svasdssvasds

ศบค.หวั่นยอดติดเชื้อพุ่ง หลังปรับมาตรการใหม่ พบหลายคลัสเตอร์เกิดจากงานศพ

ศบค.หวั่นยอดติดเชื้อพุ่ง หลังปรับมาตรการใหม่ พบหลายคลัสเตอร์เกิดจากงานศพ

ศบค. เผยยอดติดเชื้อรายใหม่ 12,583 ราย ดับอีก 132 คน ฉีดวัคซีนรวมกว่า 40 ล้านโดส พร้อมเปิดผลวิเคราะห์เสียชีวิตทั้งประเทศ ด้านปริมณฑล พบหลายพื้นที่เกิดคลัสเตอร์จากงานศพ แจงปรับมาตรการเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้

 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวันที่ 13 กันยายน ว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 12,583 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12,420 ราย ผู้ป่วยในเรือนจำ 163 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 1,394,756 ราย รักษาอยู่ 132,113 ราย รักษาในโรงพยาบาล 38,046 ราย และโรงพยาบาลสนาม 94,067 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 4,096 ราย และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 835 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 124,815 ราย หายเพิ่ม 16,304 ราย เสียชีวิตใหม่ 132 ราย รวมเสียชีวิต 14,485 คน 

โดยผู้เสียชีวิตรายใหม่เป็นผู้ป่วยชาย 63 ราย ผู้ป่วยหญิง 69 ราย เป็นชาวไทย 129 ราย, เมียนมา 2 รายและญี่ปุ่น 1 ราย อายุระหว่าง 21-94 ปี ค่ากลางระหว่างการทราบผลติดเชื้อจนเสียชีวิต 12 วัน นานสุด 55 วัน พบอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 100 ราย อายุน้อยกว่า 60 ปีมีโรคเรื้อรัง 26 ราย และไม่มีโรคเรื้อรัง 5 ราย  พบปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อในพื้นที่ 128 ราย, ติดจากคนรู้จัก 54 ราย, ติดจากครอบครัว 11 ราย, อาศัยในพื้นที่เสี่ยง 60 ราย และอาชีพเสี่ยง 1 ราย ตั้งครรภ์ 1 ราย ที่จังหวัดกำแพงเพชร ตรวจพบเชื้อหลังเสียชีวิต เสียชีวิตที่บ้าน 1 ราย ที่จังหวัดตากเป็นชาวเมียนมา ตรวจพบเชื้อหลังเสียชีวิต โดยมีการเดินทางจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา 3 ราย จากกรุงเทพมหานครเดินทางไปรักษาตัวจังหวัดสีแดงเข้ม 1 ราย แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 23 ราย, ปริมณฑล 52 ราย, ภาคเหนือ 12 ราย, ภาคใต้ 10 ราย ภาคอีสาน 13 ราย และภาคตะวันออก 22 ราย

 ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 12,409 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 11 ราย เป็นการค้นหาเชิงรุก/โรงงานและในชุมชน 11,232 ราย ค้นหาเชิงรุกในเรือนจำ 163 ราย และเข้าระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 1,177 ราย

 ด้านยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทยรวม 40,276,365 โดส สะสมแบ่งเป็นฉีดวัคซีนเข็มแรก 27,303,700 ราย เพิ่มขึ้น 109,213 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 12,357,581 ราย เพิ่มขึ้น 106,570 ราย และเข็มที่ 3 สะสมจำนวน 615,075 ราย เพิ่มขึ้น 106 ราย 

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ศบค.คงโซน 29 จังหวัดสีเเดงเข้ม คงเคอร์ฟิว-ทุกมาตรการคุมโควิด ถึงสิ้น ก.ย. 64

• เตรียมชง ศบค. ชุดใหญ่ ลดจังหวัดสีแดงเข้ม แต่ยังคงเคอร์ฟิว พรุ่งนี้!

