svasdssvasds

ธารน้ำแข็งบนเอเวอเรสต์ ละลายเร็วกว่าอัตราการก่อตัว 80 เท่า

ธารน้ำแข็งบนเอเวอเรสต์ ละลายเร็วกว่าอัตราการก่อตัว 80 เท่า

ปัญหา Climate change เป็นเรื่องใหญ่อีกแล้ว เมื่อมีการพบว่า ธารน้ำแข็งบนยอดเขาเอเวอเรสต์ กำลังละลายเร็วกว่าอัตราสะสมถึง 80 เท่า หากเทียบกับช่วงเวลาที่มันก่อตัวเป็นนำแข็งขึ้น ชี้น้ำแข็งบางลงไปถึง 54 ม. ในเวลา 25 ปี ขณะที่ต้องใช้เวลาสะสมกว่าน้ำแข็งจะหนาแบบนี้ถึง 2,000 ปี

สำนักข่าวบีบีซี เผยแพร่ ข้อมูลที่ดูน่าตกใจกับสถิติ และน่าจะเป็นผลกระทบมาจากเรื่องราว Climate change ที่กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่ของโลก รวมถึงน่าจะมีปัจจัยโลกร้อน เมื่อ ธารน้ำแข็งบนยอดเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาสูงที่สุดในโลก  กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ โดยธารน้ำแข็งบางจุด ละลายบางลงไปถึง 180 ฟุต หรือ 54.8 เมตร ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา

และ หากคิดเป็นอัตราช่วงเวลาน้ำแข็งละลาย เทียบกับ ช่วงเวลาที่สะสมธารน้ำแข็งมาได้ถึงจุดนี้ คงต้องบอกว่า ธารน้ำแข็งละลายหายไปในระดับที่ต้องใช้เวลา 2,000 ปีในการก่อตัว หรือละลายเร็วกว่าการก่อตัวถึง 80 เท่าเลยทีเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวนี้เกิดจากการศึกษาของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นศึกษาและเก็บข้อมูลสถิติมาตั้งแต่ยุค 1990s และเมื่อปี  2019 ทีมนักวิจัยและนักปีนเขา 6 คน จากมหาวิทยาลัยเมน ประเทศสหรัฐฯ เดินทางขึ้นไปยังธารน้ำแข็งเซาธ์โคล (South Col) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกอย่างเอเวอเรสต์ (Everest) กับยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 4 ของโลกคือลอตเซ (Lhotse) จนได้ชื่อว่าเป็นธารน้ำแข็งที่อยู่สูงที่สุดในโลก เพราะอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลถึง  7,906 เมตร (25,938 ฟุต)  และได้พบข้อมูลว่า ธารน้ำแข็งบริเวณนี้ เจอ ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากน้ำมือมนุษย์ มาเป็นเวลามากกว่า 2 ทศวรรษ

ธารน้ำแข็งบนเอเวอเรสต์ ละลายเร็วกว่าอัตราการก่อตัว 80 เท่า เพราะClimate change

การค้นพบตัวเลขสถิติที่น่าตกใจครั้งนี้  ไม่เพียงแต่ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate change  จากมนุษย์ส่งผลไปถึงพื้นที่สูงสุดในโลกเท่านั้น แต่ Climate change ยังทำลายสมดุลที่สำคัญด้วย 
.
โดยการวิจัยพบว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งจุดนี้สูญเสียน้ำแข็งไป180 ฟุต หรือ 54.8 เมตร  ซึ่งการละลายที่มากขนาดนี้ จะทำให้ธารน้ำแข็งไม่สามารถสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ได้อีกต่อไป ทำให้จะละลายเร็วยิ่งขึ้น 
.
รายงานชิ้นนี้ ถือได้ว่าสอดคล้องกับ ข้อมูลที่มีการเปิดเผยก่อนหน้านี้ในปี 2021 ที่พบว่า ในช่วง 20 ปี นับตั้งแต่เปิดศักราชศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา (2001-2021) โลกต้องสูญเสียน้ำแข็งไปแล้วเกือบๆ 270 ล้านตัน

related