนิด ในมนุษย์ รวมถึงเหา หิด โรคตาบอดแม่น้ำ โรคสตรองดิลอยด์ ไทรชูอาซิส โรคแอสคาริซิส และโรคเท้าช้าง  ส่วนในสัตวแพทยศาสตร์ ใช้เพื่อป้องกันและรักษาพยาธิหนอนหัวใจและอะคาริซิส สามารถรับประทานทางปากหรือทาลงบนผิวหนังเพื่อการติดเชื้อจากภายนอก 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายแพทย์ สมศักดิ์ อธิบาย อีกว่า  ยา invermectin ปกติจะใช้ในคนไข้ ให้กิน 2 เม็ด 2 วัน รักษาพยาธิ แต่ในคนไข้โควิด อาจใช้นานกว่านั้น  ซึ่งผลข้างเคียงคือ ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเรื่องตับ สำหรับประเทศไทย ตอนนี้ได้มีการทบทวนผลการศึกษาจากหลายๆแห่ง และได้มีการวางแผนการศึกษาวิจัย ทดลองในมนุษย์  โดยจะนำร่องที่ศิริราชพยาบาลก่อน คาดว่าจะต้องใช้อาสาสมัครในผู้ป่วยโควิดหลักพัน ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งการศึกษาจะมีการเปรียบเทียบ ระหว่างยาฟาวิพิราเวียร์ กับยารักษาอื่นๆ ร่วมกับยา invermectin เพื่อดูประสิทธิภาพในการรักษา ส่วนจะนำไปศึกษาทดลองในผู้ป่วยโควิดอาการระดับไหน อาจจะต้องรอความชัดเจนก่อน โดยการใช้ยา invermectin ในไทยอธิบดีกรมการแพทย์  ระบุว่า  อาจจะมีแพทย์บางคนนำไปใช้กับผู้ป่วยโควิด แต่ยาชนิดดังกล่าว ไม่ได้เป็นยาหลักในการรักษา  โดยไทยอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย  ซึ่งตนก็ไม่ได้ แนะนำให้ใช้หรือไม่ให้ใช้ แต่ให้ใช้ตามคำแนะนำหลักการและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ 
 

ส่วนความคืบหน้าการรักษาผู้ป่วย Home Isolation  มีประชาชนสนใรโทรมาผ่านทางสายด่วน 1668 ทั้งหมด 30 ราย โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์  ในจำนวน 30 รายจะต้องมีการคุยกับคนไข้ก่อนให้มีกลุ่มอาการสีเขียว แบบไม่มีอาการ และมีสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมที่จะกักตัวเองที่บ้าน ส่วน  Community isolation  จะมีการนำร่องในพื้นที่ชุมชนที่มีการระบาดมาก อาจจะใช่พื้นที่ โรงเรียน วัด ขณะที่ สปสช.ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม ในการจัดซื้อชุดพร้อม PPE ให้ผู้ดูแลเข้าไปดูแลผู้ป่วยในชุมชน ขณะที่สถานเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤติ
 

related