svasdssvasds

10 เรื่องสุดว้าว พิธีเปิดโอลิมปิก 2020 ที่จะกลายเป็นตำนาน

10 เรื่องสุดว้าว พิธีเปิดโอลิมปิก 2020 ที่จะกลายเป็นตำนาน

พิธีเปิดโอลิมปิก 2020 เป็นไปด้วยความประทับใจ และมีฉากสำคัญ มีเหตุการณ์มากมายที่ถูกกล่าวขานไปทั่วโลก และนี่คือ 10 เรื่องสุดว้าว เกร็ดข้อมูล ที่น่าสนใจของพิธีเปิดโอลิมปิก 2020 ซึ่งเจ้าภาพสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมเหลือเกิน

1. เพลงเดินพาเหรดจากเกม
ช่วงระหว่างการเดินพาเหรดของนักกีฬาแต่ละชาติ  ในพิธีเปิดโอลิมปิก 2020  นอกจากป้ายชื่อประเทศ จะมาในรูปแบบของการ์ตูนมังงะ และเรียงลำดับประเทศตามตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นแล้ว เจ้าภาพโอลิมปิก2020 ยังเลือกใช้เพลง Soundtrack  จากวีดีโอเกมในอดีต  ร่วมบรรเลงสร้างบรรยากาศในช่วงเกือบ 1 ชั่วโมง  ในระหว่างการแข่งขัน  ผ่านการประพันธ์โดยนักแต่งเพลงวีดีโอเกม ทั่วทั้งญี่ปุ่น จากค่ายเกมดัง ไม่ว่าจะเป็น SEGA, Capcom และ Square Enix. และในประเทศญี่ปุ่น บทเพลงจากวีดีโอเกม มีอยู่หลายเกมที่ขึ้นมาอยู่บนชาร์ตเพลงฮิตประจำสัปดาห์ของญี่ปุ่นด้วย อาทิ จากเกม Dragon Quest และ Final Fantasy , Sonic The Hedgehog  
.
2. เพลง Imagine เหนือกาลเวลา
บทเพลงอมตะอย่างเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน อดีตวง The Beatles ถูกนำมาใช้ในการแสดงพิธีเปิดโอลิมปิก 2020 บทเพลงนี้พูดถึงสันติภาพ พูดถึงความรัก พูดถึงความเป็นมนุษย์ที่ไร้เส้นเขตแดน และที่สำคัญ การเลือกใช้เพลง  Imagine นอกจากจะเป็นเพลงความหมายดีแล้ว ภรรยาของจอห์น เลนนอน คือ โยโกะ โอโนะ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นอีกด้วย

song
.
3. ไอคอนแห่งการเดินพาเหรด
ในโลกออนไลน์ในต่างประเทศ ต่างหยิบยกให้ ชุดเดินขบวนของประเทศ ตองกา เป็นอีกหนึ่งสีสันที่น่าพูดถึง เพราะ  หนุ่มคนนี้ก็คือ ปิตา เทาฟาโตฟัว นักกีฬาเทควันโด อายุ 37 ปี ลูกครึ่งตองกา-ออสเตรเลียน ต้องเปลือยหน้าอก เป็นครั้งที่ 3 ในมหกรรมกีฬาระดับโลก โดยเขาเริ่มเปลือยอกขยี้ใจสาวๆ ตั้งแต่โอลิมปิก 2016 ที่ริโอ , จากนั้น ในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่พย็องชัง ซึ่งหนาวเหน็บ แต่หนุ่มปิตา ก็เปลือยอกเช่นเดิม และล่าสุดในโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว...งานนี้ เราไม่พลาด เอา IG ของหนุ่มตองกาที่โด่งดังที่สุดในโลก ณ เวลานี้ มาฝากกันด้วย ติดตามได้ที่ IG : PITA_TOFUA

tonga
ปิตา เทาฟาโตฟัว นักกีฬาเทควันโด อายุ 37 ปี ลูกครึ่งตองกา-ออสเตรเลียน


4. แฟชั่นที่กินขาด
ชุดการเดินเข้าสู่สนามกีฬาของแต่ละชาติ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน โดยอิตาลี เป็นประเทศที่ถูกจับตามากที่สุด เพราะเป็นประเทศแห่งความคิดสร้างสรรค์และไอเดีย และครั้งนี้ อิตาลี ได้ออกแบบชุดอิตาลี ผสมกับ "พิซซ่า" ได้ว้าวมากๆ
. italy

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

5. ห่วงโอลิมปิกจากไม้ที่ถูกเมื่อ 57 ปีที่แล้ว
พิธีเปิดโอลิมปิก 2020  เนรมิตห่วงทองทำจากต้นไม้ ที่นักกีฬาร่วมกันปลูกเมื่อโอลิมปิก 1964  หรือเมื่อ 57 ปีที่แล้ว  โดย นักกีฬาจากนานาชาติได้นำเมล็ดพันธุ์ เพื่อร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำสำหรับการแข่งขันในครั้งนั้น 

