svasdssvasds

สธ.จ่อชง ศบค.ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สีแดงเข้ม-สีส้ม ปิดร้านอาหารกึ่งผับ

สธ.จ่อชง ศบค.ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สีแดงเข้ม-สีส้ม ปิดร้านอาหารกึ่งผับ

กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอ ศบค. ปรับสีพื้นที่การระบาดคุมโควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ พร้อมเสนอปิดร้านอาหารกึ่งผับบาร์

 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยภาพรวมแนวโน้มการแพร่ระบาดโควิด-19 จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้  ขอให้ประชาชนงดไปสถานที่เสี่ยงต่างๆ เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ ในจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาด และเป็นผู้ติดเชื้อที่มาจากร้านอาหารกึ่งผับบาร์ โดยเป็นสิ่งที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการย้ำเตือนมาตั้งแต่ก่อนช่วงปีใหม่ 

 การระบาดโควิด-19 ในรอบนี้ หากดูในกลุ่มอาการของผู้ติดเชื้อก็ยังถือว่าไม่มาก การปรับมาตรการต่างๆ ก็เพื่อเป็นการชะลอการแพร่ระบาด

 ซึ่งการเตือนภัยโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จะเป็นสิ่งที่จะขอร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ให้งดหรือเลี่ยงสถานที่เสี่ยงกิจกรรมเสี่ยง แต่ยังไม่ถึงขั้นห้ามทำอะไรเลย เช่น งดการเข้า สถานที่เสี่ยง เช่น สถานที่ระบบระบายอากาศไม่ดี สถานที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เป็นสถานที่มีการใส่หน้ากากอนามัยน้อย ที่เห็นชัด คือ ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ ที่เกิดการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์ เช่น จ.กาฬสินธุ์ งดร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมหมู่มาก ส่วนเดินทางข้ามจังหวัด ยังสามารถเดินทางได้ปกติ แต่ขอให้ระมัดระวัง และเดินทางข้ามจังหวัดเท่าที่จำเป็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เช็กมาตรการสาธารณสุข ยกระดับเตือนภัย ระดับ 4 หลัง "โควิด" ระบาดระลอก 5

• จับตา 7 ม.ค. นี้ ศบค.เคาะมาตรการรับมือโอไมครอนเพิ่ม

• ศบค.จ่อเคาะยกระดับโซนสี-เข้มกิจกรรมรวมกลุ่ม หวั่นคลัสเตอร์ร้านกึ่งผับ

 อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ งดกิจกรรมเสี่ยงที่ไม่จำเป็นต่อการเดินทางให้ได้มากที่สุด หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายก็ให้ตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit

 ทั้งนี้ หากปรับพื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม-สีส้ม ข้อสำคัญคือ จะไม่สามารถดื่มสุราในร้านอาหารได้ ซึ่งศบค.จะเป็นผู้กำหนดอีกครั้ง โดยพรุ่งนี้ ศบค.ชุดใหญ่ จะมีการพิจารณาการปรับพื้นที่สี และเสนอปิดร้านอาหารกึ่งผับบาร์ 

 นายแพทย์โอภาส ยังอธิบายเพิ่มเติม การป้องกันโรค โอมิครอนไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้ามาก มาตรการที่ใช้ในการควบคุม โควิดสายพันธุ์เดลต้าก็ยังใช้ได้ดีกับโอมิครอน  แต่สิ่งที่จะแตกต่าง
โอมิครอน  ก่อโรคน้อยกว่า. 

 ส่วนการสอบสวนโรค คือ

• ต้องยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อจริงหรือไม่ ดูจากผลทางคลินิก และระบาดวิทยา

• ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค

• ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การควบคุมผู้สัมผัสของโรค สืบประวัติเสี่ยง สถานที่เสี่ยงต่างๆ

 ขณะที่การเปิดโรงเรียน หากมีการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข ลดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆก็สามารถที่จะเปิดเรียนได้ ซึ่งมาตรการทางกฎหมายต่างๆ ที่จะบังคับใช้ต้องรอศบค. เป็นผู้พิจารณา 

 ส่วนที่จะมีการจัดกิจกรรมวันเด็ก นพ.โอภาส ระบุว่า โรงหนังหากมีการจัดกิจกรรม สามารถทำได้ หากมี ระบบระบายอากาศที่ดีก็ถือว่าไม่เสี่ยง ลดความแออัด การจัดทำกิจกรรมในวันเด็ก ถ้าเป็นกิจกรรมที่ไม่หนาแน่นก็สามารถที่จะจัดได้ สุดท้ายแล้วต้องประเมิน สถานการณ์ให้ดีว่าคุ้มหรือไม่กับการที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งในส่วนกิจกรรมงานวันเด็กต่างๆ กระทรวงศึกษาจะเป็นผู้พิจารณา

 โดยภายในเดือนมกราคม กรมควบคุมโรคตั้งเป้าฉีดวัคซีนโควิด-19รวมทุกกลุ่ม รวมทุกเข็ม1-4 ให้ได้  10 ล้านโดส เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด 

 ขณะเดียวกัน ยืนยันว่าในน้ำประปาไม่มีเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน เนื่องจากในน้ำประปามีคลอรีน ขอให้ประชาชนใช้ชุดตรวจคัดกรองโควิดให้ถูกวิธี

related