svasdssvasds

จีนล็อกดาวน์ ถือเป็นความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก

จีนล็อกดาวน์ ถือเป็นความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก

การที่ประเทศจีนประกาศล็อกดาวน์ เพื่อคงนโยบาย "ปลอดโควิด/โควิดศูนย์ราย" เพื่อเป็นการต่อสู้กับโรคระบาด ถือเป็นความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก เพราะเศรษฐกิจจีนใหญ่เป็นอันดับสองโลก

เป็นเวลาเกือบ 3 สัปดาห์แล้วที่สงครามรัสเซีย - ยูเครน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยตรง ตลาดการซื้อขายดิ่งเหว หุ้นแดงทั้งกระดาน ราคามันดีดตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาข้าวของแพงขึ้นด้วย แต่ไม่ใช่เพียงแค่ผลกระทบจากสงครามระหว่างประเทศเท่านั้น

จากอีกสาเหตุหนึ่งมาจากสงครามต่อโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยรัฐบาลจีนมุ่งมั่นต่อนโยบาย "ปลอดโควิด/โควิดศูนย์ราย" เพื่อเป็นการเอาชนะต่อโรคระบาด ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เริ่มหันมาใช้แนวทางอยู่ร่วมกับโควิด-19 กันแล้ว

ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก โดยมีเซินเจิ้น (Shenzhen) เป็นเมืองศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ถูกล็อกดาวน์มาเป็นระยะเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ หลังจากที่พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 66 ราย ธุรกิจทั้งหมดต้องหยุดดำเนินการเว้นบริการที่จำเป็น ผู้คนต้องทำงานจากที่บ้านเข้ามา

ในขณะที่เมืองเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ศูนย์กลางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนและเอเชีย ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดเช่นกัน หลังจากยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงขึ้น โรงเรียนและโรงภาพยนตร์ถูกปิด รวมไปถึงการจำกัดการเดินทางเข้าเมือง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

Foxconn บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติไต้หวัน หนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของ Apple ได้ระงับการดำเนินงานในสองโรงงานหลักซึ่งตั้งอยู่ในเซินเจิ้น และพยายามย้ายฐานการผลิตไปยังที่อื่นเพื่อ "ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น" จากการหยุดชะงักของสายพานการผลิต แต่ไม่ได้ระบุว่าจะย้ายไปยังสถานที่ใด

ความไม่แน่นอนของสายพานการผลิตของ Foxconn เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการตอบสนองของจีนต่อยอดผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะแพร่กระจายไปทั่วโลกอีกครั้ง โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาประเทศจีนรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศกว่า  2,125 ราย ใน 58 เมือง

การล็อกดาวน์ในจีนอาจส่งผลให้ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งจากเดิมที่สูงมากอยู่แล้วยิ่งสูงขึ้นไปอีก และแย่งชิงห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ยังคงพยายามจัดการกับความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด

นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารไอเอ็นจี (International Netherlands Group: ING) เผยกับลูกค้าว่า "หากพบผู้ป่วยโควิด-19 ในท่าเรือหยานเถียน [ในเซินเจิ้น] อาจมีการระงับท่าเรืออย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อการส่งออกและนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสินค้า"

นั่นอาจทำให้เงินเฟ้อแย่ลงไปอีก การใช้จ่ายภายในประเทศจีน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเติบโตของประเทศ อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่ออกมากำกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่

"นี่เป็นสถานการณ์โควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุดในจีนอย่างแน่นอน นับตั้งแต่การปิดเมืองอู่ฮั่น และคุกคามแนวโน้มการเติบโต เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศจะได้รับผลกระทบอีกครั้ง" นักเศรษฐศาสตร์ของ Commerzbank Hao Zhou and Bernd Weidensteiner ระบุ

เป้าหมายการเติบโตของจีนที่ประมาณ 5.5% ในปีนี้นั้นต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษแล้ว เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว 8.1% ในปี 2564 แต่อัตราการเติบโตลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนสุดท้ายของปี

related