• ศบค. เผยไทยติดเชื้อโควิด ลำดับ 29 ของโลก กรุงเทพฯ ครองแชมป์สูงสุด

โดยกระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวโน้มกราฟผู้ป่วยพบว่าในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 7 วันย้อนหลัง พบผู้ป่วย 468 ราย และปทุมธานีเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง พบผู้ป่วย 207 ราย ด้านจังหวัดอื่นๆในปริมณฑลมีแนวโน้มลดลง ด้านผู้ป่วยอาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบ ภาพรวมแนวโน้มจังหวัดอื่นๆ 48 จังหวัด, พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด, ภาคใต้และปริมณฑลมีภาพรวมดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจโดยรวมดีขึ้น แต่มีพื้นที่จังหวัดปริมณฑล มีจังหวัดปทุมธานี พบผู้ป่วยเฉลี่ยเจ็ดวันย้อนหลัง พบ 27 ราย และนนทบุรี พบผู้ป่วยเฉลี่ยเจ็ดวันย้อนหลัง พบ 48 ราย โดยสองจังหวัดนี้ยังคงมีกราฟเป็นสีแดงอยู่ ในส่วนของผู้เสียชีวิตจังหวัดอื่นโดยรวมดีขึ้น แต่มีจังหวัดนนทบุรี พบผู้ป่วยเฉลี่ยเจ็ดวันย้อนหลังพบผู้เสียชีวิต 4 ราย, นครปฐมเฉลี่ยเจ็ดวันย้อนหลัง พบผู้เสียชีวิต 8 รายและสมุทรปราการเฉลี่ยเจ็ดวันย้อนหลังพบผู้เสียชีวิต 17 ราย

 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ 10 อันดับแรก แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 3,329 ราย รวมสะสม 326,351 ราย,  ชลบุรี 650 ราย รวมสะสม 74,052 ราย, ระยอง 647 ราย รวมสะสม 23,825 ราย, นนทบุรี 468 ราย รวมสะสม 48,696 ราย, สมุทรปราการ 443 รายรวมสะสม 93,996 ราย, สมุทรสาคร 402 ราย รวมสะสม 83,298 ราย, นราธิวาส 401 ราย รวมสะสม 17,426 ราย, ยะลา 366 ราย รวมสะสม 15,313 ราย, สงขลา 301 ราย รวมสะสม 23,071 ราย และราชบุรี 299 ราย รวมสะสม 23,610 ราย

 ทั้งนี้นายแพทย์ทวีศิลป์ระบุว่า แผนที่ประเทศไทยยังคงมีความทรงๆอยู่ พื้นที่ทั้งหลายยังไม่เปลี่ยนแปลงขอให้ทุกคนช่วยกันดูแลสุขอนามัยส่วนตัว

 นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยกรุงเทพมหานคร 3,329 ราย จากระบบเฝ้าระวังและจากโรงพยาบาล ชาวไทย 2,636 ราย ต่างด้าว 204 ราย ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน ชาวไทย 476 รายต่างด้าว 13 ราย โดย 10 อันดับเขตที่ มีผู้ติดเชื้อสูง คือจอมทอง 279 ราย หลักสี่ 186 ราย ดอนเมือง 155 ราย บางซื่อ 140 ราย ราษฎร์บูรณะ 116 รายหนองแขม 114 ราย สายไหม 107 ราย คลองเตย 101 ราย ธนบุรี 99 ราย ห้วยขวาง 98 ราย ซึ่งระดับ 3 หลักขึ้นมาถึง 8 เขตแล้ว ทั้งนี้ประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพราะตอนนี้หลายคนพูดไปเป็นเสียงเดียวกันว่าตั้งแต่การปรับมาตรการให้เปิดกิจการกิจกรรมบางอย่าง ห้างร้านต่างๆ มีคนเข้าไปอุดหนุนจำนวนมาก และมีข้อสังเกตหลายข้อที่จะต้องช่วยกัน หากใครเห็นว่าการบริการของแต่ละที่แต่ละแห่งมีความน่ากังวลใจอย่างไรอย่างไร ทางศปม. และ เข้าไปสำรวจดูให้กิจการกิจกรรมเปิดได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดที่เราออกไป จึงฝากทุกคนช่วยกันความจริงไม่ต้องให้ทางศปม. ต้องเป็นผู้ดู เราในฐานะผู้มีส่วนได้เสียในการรับบริการ ใช้บริการ ขอให้ช่วยเป็นปากเป็นเสียงแทนเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการกิจกรรมได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดที่เราได้ออกไป เพื่อจะได้อยู่กันอย่างปลอดเชื้อในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปให้มากที่สุด 

