svasdssvasds

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

การแพร่ระบาดที่รุนแรงของโควิดเดลต้ากำลังถล่มไปทั่วโลก แต่หนึ่งจุดที่ได้ผลกระทบอย่างมาก เช่น อาเซียน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขของประเทศเหล่านี้เกินที่จะต้านทานได้ไหว

ประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียกำลังต่อสู้กับการระบาดของโควิด19 ครั้งที่ร้ายแรงที่สุด สืบเนื่องมาจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำและโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่สามารถแพร่เชื้อได้สูง

ในขณะที่ประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ พบการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าที่ใด คงหนีไม่พ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน โดยประเทศต่างๆ มียอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งที่หลายประเทศในอาเซียนสามารถควบคุมการระบาดได้เมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้กลับประสบปัญหาบริการด้านสาธารณสุข ทั้งการขาดแคลนเตียงในโรงพยาบาล อุปกรณ์ และออกซิเจน ทำให้บางประเทศบังคับใช้การล็อกดาวน์อีกครั้ง ปิดโรงงานในศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญ และจำกัดการเคลื่อนไหวของพลเมืองที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินอยู่แล้ว

ความคับข้องใจในหมู่ประชาชนที่ถูกบังคับให้ต้องอดทนต่อการควบคุมเสรีภาพและความสามารถในการทำงานของพวกเขามากขึ้นกำลังถึงจุดเดือด และการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของพวกเขาในการจัดการกับการระบาดได้ปะทุขึ้นในมาเลเซียและไทย ในขณะเดียวกัน พม่าใกล้จะล่มสลายเนื่องจากการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ และการปราบปรามอย่างนองเลือดได้ทำลายระบบสาธารณสุข และทำให้การฉีดวัคซีนหยุดชะงักลงโดยสิ้นเชิง

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

ในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยกว่า เช่นสหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ กำลังเผชิญกับการระบาดซ้ำอีกครั้ง พวกเขาได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เปรียบเทียบว่า เวียดนามได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งหมด ไทยประมาณ 5% ฟิลิปปินส์ 7.2% และอินโดนีเซีย 7.6% ตามข้อมูลจาก Our World in Data

กว่าหนึ่งปีครึ่งของการระบาดใหญ่ โควิดเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้นกำลังเผยให้เห็นจุดอ่อนของประเทศต่างๆ ที่มีอัตราวัคซีนต่ำ แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาจะควบคุมโควิด19 ได้ดีก็ตาม

-----------------------------

เวียดนาม
คงไม่มีที่ไหนที่จะกลับตาลปัตรไปกว่าที่ประเทศเวียดนามอีกแล้ว

ปีที่แล้ว เวียดนามได้ถูกยกให้เป็นโมเดลตัวอย่างในการยับยั้งโควิด19 ด้วยกลยุทธ์เชิงรุกในการคัดกรองผู้โดยสารที่สนามบินตั้งแต่เนิ่นๆ และมาตรการกักตัวในการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ประชากรเวียดนามสามารถดำเนินชีวิตได้ค่อนข้างปกติ และเศรษฐกิจขยายตัวกว่า 2.9% ในปี 2020 อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารโลก

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

ทว่าตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน เวียดนามรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขระบุ ในภาพรวมแล้วเวียดนามยืนยันว่ามีผู้ป่วย 177,813 ราย ซึ่งมากกว่า 85% ของผู้ป่วยได้รับรายงานในเดือนที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากอยู่ในนครโฮจิมินห์ และเวียดนามมียอดผู้เสียชีวิต 2,327 ราย ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งมาจากยอดในเดือนที่ผ่านมา

รัฐบาลได้ออกมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดในเมืองหลวง กรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ เพื่อพยายามควบคุมการแพร่ระบาด และมีการจัดตั้งศูนย์รักษาโควิด19 เพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น

