svasdssvasds

เช็กเลย! ลูกจ้างติดโควิดประกันสังคมจ่ายชดเชยทั้ง ม.33 ม.39 ม.40

เช็กเลย! ลูกจ้างติดโควิดประกันสังคมจ่ายชดเชยทั้ง ม.33 ม.39 ม.40

"ประกันสังคม" พร้อมจ่ายเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 หากติดโควิดสามารถเบิกชดเชยรายได้ ได้ตามสิทธิ์

เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ของสำนักงานประกันสังคม แจ้งกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) มาตรา 39 (ม.39) และ มาตรา 40 (ม.40) หากติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 กระทั่งขาดรายได้ สำนักงานประกันสังคมจะดูแลเยียวยา โดยเนื้อหาระบุว่า  

 สำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ว่าติดโควิด-19 สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลและแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วย เข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เคาะแล้ว วันโอนเงินเยียวยา ม.33 ม. 39 ม.40 ประกันสังคม รอบ2

• เช็กที่นี่ ! วันรับเงินเยียวยาประกันสังคม ม.39 ม.40 เริ่ม 20 ก.ย.นี้

• เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 "รอบตกหล่น" โอนเงินอีกวันไหน?

 ค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ที่ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 เบิกได้ดังนี้

• ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

• ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษาเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน

• ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

• ค่ายาที่ใช้รักษา

• ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

• ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

• ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

กรณีการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ 

• สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) จะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วงที่ 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้างแต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป

• สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท)

 ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

• กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ม.40) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

• หากผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 มีข้อสงสัย สามารถเข้าไปเช็กสิทธิ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ที่มีการให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

related