จากนั้น ในอีก 57 ปีถัดมา โอลิมปิก 2020 ได้มีการนำเอาไม้จากต้นสนจำนวน 160 ต้น ที่นักกีฬาเหล่านั้นได้ปลูกมาใช้ในพิธีเปิด ที่เชื่อมโยงกับวันเวลานี้เมื่อครั้งอดีต
.
สำหรับไม้ มีที่มาจากเมล็ดต้นสนจากทวีปยุโรป แคนาดา และไอร์แลนด์ โดยเริ่มจากการหว่านเมล็ด ก่อนจะผลิดอกออกผลในเวลาต่อมา    ห่วงโอลิมปิก2020 นี้ สร้างขึ้นในสไตล์งานไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นซึ่งเป็นเทคนิคการประดับไม้ที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะของญี่ปุ่น และใช้ลายไม้ สี และพื้นผิวต่างๆ ของไม้ในการออกแบบ  จนออกมาเป็นความงดงาม

olympic2020

6. โดรนแห่งความประทับ
พิธีเปิดโอลิมปิก 2020 นั้นมีหนึ่งฉากที่ได้รับการยกย่องให้เป็นซีนที่น่าประทับใจคือการใช้ "โดรน" หรือ  “อากาศยานไร้คนขับ” 1,824 ลำ บินขึ้นไปบนท้องฟ้าและบังคับให้เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันโอลิมปิกได้อย่างสวยงาม
และยัง เปลี่ยนรูปกลายเป็นรูปโลก ซึ่งความสวยงามคือช่วงของการแปลงจากรูป สัญลักษณ์ของ โอลิมปิก กลายเป็นรูปโลกนั้น

 

7. Pictogram และ เกมซ่าท้ากึ๋น
ประวัติของ pictograms นั้น ที่ได้มีการนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1964 ที่ ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิก หรือเมื่อ 57 ปีก่อน วัตถุประสงค์ตอนนั้นก็เพื่อสื่อสารทางสายตาไปยังชาวโลกให้มีความเป็นสากลมากขึ้น
และในพิธีเปิดครั้งนี้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความประทับใจในความครีเอต ที่เอาคนจริงๆ มาทำท่าทางเป็น  pictograms  ซึ่งญี่ปุ่น เจ้าภาพโอลิมปิก 2020 นำเสนอออกมาโดยล้อเลียนกับ popp culture จากรายการโทรทัศน์ที่ดังไปทั่วโลกคือ คาโซ ไทโช หรือ เกมส์ซ่าท้ากึ๋น
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ชมในการถ่ายทอดทางทีวีไม่ได้เห็นก็คือ โดรนที่บินอยู่ในอากาศ ก็เปลี่ยนรูปเป็น  pictograms ด้วย

pictogram

pictogram

pictogram

8. ดวงไฟแห่งความหวัง
สิ่งที่เป็นธรรมเนียมของพิธีเปิดโอลิมปิกทุกครั้งนั่นคือ การจุดไฟในกระถางคบเพลิง โดยในพิธีเปิด โอลิมปิก2020 ยังได้อ้างอิงจากสถานการณ์โควิด -19 ที่ลุกลามทั่วโลก เพราะทุกคนทุกอาชีพมีความสำคัญทั้งหมด ในการวิ่งคบเพลิงในสนาม  มีตัวแทนนักกีฬา นักเรียน รวมถึงคุณหมอและพยาบาล ผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตลอดตั้งแต่เกิดการระบาด รับหน้าที่ทรงคุณค่า

run

9. นาโอมิ โอซากะ คือตัวแทนที่บอกว่าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปแล้ว
ว่าด้วยเรื่องกระถางคบเพลิงของโอลิมปิก 2020 มีการดีไซน์ที่อิงจากภูเขาไฟฟูจิ โดยมี  นาโอมิ โอซากะ นักเทนนิสหญิงแชมป์ แกรนด์ สแลม 4 สมัย ผู้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ ร่วมวิ่งคบเพลิงในไม้สุดท้าย
ปัจจุบัน  นาโอมิ โอซากะ เธอคือเด็กรุ่นใหม่ นักกีฬารุ่นใหม่ของญี่ปุ่น และการให้เกยรติเธอเป็นคนจุดคบเพลิงนั่น มีความหมายซ่อนอยู่ มากมาย แล้วแต่คนจะตีความได้  อาทิ เธอคือสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่
ลึกๆแล้วเธอเป็นนักกีฬาที่คนญี่ปุ่นไม่คิด่ว่าเธอคือญี่ปุ่นขนานแท้ และเป็นเพศหญิงที่ได้จุดไฟ  ซึ่งถ้าหากมองลึกถึงวัฒนธรรมดั่งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นสังคม "ชายเป็นใหญ่" อยู่ ดังนั้น การที่ โอซากะ ได้จุดคบเพลิงจึงมีความหมายซ่อนเร้นไว้มาก

 

10. ตามลุ้นเชียร์ เทนนิส พาณิภัค ลุ้นเหรียญทอง
วันนี้ 24 ก.ค หลังจากพิธีเปิดโอลิมปิก 2020 หนึ่งคืน , นักกีฬาไทยโอลิมปิก มีลุ้นเหรียญทองทันที จาก เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เทควันโดหญิง 49 กก. และ "จูเนียร์"รามณรงค์ เสวกวิหารี นักเทควันโดหนุ่มรุ่น 58 กก. ตามลุ้นตามเชียร์ และตามให้กำลังใจทั้งสองคนกันด้วยนะ

related