แต่การระบาดได้กดดันรัฐบาลให้เพิ่มปริมาณวัคซีนร่วมไปถึงอัตราการฉีดวัคซีน ทว่าจนถึงขณะนี้ มีเพียง 0.6% ของประชากร 96 ล้านคนของเวียดนามที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว

-----------------------------

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก ยอดติดเชื้อโควิดในอินโดนีเซียเพิ่งแซงหน้าอินเดียและเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดโควิด19 แห่งใหม่ในเอเชีย ด้วยยอดผู้ป่วยมากกว่า 50,000 รายต่อวัน

จากรายงานผู้ป่วย 3.5 ล้านรายนับตั้งแต่เริ่มระบาด เป็นรายงานผู้ป่วยในเดือนที่ผ่านมากว่า 1.2 ล้านราย นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 ราย กลายเป็นเพียงประเทศที่สองในเอเชียที่ยอดทะลุหกหลัก

ผู้เชี่ยวชาญกำลังกังวลว่า หากการแพร่ระบาดยังไม่ลดลง อาจผลักดันให้ระบบสาธารณสุขของอินโดนีเซียไปถึงจุดแตกหัก บางคนกลัวว่าสถานการณ์อาจเลวร้ายกว่าที่ตัวเลขแสดง เนื่องจากยังมีผู้คนอีกจำนวนมากยังไม่ได้รับการตรวจ จากปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และคาดว่าเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร 10.6 ล้านคนในเมืองหลวงจาการ์ตาอาจติดโควิด19 แล้ว

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

อินโดนีเซียกำลังประสบกับวิกฤตด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลทั้งหลายถูกผลักไปถึงขีดจำกัดสูงสุด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต่างโรยราในการรับมือกับผู้ป่วยโควิด19 และแม้แต่สุสานก็ถูกขยายพื้นที่จนเต็มจากยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า ขณะนี้อินโดนีเซียกำลังถูกเอาคืนจากการไม่บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด และลงทุนไม่เพียงพอในระบบติดตามผู้สัมผัสที่มีประสิทธิภาพ

รัฐบาลประกาศขยายมาตรการควบคุมสูงสุดระดับ 4 ในหลายเมือง อาทิ เมืองหลวง หมู่เกาะชวา และบาหลี เพิ่มเวลาอีกหนึ่งสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของประเทศ กล่าวว่า แม้ความหายนะครั้งนี้ได้เพิ่มขึ้นสูงในบางพื้นที่ แต่ทว่าภาครัฐกำลังเล็งหาโอกาสที่จะเริ่มเปิดเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในเดือนกันยายน

-----------------------------

มาเลเซีย
ถึงประเทศจะประกาศล็อกดาวน์ไปแล้ว แต่มาเลเซียยังพบเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณผู้ป่วยโควิด19 รวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิต แม้แต่การประชุมรัฐสภาก็ถูกระงับมานานกว่าหนึ่งเดือน

ความโกรธของประชาชนกำลังก่อตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายร้อยคนฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโควิด19 ด้วยการรวมตัวประท้วงในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้ มุชยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ลาออก ฐานจัดการปัญหาโควิด19 ได้ไม่ดี และมีสมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายค้านบางคนก็ได้ร่วมเดินขบวนไปที่อาคารรัฐสภาเพื่อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกด้วย

ยอดการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมากขึ้น ส่งผลต่อความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน และอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำ ก็เพิ่มความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะผู้คนไม่สามารถออกไปหาเลี้ยงตัวเองได้ตามปกติ รัฐบาลของมูห์ยิดดินอยู่ในขั้นวิกฤต และใกล้จะล่มมากเข้าไปทุกที ทั้งที่เพิ่งเข้ามากุมบังเหียนได้เมื่อปีที่แล้วเอง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แพทย์มาเลเซียหลายพันคนได้หยุดงานประท้วงในโรงพยาบาล แพทย์หลายคนบอกว่าพวกเขาไม่ไหวแล้ว จากความกดดันในการทำงาน และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ พวกเขาถูกผลักดันจนแทบแย่แล้ว เตียงที่ใกล้เต็ม และเครื่องช่วยหายใจเริ่มไม่พอ