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการเสียชีวิตรายวันที่ประชุมศปก.ศธ. ได้มีการวิเคราะห์ ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรค โควิด-19 เสียชีวิตทั่วประเทศ โดยพบว่าทิศทางแนวโน้มการเสียชีวิตต่ำลงทั้งกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ โดยนำตัวเลข 13,637 คน ตั้งวันที่ 1 เมษายน ถึง 9 กันยายน พบว่าเป็นเพศชายมากกว่า เพศหญิง 1 ต่อ 0.84 อายุสูงสุด 109 ปีอายุน้อยสุด 12 วัน ค่ามัธยฐานอยู่ที่ 67 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว 12,239 คน เช่น ความดันสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต น้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติไทย หญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิต 21 ราย เสียชีวิตทั้งประเทศ 13,637 ราย ในสถานพยาบาล 13,067 ราย คิดเป็น 95.82% นอกสถานพยาบาล 361 ราย คิดเป็น 2.65% ไม่ระบุ 209 รายคิดเป็น 1.53% เขตปริมณฑล 5 จังหวัด 3,078 ราย ในสถานพยาบาล 2,951 ราย คิดเป็น 95.87% นอกสถานพยาบาล 78 ราย คิดเป็น 2.53% ไม่ระบุ 49 ราย คิดเป็น 1.59%  

 อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เสียชีวิตนอกสถานพยาบาล 361 ราย ที่เสียชีวิตของทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 70 ปี โดย 5 อันดับแรกอยู่ที่กรุงเทพมหานคร 113 ราย สมุทรปราการ 39 ราย ปทุมธานี 30 ราย นครสวรรค์ 26 ราย และชลบุรี 13 ราย โดยพบเชื้อก่อนเสียชีวิต 170 ราย พบเชื้อวันเสียชีวิต 86 ราย ตรวจพบเชื้อหลังจากเสียชีวิต 56 ราย และไม่มีข้อมูล 67 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตนอกสถานพยาบาลเขตปริมณฑลพบว่าสมุทรปราการสาม 19 ราย ปทุมธานี 30 ราย นครปฐม 4 ราย นนทบุรี 3 ราย และ สมุทรสาคร 2 ราย ตรวจพบก่อนเสียชีวิต 35 ราย ตรวจพบเชื้อวันที่เสียชีวิต 18 รายตรวจพบเชื้อหลังจากเสียชีวิต 22 รายและไม่มีข้อมูล 3 ราย โดยเป็นเพศหญิง อายุ 70 ปีขึ้นไป มากกว่าเพศชาย 

 นอกจากนี้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตและประวัติได้รับวัคซีน แยกตามกลุ่มอายุสัปดาห์ที่ 30-35 (25 ก.ค. - 9 ก.ย.) ทั่วประเทศ 13,637 ราย ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และมีอายุมาก อัตราการเสียชีวิตจะสูง  ทั้งนี้ฉีดวัคซีนครบสองเข็ม ก่อนวันเริ่มป่วยมากกว่าสองสัปดาห์ 67 ราย คิดเป็น 0.5% ก่อนวันเริ่มป่วยน้อยกว่าสองสัปดาห์ 40 ราย คิดเป็น 0.3% ฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มก่อนวันเริ่มป่วยมากกว่าสองสัปดาห์ 980 รายคิดเป็น 7.2% ก่อนวันเริ่มป่วยน้อยกว่าสองสัปดาห์ 987 อะไรคิดเป็น 7.2% ไม่ได้ฉีดวัคซีนไม่มีประวัติได้รับบักซีนประวัติจากการสอบสวนโลกผ่านหมอพร้อม 8,803 รายคิดเป็นหก 14.6% ไม่มีข้อมูลได้รับวัคซีนในระบบหมอพร้อมหรือข้อมูลไม่ตรงกัน 2,760 ราย ทั้งนี้ในการที่จะช่วยให้ผู้เสียชีวิตลดน้อยลง คือการฉีดวัคซีน วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดโรคแต่ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต 

 นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า มีข้อมูลที่พบว่าแหล่งที่เกิดการติดโควิด-19 มีหลายจังหวัด ระบุว่า มาจากงานศพ ซึ่งตนอยู่ในเขตภาคอีสานก็ได้รับรายงานเช่นเดียวกัน โดยงานศพมีการนั่งรับประทานอาหาร ถอดหน้ากากอนามัย อยู่ใกล้ชิดกัน และใช้เวลากันพอสมควร ซึ่งจะมีการเลี้ยงอาหารเย็น หรือการพูดคุย อยู่เฝ้าศพค้างคืน ระยะเวลาของคนที่ไม่ได้พบกันก็มาเจอกันจำนวนมากกลายเป็นกิจกรรมเสี่ยงขึ้นมา บางที่มีการจัดอีเวนท์ การส่งเสริมการขายในห้างสรรพสินค้าเพราะหลายที่มีการผ่อนคลายสามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ควร ซึ่งเราจะต้องดูว่าเรื่องดังกล่าวนี้มีคนเข้ามาอยู่จำนวนมากกิจการกิจกรรมเหล่านั้นเป็นความเสี่ยงหรือไม่ และได้ทราบว่าบางครั้งก็มีการละเมิดจัดเลี้ยง นั่งกินดื่มและติดโควิด-19 ในงานเลี้ยง ส่วนตลาดก็มีรายงานเข้ามาเป็นระยะและมีการกระจายไปในหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด ร้านอาหารก็มีการติด เพราะมีการนั่งกินนั่งดื่มหลังจากเปิดให้ทำได้ สถานีขนส่ง โรงเรียนก็มีติดเชื้อเช่นกัน ดังนั้นในส่วนนี้ต้องช่วยกันลด และใช้มาตรการจนถึงสิ้นเดือนกันยายน เพื่อที่จะดูต่อว่าเดือนตุลาคมจะมีมาตรการต่างๆเพิ่มเติมอย่างไร 

 นพ.ทวีศิลป์ ระบุ ถึงกรณีที่คณะแพทย์ออกมาระบุถึงข้อกังวลในการผ่อนคลายมาตรการว่า ทางศปก.ศบค.จำเป็นต้องปรับมาตรการเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยมีการออกมาตรการและประกาศมาตรการออกไปแล้ว ซึ่งสะท้อนถึงข้อห่วงใยของประชาชน ที่พูดถึงเป็นเสียงเดียวกัน อันจะเห็นได้อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้าที่มีความหนาแน่น รถติด และพื้นที่ตลาดสด ซึ่งมีชุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในหลายเรื่อง และตนก็รู้สึกไม่สบายใจ พร้อมกับยังระบุอีกว่า เดี๋ยวก็จะมีคนไปพาดหัวข่าวว่าโทษประชาชนอีกแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่ามีข้อตกลงร่วมกันเป็นเป้าหมายเดียวกัน เพื่อคงสภาพการใช้วิถีชีวิตในช่วงที่มีโรคระบาดแบบ Smart Control and Living at covid 19 เช่นเดียวกับในต่างประเทศซึ่งมาตรการผ่อนคลายกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ทุกคนเมื่อเห็นว่าเสี่ยงก็อย่าเข้าไป หรือสถานที่นั้นเสี่ยงก็อย่าเข้าไป โดยให้คิดเสมอว่าทุกคนนั้นมีโอกาสติดโรคเสี่ยงได้ พร้อมขอประชาชนอย่าเพิ่งสบายใจและต้องขอความร่วมมือ และรู้จักปรับตัวในการใช้ชีวิตหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้มาปีกว่า โดยในช่วงท้ายยังย้ำอีกว่าขอประชาชนการ์ดอย่าตก

related