svasdssvasds

"ปลอกแขนสื่อมวลชน" ไม่ใช่สิ่งการันตีความปลอดภัย ในสนามข่าวและการชุมนุมทั่วโลก

"ปลอกแขนสื่อมวลชน" ไม่ใช่สิ่งการันตีความปลอดภัย ในสนามข่าวและการชุมนุมทั่วโลก

การทำข่าวของนักสื่อสารมวลชน ไม่ว่าจะในสถานการณ์ความขัดแย้งใดในโลก มักจะอยู่บนความเสี่ยงภัยต่อชีวิตเสมอ เพราะแม้ จะมีเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ "ปลอกแขนสื่อมวลชน" แต่ก็ยัง มีรายงานการบาดเจ็บของนักข่าวในระหว่างการทำงานอยู่เสมอๆ

ย้อนอดีตปลอกแขนสื่อมวลชน
ประวัติศาสตร์ของปลอกแขนสื่อมวลชนนั้น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นที่จุดใด แต่ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง ปี  1939-1945 มีหลักฐานยืนยันว่า ณ เวลานั้น เริ่มมีการใช้ปลอกแขนสื่อมวลชน ติดที่แขน สำหรับนักข่าวและช่างภาพที่ลงไปทำข่าวสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วโดย การสวมใส่ปลอกแขนสื่อมวลชน ไม่ว่าจะที่ใดในโลก สัญลักษณ์นี้ก็เพื่อแสดงให้ทุกฝ่าย เห็นว่าบุคคลคนนั้นเป็นสื่อมวลชน ที่กำลังทำงานและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสนามข่าว

อย่างไรก็ตาม การสวมใส่ปลอกแขนสื่อมวลชนในทั่วทุกมุมโลก ในขณะปฏิบัติหน้าที่ทำข่าวนั้น ก็ไม่ใช่ เครื่องยืนยัน หรือการันตีว่า นักข่าว นักสื่อสารมวลชนเหล่านั้นจะมีความปลอดภัยระหว่างทำงาน ในบางสถานการณ์ความขัดแย้ง ในโลกการเมืองยุค 30-40 ปีหลัง บางครั้ง นักข่าว นักสื่อสารมวลชน อาจตกเป็นเป้าของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง หรือบางทีอาจเลวร้าย ถึงขึ้นจับตัว เป็นตัวประกัน มีภาพให้เห็นเป็นตัวอย่าง ทั้งในสงครามอิรัก หรือในความขัดแย้งของอัฟกานิสถาน

ต้องยอมรับในความเป็นจริงว่า เนื้องานและรายละเอียดของงานนักข่าวสงคราม หรือนักสื่อสารมวลชนภาคสนาม อาจนำพา นักข่าวไปสู่ส่วนที่มีความขัดแย้งมากที่สุดในโลก เมื่อไปถึงที่นั่น พวกเขาก็พยายามเข้าใกล้การดำเนินการมากพอที่จะภาพถ่าย หรือฟุตเทจภาพยนตร์ หรืออาจจะเป็นกระบวนการทำข่าวอื่นๆ หรือไลฟ์ถ่ายทอดสด ปรับตามเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนไป  ดังนั้นนักข่าวภาคสนาม นักข่าวสงครามจึงมักถูกมองว่าเป็น รูปแบบงานที่อันตรายที่สุดของวงการสื่อสารมวลชน