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

มาเลเซียมียอดผู้ป่วยโควิดมากกว่า 1 ล้านราย โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข รายงานนิวไฮต์ทั้งยอดติดเชื้อใหม่ และผู้เสียชีวิต ด้วยยอด 19,819 ราย และ 257 ราย ตามลำดับ

จากตอนแรกที่การระบาดโควิด19 เริ่มมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งของประเทศ จนถึงตอนนี้ที่ลุกลามไปทั่ว บีบให้มาเลเซียต้องกลับไปอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์ทั่วประเทศอีกครั้ง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 พ.ค.

อัตราการฉีดวัคซีนของมาเลเซียจะกระเตื้องขึ้นมาบ้างในเดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ด้วยยอดประมาณ 22.5% ของประชากรทั้งหมดที่ได้รับวัคซีนครบสองโดส ตามข้อมูลจาก Our World in Data

-----------------------------

ประเทศไทย
แม้ว่าจะเป็นประเทศแรกที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด19 นอกประเทศจีน ตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว แต่ถือว่าในปี 2020 ประเทศไทยสามารถทำผลงานได้ดีเยี่ยม ด้วยยอดการติดเชื้อที่ต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศ

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ใหญ่กว่ามาก จากการระบาดระลอกที่สองที่เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว จนมาถึงการระบาดระลอกที่สาม ซึ่งประเทศไทยกำลังดิ้นรนอย่างหนักในการควบุคมการแพร่ระบาด แต่ยอดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในแต่ละวันกลับเพิ่มขึ้นด้วยการขึ้นนิวไฮอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกวัน ซึ่งวันพุธที่ผ่านมา (4 ส.ค. 64) เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยรายงานยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 20,000 ราย

โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ถูกถาโถมด้วยยอดผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และความต้องการเตียงก็เกินความสามารถที่ระบบสาธารณสุขไทยไปอย่างมาก

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นายกสมาคมแพทย์ชนบท กล่าวว่า กรุงเทพฯ กำลังส่งแพทย์และพยาบาลมากกว่า 400 คนจากพื้นที่ต่างจังหวัดไปยังสลัมและพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นของเมือง เพื่อทดสอบและแยกผู้อยู่อาศัย 250,000 คนออกจากกัน

"เราอาจไม่สามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ในขณะนี้ แต่เราหวังว่าจะบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนเตียงในกรุงเทพฯ และชะลออัตราการเสียชีวิต" นพ.สุภัทร กล่าว

ซึ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ครม. ได้ตัดสินใจขยายเวลาล็อกดาวน์ไปจนถึงสิ้นเดือน เพื่อหวังจะชะลอจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยที่ขณะนี้ 29 จังหวัดอยู่ภายในพื้นที่สีแดง ประชาชนกว่า 40% อยู่ภายใต้มาตรการที่เข้มงวดที่สุด

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

โกดังสินค้าของสนามบินดอนเมือง กลายเป็นโรงพยาบาลสนามขนาด 1,800 เตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และรถไฟโดยสาร 15 ขบวนถูกดัดแปลงเป็นศูนย์พักคอย

ความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อและความกลัวว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากโควิด19 เพิ่มขึ้น กำลังส่งผลกระทบต่อคนไทย มีเสียงโวยวายออกมาหลังจากพบศพหลายศพบนถนนในกรุงเทพฯ และถูกทิ้งให้นอนอยู่บนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่รถพยาบาลจะรับพวกเขา

ประชาชนหลายพันคนเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วประเทศในวันอาทิตย์ เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก จากปัญหาการจัดการโควิด19 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

ประเทศไทยตั้งเป้าฉีดวัคซีน 100 ล้านโดสในสิ้นปีนี้ แต่จากข้อมูลปัจจุบันพบว่ามีเพียง 23% ของประชากรทั้งหมดที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และเพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนสองโดสแล้ว

