svasdssvasds

3 เหล่าทัพ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 10

3 เหล่าทัพ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 10

กองทัพบก ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา 28 กรกฎาคม 2564

วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.00 น. บริเวณท้องสนามหลวง กองทัพบก โดย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จัดปืนใหญ่ ทำการยิงสลุตหลวง จำนวน 21 นัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา 28 กรกฎาคม 2564

กองทัพบก โดย กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ทำการยิงที่ท้องสนามหลวง

กองทัพเรือ โดย กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ทำการยิงที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่

3 เหล่าทัพ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 10

กองทัพอากาศ โดย กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ทำการยิงที่โรงเรียนนวมินทกษัตริย์ตริยาธิราช

การยิงสลุต ถือเป็นธรรมเนียมที่ทุกประเทศทั่วโลก ได้ยึดถือสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพให้แก่ชาติ หรือธง หรือบุคคล โดยยิงปืนใหญ่ด้วยดินดำ หรือดินไม่มีควัน มีจำนวนนัดเป็นเกณฑ์ตามควรแก่เกียรติ หรือสิ่งที่ควรรับความเคารพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ในหลวง พระราชทานทรัพย์กว่า 2,800 ล้าน จัดหาอุปกรณ์แพทย์ รับมือโควิด

• เชิญชวนร่วมลงนามถวายพระพร ในหลวง ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ระบบออนไลน์

• ในหลวง-พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานอุปกรณ์แพทย์ สิ่งของ ช่วยปชช. ช่วงโควิด

 สำหรับในประเทศไทยมีการยิงสลุตครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีในบันทึกของจดหมายเหตุฝรั่งเศสกล่าวถึงเรือรบฝรั่งเศสชื่อ เลอโวตูร์ ที่ได้เดินทางเข้ามาถึงป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิไชยประสิทธิ์ กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิมในปัจจุบัน) มองซิเออร์คอนูแอล กัปตันเรือได้มีใบบอกเข้าไปถามทางราชสำนักอยุธยาว่า จะขอยิงสลุตให้เป็นเกียรติแก่ชาติสยาม ทางราชสำนักจะขัดข้องหรือไม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงรับสั่งให้ออกพระศักดิ์สงคราม (มองซิเออร์คอม เดอร์ ฟอร์แบงก์ นายทหารชาวฝรั่งเศส) ผู้รักษาป้อมในขณะนั้น อนุญาตให้ฝรั่งเศสยิงสลุตได้  จึงอาจกล่าวได้ว่าป้อมวิไชยประสิทธิ์ หรือป้อมวิไชยเยนทร์ในขณะนั้น เป็นสถานที่ ที่เกิดการยิงสลุต ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

 ต่อมาเมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์แล้ว  ในรัชสมัยของ สมเด็จพระเพทราชา ทรงไม่โปรดปรานฝรั่งเศส จึงทำให้ธรรมเนียมการยิงสลุตได้ถูกยกเลิกไป ธรรมเนียมการยิงสลุตได้เริ่มกลับมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวที่ต้อนรับ เซอร์จอห์น เบาวริ่ง ราชทูตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2398 ต่อมาในปี พ.ศ.2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตราข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต ร.ศ.125 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การยิงสลุตหลวง และการยิงสลุตเป็นเกียรติแก่ข้าราชการ

related