svasdssvasds

ข่าวปลอม อย่าแชร์ "แซ่วี Method" เอาชนะไวรัสโควิด 19 ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์ "แซ่วี Method" เอาชนะไวรัสโควิด 19 ได้

มีกระแสข่าวที่แชร์กันกระจายว่า "แซ่วี Method" ช่วยรักษาโควิด 19 ได้ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด อย. จึงออกโรงเพื่อย้ำเตือน ว่าประชาชนอย่าหลงเชื่อและอย่าแชร์ข้อมูลผิดๆ ออกไป

ข่าวปลอมล่าสุดที่ อย. ออกมาเตือนประชาชนคือ อย่าหลงเชื่อและอย่าแชร์คลิปวีดีโอหรือข้อความที่กล่าวถึงแนวคิด “แซ่วี Method” ว่าจะรักษาโควิด 19 ได้

แนวคิด "แซ่วี Method" คืออะไร

คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxycilin) และ อะซิโธรมัยซิน (Azithomycin) รักษาโรคโควิด 19 แต่ความจริงแล้ว ยาทั้ง 2 ตัวนี้ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ช่วยรักษาการติดเชื้อจากไวรัสโควิด 19 แต่อย่างใด 

ภญ. สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทน รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์คลิปวีดีโอหรือข้อความเกี่ยวกับแนวคิด “แซ่วี Method” สามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ อะม็อกซีซิลลินและอะซิโธรมัยซิน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเตือนประชาชนว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง

ยาอะม็อกซีซิลลินและยาอะซิโธรมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาโรคหรืออาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถรักษาโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้แต่อย่างใด

Azithomycin

แยกสรรพคุณทางยาให้เห็น

ยาอะม็อกซีซิลลิน จัดอยู่ในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ หู คอ จมูก ผิวหนัง เป็นต้น

ยาอะซิโธรมัยซิน จัดอยู่ในกลุ่มแมคโครไลน์ (Macrolide) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ

อย่างไรก็ดี การรักษาโรคด้วยยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพราะหากรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ภายหลังเมื่อป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจะมีความทนต่อยามากขึ้น ทำให้ใช้ยาไม่ได้ผลนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ภญ. สุภัทรา บุญเสริม

ภญ. สุภัทรา บุญเสริม กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนผู้ที่ทำหรือเผยแพร่คลิปดังกล่าวให้หยุดการกระทำทันที หากทำให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป พร้อมขอความร่วมมือจากประชาชนอย่าเชื่อและแชร์ข้อมูลดังกล่าว

ทั้งนี้มาตรการรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจหาเชื้อ และใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ (D-M-H-T-T-A) ยังมีความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคโควิด 19

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลที่สายด่วน อย. 1556 และสามารถติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ได้ทาง

  • เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ COVID-19 แล้วคลิกไปที่ “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง”
  • เฟซบุ๊ก FDA Thai

ที่มา 

related