svasdssvasds

"หมอประสิทธิ์" เร่งทุกฝ่ายสู้กับ "โควิดสายพันธุ์เดลต้า" ก่อนกลายพันธุ์

"หมอประสิทธิ์" เร่งทุกฝ่ายสู้กับ "โควิดสายพันธุ์เดลต้า" ก่อนกลายพันธุ์

"หมอประสิทธิ์" ชี้ถ้าทุกคนปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด คู่ขนานกับการเร่งฉีดวัคซีน จะสามารถควบคุมสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยและทั่วโลกได้ โดยช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ น่าจะเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจน

 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงสถานการณ์โลกจากวิกฤตสายพันธุ์เดลต้าว่า มีหลายประเทศเกิดผลกระทบจากสายพันธุ์เดลต้า จึงได้มีการถอดบทเรียน ไม่ให้สายพันธุ์เดลต้ามาทำลาย อย่างสหประชาชาติ

 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม สายพันธุ์เดลต้ากระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จึงเกิดปัญหาใหญ่ขึ้น เนื่องจากสายพันธุ์นี้แตกต่างจากเดิม และอีก 28 วันต่อมา คือวันที่ 30 กรกฎาคม สิ่งที่คาดการณ์ไว้สายพันธุ์เดลต้ารุนแรงและเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ใน1สัปดาห์ มีคนติดเชื้อกว่า 4 ล้านคน 1 เดือนมีคนติดเชื้อโควิด 80 เปอร์เซ็นต์ และบางพื้นที่มีผู้เสียชีวิตถึง 80 เปอร์เซ็นต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• "หมอยง" เผย ไทยต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม 85% สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หยุดเดลต้า

• โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่เชื้อง่ายเหมือนอีสุกอีใส ติดเชื้อ 1 คนลุกลามได้ 8

• "หมอมนูญ" เตือน เดลต้า ดุกว่า 1,000 เท่า แนะ อยู่บ้านต้องใส่หน้ากากอนามัย

 ส่วนในประเทศอเมริกาที่ CDC ซึ่งทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์โลก เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม CDC ได้ออกแนวปฎิบัติ หลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเดลต้า การฉีดวัคซีนยังไม่ถึงจุดที่ควรจะเป็น จึงได้เร่งฉีดวัคซีนและใส่หน้ากาก เนื่องจากได้มีการรวบรวมตัวเลข 7 วัน ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ในอเมริกามีผู้ติดเชื้อ 12,000 คน และอีก1สัปดาห์ต่อมา ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นถึงจำนวน 6 หมื่นคน การติดเชื้อ 80-87 เปอร์เซ็นต์ ในตอนนี้มีการแพร่กระจายเชื้อเดลต้าที่รวดเร็ว และก่อให้เกิดความรุนแรงในคนมากขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อตัวเลขเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางภาครัฐของอเมริกาจึงได้ประกาศให้ประชาชนกลับมาสวมใส่หน้ากากอนามัย ถึงแม้จะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ขณะนี้ประเทศอเมริกาได้เชิญชวนให้ประชากรของประเทศตัวเองฉีดวัคซีน โดยบางรัฐมีการการแจกเงิน 100 ดอนล่า บางรัฐมอบแฮมเบอร์เกอร์ให้กับคนที่มาฉีดวัคซีน โดยทาง CDC ได้ออกมาย้ำว่า คนที่ฉีดวัคซีนครบ ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ แต่เวลาป่วยความรุนแรงจะน้อยลงกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด

 ขณะที่สหราชอาณาจักร ประชาชนทั้งประเทศไม่แตกต่างจากจำนวนของประชาชนคนไทย หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมปีที่แล้ว ช่วงนี้เริ่มมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก และกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลต้า นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ออกประกาศในวันอิสรภาพที่ผ่านมาว่า ประชากรในประเทศมีการฉีดวัคซีนไปแล้วถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้วิ่งขึ้นมาก เนื่องจากคนในอังกฤษคุ้นเคยกับการใส่หน้ากาก สิ่งที่เขากลัวคือ เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้ออีกสายพันธุ์และหลุดจากวัคซีน สายพันธุ์ใหม่นี้จะเกิดการแพร่ระบาดใหม่ ทั่วโลกกำลังเฝ้าติดตามอยู่ 