press ปลอกแขนสื่อมวลชน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

press2 ปลอกแขนสื่อมวลชน ที่เป็นการระบุตัวตนเป็นสื่อ ในการทำงานข่าวภาคสนาม
.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สื่อมวลชนบาดเจ็บจากการลงสนามข่าว
ตัวอย่างของความอันตราย และไม่ปลอดภัยของสื่อมวลชน แม้ขณะที่สวมปลอกแขนสื่อมวลชน หรือแสดงสัญลักษณ์แล้วว่าเป็นสื่อ ก็ยังมีให้เห็นตลอดเวลา จากทั่วทุกมุมโลก อาทิ เหตุการณ์ "ม็อบเสื้อกั๊กเหลือง" ในฝรั่งเศส ที่เป็นการต่อสู้ประท้วงอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2018 และยืดเยื้อเรื้อรังมาหลายช่วงเวลา จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่ประปราย  และมีแนวร่วมเรียกร้องประเด็นอื่นๆด้วย แม้ในช่วงแรก "ม็อบเสื้อกั๊กเหลือง" จะเป็นการประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลและเอ็มมานูเอล มาครง เร่งแก้ไขปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ และภาษีเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ตาม แต่หลังๆก็มีการบานปลาย
.
โดย มีรายงานว่า สื่อมวลชนที่มีปลอกแขนสื่อ หรือมีสัญลักษณ์แสดงตัวตนว่าเป็นสื่อ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของการประท้วง "ม็อบเสื้อกั๊กเหลือง" ในปารีส มี สื่อมวลชนที่ทำงานในสนามข่าว อย่างน้อย 54 คนที่บาดเจ็บจากการกระทำความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ  และมี 120 คนที่บาดเจ็บหรือถูกคุกคามในระหว่างการทำหน้าที่สื่อมวลชน
นักข่าวอย่างน้อย 42 คน บาดเจ็บเล็กน้อย และมีอีก 12 คนที่บาดเจ็บถึงขั้นกระดูกหัก ที่ซี่โครง หรือใบหน้า  
นักข่าว นักสื่อสารมวลชน มากกว่า 30 ราย ถูกตรวจสอบ ทางโลกออนไลน์ ในการใช้บัญชีอินเตอร์เน็ต  ซึ่งประเด็นเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของสื่อมวลชน ไม่ว่าจะมีปลอกแขน หรือไม่มีปลอกแขนก็ตาม

แม้ว่าฝรั่งเศส จะเป็นลำดับที่ 32 จาก 182 ประเทศ ในการมีเสรีภาพในการทำข่าว จากการจัดอันดับของ RSF World Press Freedom Index.  เมื่อปี 2019 (ดัชนีการจัดอันดับการทำข่าวเสรีของสื่อมวลชนไร้พรมแดน) แต่ตัวเลขนักข่าวที่บาดเจ็บจาก "ม็อบเสื้อกั๊กเหลือง" ก็ยังมีมากมาย เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความไม่ปลอดภัย
    press3 สื่อมวลชนโดนคุกคามในการทำข่าว "ม็อบเสื้อกั๊กเหลือง" ในฝรั่งเศส

press4

ปลอกแขนสื่อมวลชน ไม่ใช่สิ่งการันตี ความปลอดภัย
ณ ปี 2021 ในขณะเดียวกัน ประเทศไทย รั้งอยู่ในลำดับ 137 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ใน ดัชนีการจัดอันดับการทำข่าวเสรีของสื่อมวลชนไร้พรมแดน RSF World Press Freedom Index   ซึ่งถือว่าต่ำกว่า อัฟกานิสถาน ที่อยู่ในลำดับ 122 ด้วยซ้ำ (การจัดอันดับมีก่อน การยึดเมืองคาบูลของตาลีบัน)  โดยการทำหน้าที่สื่อมวลชน ภายใต้สัญลักษณ์ปลอกแขนสื่อมวลชนไทย ก็ยังเป็นอันตรายและเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บระหว่างทำหน้าที่อยู่ เช่นเดิม
.
สังเกตได้จาก เหตุการณ์ ในช่วงต้นกรกฏาคม - สิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา  มีกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระสุนยาง ยิงถูกสื่อมวลชนจนได้รับบาดเจ็บ จากเหตุสลายการชุมนุม 18 กรกฎา 2564  ซึ่งสื่อมวลชนที่บาดเจ็บพร้อมทั้งต้นสังกัด ยื่นฟ้องศาลแพ่งเรียกเงิน 1.4 ล้านบาทจากเจ้าหน้าที่รัฐ  และขอคุ้มครองชั่วคราว ห้ามตำรวจใช้กระสุนยาง และสื่อมวลชนที่บาดเจ็บ ยืนยันว่า ณ เวลาเกิดเหตุ ไม่มีการประกาศเตือนใช้กระสุนยางก่อนยิงจากเจ้าหน้าที่เลย ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ทั้งที่ใส่เครื่องหมายแสดงตัว ปลอกแขน บัตรสื่อมวลชน และไม่มีท่าทีคุกคาม หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ใดๆเลย
.
จากสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว ที่มีสัญลักษณ์ ปลอกแขนสื่อมวลชน แต่ชีวิตของสื่อมวลชนที่อยู่ในภาคสนาม ก็ยังแขวนอยู่บนเส้นด้าย เหมือนเดิม.

related