-----------------------------

พม่า
ประเทศที่ชายแดนติดต่อกับบ้านเรา พม่ากำลังพังทลายภายใต้วิกฤติโควิด19 ที่ระบาดซ้ำซ้อน และการรัฐประหารของทหาร ส่งผลให้ตอนนี้เกิดปัญหาขาดแคลนออกซิเจนอย่างสิ้นหวัง หลายพันครอบครัวต่างรอคิวรับออกซิเจนอย่างกระวนกระวายใจ

แพทย์บอกว่าชาวบ้านเลือกที่จะดูแลตัวเองที่บ้าน หากพวกเขาไปโรงพยาบาล พวกเขามักถูกปฏิเสธ เนื่องจากออกซิเจนและเตียงไม่เพียงพอ ประกอบกับไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอที่จะเข้ามาดูแลผู้ป่วย ซึ่งประมาณการณ์ว่าสถานบริการสาธารณสุขเพียง 40% ของประเทศที่ยังคงสามารถดำเนินการได้

รายงานผู้ป่วยรายวันในพม่าเพิ่มขึ้นจากประมาณ 100 รายต่อวัน ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน กลายเป็นประมาณ 5,000 รายต่อวัน ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วอยู่ที่ 315,118 ราย และผู้เสียชีวิตทั้งหมด 10,373 ราย อ้างจากองค์การอนามัยโลก

แต่แพทย์และกลุ่มอาสาสมัครกล่าวว่าตัวเลขเหล่านี้ยังรายงานไม่ถูกต้อง

โครงการฉีดวัคซีนได้หยุดชะงักลง หลังจากที่รัฐบาลทหารทำการรัฐประหาร ยอดการตรวจที่เหลือเพียงน้อยนิด ประกอบกับการขาดข้อมูลที่เป็นทางการ ทำให้กองทัพพม่าเกิดความหวาดผวา เพราะตอนนี้ไม่มีใครสามารถให้คำตอบอย่างชัดเจนได้ ว่าประเทศกำลังเผชิญวิกฤตหนักขนาดไหนกันแน่

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บาร์บารา วูดวาร์ด เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร เตือนว่า ประชากรพม่ากว่า 54 ล้านคน อาจติดเชื้อโควิด19 ไปถึงครึ่งหนึ่งในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

โควิดเดลต้าถล่มโลก อาเซียนเกินต้านทาน

ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรที่อยู่ในประเทศ กล่าวว่า กองทัพฉวยโอกาสจากวิกฤตโควิด19 ยอดติดเชื้อและเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทางรัฐบาลทหารก็ยิ่งกดดันแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากขึ้นไปอีก เนื่องจากก่อนหน้านี้มีแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายคนได้นัดหยุดงานเพื่อเข้าร่วมประท้วงการรัฐประหารดังกล่าว

สหประชาชาติได้บันทึกการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อย 260 ครั้ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อย 67 คนถูกควบคุมตัว โดยมีหมายจับมากกว่า 600 หมายสำหรับแพทย์และพยาบาล ขณะนี้มีการเรียกร้องระหว่างประเทศให้สหประชาชาติผลักดันให้ พม่า "หยุดยิงเพื่อโควิด" เป็นการฉุกเฉิน เพื่อให้รัฐบาลทหารหยุดกำหนดเป้าหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขที่ควบคุมโดยกองทัพมีเป้าหมายที่จะรับวัคซีน 50% ของประชากรทั้งหมดในปีนี้ และวางแผนที่จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด19 ในต้นเดือนสิงหาคมในนครย่างกุ้ง แต่ถึงแม้จะมีการจัดหาวัคซีนเหล่านี้ ประชากรกลับไม่มีความไว้วางใจแต่ในการปราบปรามของรัฐบาลทหาร เนื่องจากกองทัพยังคงกักขังพลเมืองและเดินหน้าปราบด้วยลูกกระสุนต่อไป

related