มลพิษทางอากาศอินเดียเข้าระดับอันตราย ผู้คนยังจุดพลุ "เทศกาลดิลาวี"
ประเทศอินเดีย กำลังเผชิญภาวะวิกฤต เจอมลพิษทางอากาศเข้าขั้นระดับอันตรายต่อชีวิตอีกครั้ง หลังจาก ประชาชนในหลายๆพื้นที่ทั่วประเทศ มีการจุดพลุเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลี หรือเทศกาลแห่งแสงสว่างทั่วประเทศ แม้ว่า ในบางพื้นที่รัฐบาลอินเดียจะสั่งห้ามจุดพลุฉลองแล้วก็ตาม
ประเทศอินเดีย กำลังเผชิญภาวะวิกฤต เจอมลพิษทางอากาศเข้าขั้นระดับอันตรายต่อชีวิตอีกครั้ง หลังจาก ประชาชนในหลายๆพื้นที่ทั่วประเทศ มีการจุดพลุเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลี หรือเทศกาลแห่งแสงสว่างทั่วประเทศ แม้ว่า ในบางพื้นที่รัฐบาลอินเดียจะสั่งห้ามจุดพลุฉลองแล้วก็ตาม
.
หากโฟกัสไปที่เมืองหลวงนิวเดลี ของอินเดียแล้ว ยิ่งเจอภาวะของมลพิษทางอากาศที่หนักหน่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องเจอกับการปล่อยก๊าซมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว รวมถึงยังต้องเจอมลพิษจากรถยนต์จำนวนมาก และ ณ เวลานี้ ช่วงสัปดาห์นี้อินเดีย ยังเจอกับ ควันจากการจุดพลุในการฉลองเทศกาล ดิวาลี หรือเทศกาลแห่งแสงสว่าง
.
สำหรับ เทศกาลดิวาลี เป็นเทศกาลของผู้นับถือศาสนาฮินดู และเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของปีในอินเดีย และเป็นช่วงเวลาสำหรับการฉลองชัยชนะเของแสงสว่างเหนือความมืด ความดีเหนือความชั่ว และความรู้เหนือความเขลา ความไม่รู้ ซึ่งในปีนี้ เทศกาลดิวาลี Diwali ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2-6 พฤษจิกายน
.
ทั้งนี้ ค่าดัชนีคุณภาพอากาศโดยรวม หรือ AQI แบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่
ระดับดี (0-50)
ระดับพอใช้ (51-100)
ระดับปานกลาง (101-200)
ระดับแย่ (201-300)
ระดับแย่มาก (301-400)
และระดับรุนแรง (401-500)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
190 ประเทศ และองค์กรร่วม ให้คำมั่น ตั้งเป้าเลิกใช้ถ่านหิน จากเวที COP26
-
ธารน้ำแข็งในทวีปแอฟริกา อาจละลายหมดในยุค 2040s วิกฤต Climate change
-
ภาพถ่ายเปลือยหมู่ และศิลปะจัดวาง ที่ทะเลเดดซี สะท้อนโลกที่เปลี่ยนไป
แต่ ค่าดัชนีคุณภาพอากาศโดยรวม หรือ AQI ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงอินเดีย ขึ้นไปอยู่ที่ตัวเลข 617 (ขณะที่ บีบีซี รายงานว่า บางจุดขึ้นไปแตะตัวเลข 999 ) เลยทีเดียว
ที่จริงแล้ว ในเขตพื้นที่นิวเดลี มีการห้ามการจุดพลุอย่างเคร่งครัด แต่ประชาชนก็ยังจุดพลุอยู่ ซึ่งนั่นส่งผลให้ เมืองนิวเดลี มีมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับที่รุนแรง กล่าวคือ มลพิษทางอากาศของนิวเดลี เข้าขั้นสูงสุดแล้ว
อินเดีย ถือเป็นประเทศที่ต้องเจอกับมลพิษทางอากาศ เกือบตลอดเวลา โดยเมื่อปี 2020 เมืองนิวเดลี ทำลายสถิติ มีค่า PM 2.5 ทำสถิติสูงสุด เกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดถึง 14 ครั้ง
.
นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาระบุว่า ผู้คน 480 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ต้องเผชิญกับ มลพิษทางอากาศขั้นเลวร้ายที่สุดในโลก