svasdssvasds

"ช้างแมมมอธ" อาจคืนชีพ ทุ่มงบวิจัย 500 ล้าน ปลุกช่วยระบบนิเวศอาร์กติก

"ช้างแมมมอธ" อาจคืนชีพ ทุ่มงบวิจัย 500 ล้าน ปลุกช่วยระบบนิเวศอาร์กติก

การปลุกชีพ คืนชีวิต "ช้างแมมมอธ" ที่สูญพันธุ์จากโลกไปแล้วเมื่อหลายพันปีก่อน ให้ฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อาจจะเป็นจริงขึ้นมาในอนาคต เพราะมีนักวิทยาศาสตร์และบริษัทสตาร์ตอัพ ทุ่มเงิน 500 ล้านบาท หวังคืนชีพ ช้างแมมมอธคืน สู่ภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ

โปรเจ็คแห่งความฝัน ปลุกช้างแมมมอธคืนชีพ
.
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า โครงการการปลุกชีพ คืนชีวิต "ช้างแมมมอธ" ที่สูญพันธุ์จากโลกไปแล้วเมื่อหลายพันปีก่อน ให้ฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ดูจะมีแสงสว่างแห่งความหวัง มีแสงที่ปลายอุโมงค์ ขึ้นมาแล้ว ณ ปี 2021
.
เพราะว่า ล่าสุด บริษัท โคลอสซอล Colossal บริษัทด้านชีววิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ที่ก่อตั้ง โดย เบน แลมม์ เจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ กับดร. จอร์จ เชิร์ช ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และผู้บุกเบิกแนวทางการตัดแต่งยีน ประกาศทุ่ม งบประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 500 ล้านบาท สำหรับโครงการปลุก "ช้างแมมมอธ" ขึ้นอีกครั้ง
.
ทั้งนี้ โลกในยุคอดีต ช้างแมมมอธเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำในยุคน้ำแข็ง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับช้างในยุคปัจจุบัน  แต่แตกต่างกันที่ตามตัวของช้างแมมมอธจะมีขนปุกปุยและมีงาที่ยาวสวยกว่า
.
โดยเมื่อ หลายพันปีก่อนพวกมันถูกมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ไล่ล่าเพื่อนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ในการดำรงชีวิต ตั้งแต่นำมาทำเป็นอาหาร ไปจนถึงเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ช้างแมมมอธสูญพันธุ์ไปแล้ว ราวๆ 4,000 ปี
.
สำหรับ โครงการปลุกชีพช้างแมมมอธนั้น ไม่ใช่การการคืนชีพให้ช้างแมมมอธแบบเพียว ๆ เท่านั้น เพราะว่าโดยทีมนักวิทยาศาสตร์วางแผนสร้างลูกผสมช้างเอเชีย-แมมมอธ โดยขั้นตอนการสร้างตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการด้วยดีเอ็นเอของแมมมอธ นำเซลล์ผิวหนังจากช้างเอเชียมาตั้งโปรแกรมใหม่ให้เป็นสเต็มเซลล์ซึ่งมี DNA ของช้างแมมมอธ
.
ในขณะเดียวกัน ทีมวิจัยที่มีความคิดจะปลุกชีวิตช้างแมมมอธนี้ ได้วิเคราะห์พันธุกรรมของช้าง 23 สายพันธุ์ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน และแมมมอธที่สูญพันธุ์ไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกเขาจะต้องตั้งโปรแกรมมากกว่า 50 รายการให้กับรหัสพันธุกรรมของช้างเอเชีย เพื่อให้มีลักษณะที่จำเป็นต่อการอยู่รอดและเจริญเติบโตในแถบอาร์กติก หรือขั้วโลกเหนือนั่นเอง โดยโปรเจ็คนี้มีเป้าหมายระยะแรกอยู่ในช่วงเวลา 6 ปี

ข่าวที่น่าสนใจ

จุดประสงค์เพื่อช่วยระบบนิเวศอาร์กติก
.
สำหรับโครงการนี้ ช้างแมมมอธที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมา นอกจากทำเพื่อการศึกษาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่า ช้างแมมมอธ มีบทบาทที่ช่วยชะลอสภาพอากาศอันเลวร้ายจากโลกร้อนในบริเวณอาร์กติก ให้กับพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนืออีกด้วย เช่น การช่วยลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และยับยั้งการกระจายของแก๊สมีเทน
.
ดังนั้น การกระทำเหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังเป็นการช่วยชะลอความรุนแรงของภาวะโลกร้อนด้วย
.
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนที่เชื่อว่าการคืนถิ่น ช้างแมมมอธพันธุ์ผสม ซึ่งเป็นการแทรกแซงระบบธรรมชาติของโลกขนาดใหญ่  เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะถ้าเรื่องนี้จะทำให้เป็นไปตามจุดประสงค์หลัก จะต้องมีช้างแมมมอธจำนวนมากมหาศาล

mammoth1

ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับการปลุดชีพแมมมอธ
.
ดร.วิกตอเรีย เฮอร์ริดจ์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กล่าวว่าผ่าน เดอะการ์เดี้ยน ว่า “ขนาดทดลองที่ต้องทำนี้มีขนาดใหญ่มาก คุณกำลังพูดถึงแมมมอธ หลายแสนตัวซึ่งแต่ละตัวใช้เวลาตั้งท้อง 22 เดือน และ 30 ปีกว่าจะโตเต็มที่”
.
อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ถูกตั้งคำถามด้านจริยธรรมพอสมควร เพราะเราไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า เมื่อมนุษย์พยายามทำตัวเป็นพระเจ้าผู้ควบคุมทุกอย่างแบบนี้ โลกในอนาคตจะกลายเป็นภาพยนตร์ Jurassic World ในโลกแห่งความเป็นจริงที่มีแต่ความวุ่นวายเพราะสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้ฟื้นคืนชีพหรือไม่ ?

 

related