 ส่วนประเทศฝรั่งเศสได้ระดมฉีดวัคซีนให้กับประชากรไปแล้ว 77 ล้านสานโดส จากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ในขณะนี้ฉีดได้ถึงวันละ 5 แสนโดสทุกวัน ซึ่งประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศว่า ประชาชนที่จะเข้าสถานบริการจะต้องมีเฮลพาส คือ ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ได้รับการตรวจเชื้อแล้วไม่พบ และคนที่เพิ่งหายจากเชื้อโควิด19 

 ด้านประเทศอิตาลี มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 71ล้านโดส มีการติดเชื้อต่อวันไม่ถึงหลักหมื่น แค่ 6-7 พันคนต่อวัน สายพันธุ์เดลต้าที่เข้ามา เมื่อเดือนที่แล้ว มีผู้ติดเชื้อถึง 94.8 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าเชื้อแพร่กระจายไปเร็วมาก คนที่จะเข้าไปใช้บริการในสถานบริการต่างๆ จะต้องมีหลักฐานการฉีดวัคซีน ได้รับการตรวจเชื้อแล้วไม่พบเชื้อ และคนที่เพิ่งหายจากเชื้อโควิด19

ส่วนประเทศอิสราเอล มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 11.5 ล้านโดส ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง หลังจากที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลก็เริ่มมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทางรัฐบาลจึงได้ประกาศให้ประชากรใส่หน้ากากอนามัย พิจารณาการล็อกดาวน์

 ขณะที่ประเทศออสเตรเรีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่สถานการณ์ดีขึ้น แต่ตอนนี้มีพบการติดเชื้อใหม่ ถึงแม้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะน้อยลง ขณะนี้ประชากรได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 1 ใน 3 และในเดือนสิงหาคมนี้สายพันธุ์เดลต้าที่เข้ามา ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และควบคุมได้ยากขึ้น โดยพบว่ามีการติดเชื้อในเด็กมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่อาการไม่รุนแรง บางพื้นที่เกิดการล็อคดาว  การจัดการของรัฐบาลออสเตรเรีย ควบคุมสถานการณ์ได้รวดเร็วมาก 

 ส่วนที่ประเทศรัสเซีย ได้มีการเร่งฉีดวัคซีน วันละ1ล้านโดสต่อวัน หรือ 1 ใน 4

หมอประสิทธิ์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยว่า ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 20 ล้านโดส โดยฉีดครบ 2 เข็ม เป็นตัวเลขหลักเดียว การติดเชื้อยังเป็นหลักหมื่น ผู้เสียชีวิตยังเป็นหลัก 3 ตัว ขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น และถ้ามีการล็อกดาวน์ และเร่งการฉีดวัคซีน ถ้าทำสำเร็จตามที่กำหนด อาจจะทุบกราฟสถิติได้ 

โดยสรุป คือ เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ไม่เพียงแพร่ระบาดได้เร็ว หรือเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แต่มีหลักฐานว่า ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง และอันตรายมากกว่าสายพันธุ์เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้ยังพบผู้ที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มที่มีอายุน้อยลง ซึ่งผลมาจากหลายปัจจัย ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบไม่ว่าชนิดไหน มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ รายงานจากสหรัฐอเมริกาว่าไม่แตกต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่อาการมักไม่รุนแรง รายงานจากมหาวิทยาลัย Wisconsin พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังสามารถพบมีปริมาณไวรัสในจมูกและคอไม่แตกต่างไปจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หลายประเทศพบการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

 ทั้งนี้สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนที่มากพอ จะมีส่วนสำคัญในการลดการแพร่ระบาดและอัตราการเสียชีวิต แต่ไม่ควรเป็นข้อบ่งชี้ในการยกเลิกหรือผ่อนคลายการระวังตนเอง เช่น การใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หมั่นทำความสะอาดมือ และเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมากในพื้นที่ที่จำกัด และการแพร่ระบาดในกลุ่มคนจำนวนมากอาจนำไปสู่การเกิดการกลายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดเร็ว จะทดแทนสายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดช้ากว่า ความปลอดภัยจากเชื้อโควิค 19 ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ขึ้นกับสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อในโลก

 แนวทางการรับมือวิกฤตโควิด-19 จากสายพันธุ์เดลต้า การลดความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตที่เกินศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพ การเร่งลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อ มาตรการทางการปกครอง มาตรการทางการสาธารณสุข เช่น การบริหารจัดการควบคุมโรค การพัฒนาศักยภาพ การตรวจหาผู้ติดเชื้อ การบริหารจัดการเตียงและสถานพยาบาล มาตรการส่วนบุคคลและทางสังคม การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ทั้งผู้สูงอายุ และโรคเรื้อรัง การเร่งค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อ รวมถึงการได้รับยาที่เร็ว แจ้งลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบและพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ติดเชื้อ

 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิราราชพยาบาล ยืนยันว่า มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ประกาศในขณะนี้ ถ้าดูจากตัวเลขไม่ลดลงในเวลาที่ควรจะเป็น และมองปัจจัยอื่น ต้องมาเข้มที่มาตรการ โดยการเร่งฉีดวัคซีนไปเรื่อยๆ จะเกิดปรากฎการณ์ควบคุมไวรัสที่ดีขึ้น มาตรการบางอย่างจะเริ่มผ่อนลงได้ ซึ่งถือว่าดีในระดับหนึ่ง แต่บางพื้นที่ยังคงมีการทำกิจกรรมทางศาสนา โรงงาน ก็อาจจะเกิดคลัสเตอร์ในหลายพื้นที่ ซึ่งต้องมีมาตรการดูแลคลัสเตอร์ ซึ่งโดยรวมขณะนี้คนไทยการ์ดไม่ตก ในกทม. เริ่มเห็นกราฟการติดเชื้อใหม่ลดลง ความชันลดลง แต่ยังไม่มุดหัวลง ตัวเลขยังไม่เพิ่มขึ้น ถ้ายังรักษาระยะนี้ได้ และเร่งฉีดวัคซีน ไป22เปอร์เซ็นของประชาชนคนไทย จะเริ่มเห็นผลอะไรบางอย่าง อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจัดการได้อยู่ ยังไม่หลุดออกไปจากเป้าหมายในตอนนี้

 ส่วนกรณีผู้ติดเชื้อคนหนึ่งไปคนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไวรัสได้ หมอประสิทธิ์ อธิบายว่า เป็นเหตุการณ์ที่สหราชอาณาจักรเคยออกมาเตือน ถ้าในอังกฤษคน 100 คน ฉีดวัคซีนไปแล้ว 60 คน และเกิดการไม่ใส่หน้ากาก แล้วไปเที่ยวผับ ไวรัสที่วัคซีนควบคุมอยู่ยังจัดการได้ แต่หากโชคร้ายเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัส วัคซีนตัวเดิมจัดการไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันใน 100 คน ไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไวรัสจะกระจาย และวัคซีนที่ฉีดไปไม่ครอบคลุม และเกิดสายพันธุ์ใหม่ ถ้าหากโชคดีสายพันธุ์ใหม่แบ่งตัวช้า แต่หากสายพันธุ์ดื้อกับวัคซีน ตรงจุดนี้จะต้องสู้รบตบมือ ต้องกลับมากระชับมาตรการสาธารณสุขและสังคม ให้ใส่หน้ากากอนามัย และมีการพิจารณาการฉีดวัคซีนเข็ม3 เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ก็จะสามารถยืดเวลาสู้รบถึงต้นปีหน้า ในรุ่น 2 ของวัคซีนที่จะทยอยออกแล้ว 

 นอกจากนี้ได้ หมอประสิทธิ์ ยังมีการประเมินกราฟในประเทศไทยว่า ปัญหาคือถ้ามีตัวแปรหลายตัวเป็นปัจจัย เช่น บางพื้นที่ไม่ทำตามมาตรการ ยังมีการทำกิจกรรม บางพื้นมีการพบปะกัน ทำกิจกรรมในโรงเรียน พอเกิดคลัสเตอร์ใหม่ และเกิดการกระจาย จะเกิดปัญหาขึ้น แต่ถ้าทุกคนทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด  ตนเชื่อว่าในเดือนกันยายนนี้จนถึงเดือนตุลาคมนี้ น่าจะเห็นตัวเลขลดลงชัดเจน พร้อมกับคู่ขนานในการฉีดวัคซีน ที่มีเป้าหมาย 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปลายสิงหาคมนี้ ภายใต้เงื่อนไข ไม่มีสิ่งใดที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายเพิ่มขึ้น และถ้าปลายปีมีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามา 20 ล้านโดส สามารถยื้อไปถึงในช่วงเจอกับวัคซีนรุ่น2ในปีหน้า ยังเป็นจังหวะที่เชื่อมโยงได้ทัน ในขณะนี้ ยืนยันว่า ไทยยังไม่ถึงจุดพีค ถ้าดูจากตัวเลขของกราฟ ในกทม.หรือต่างจังหวัด บางจังหวัดขึ้นด้วยความชันน้อยลง

related