svasdssvasds

จรจัดสรร ที่พักพิงและสวัสดิภาพความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อหมาจรในชุมชน

จรจัดสรร ที่พักพิงและสวัสดิภาพความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อหมาจรในชุมชน

โครงการดีต่อใจ จรจัดสรร เพื่อหมาจร มีที่พักพิงในวันอากาศร้อน สร้างชุมชนน่าอยู่ คนและหมามีสวัสดิภาพที่ดี เหมาะสม ปลอดภัย ไปพร้อมกัน

ปัญหาสุนัขจร ในชุมชนที่ต้นเหตุเกิดจาก คน กลายเป็นปัญหาหนึ่งในชุมชนเมืองทั้งกรุงเทพฯและจังหวัดโดยรอบ ที่ถูกปล่อยปละละเลยมานาน จนกลายเป็นภาพคุ้นชิน ทัศนคติคนที่มีต่อหมาจร ก็มีทั้งให้ความเอ็นดูช่วยกันหาข้าว หาน้ำให้กิน หรือ มองเป็นส่วนเกินที่ต้องกำจัด เพราะนอกจากไม่มีเจ้าของรับผิดชอบ ก็ยังสามารถเป็นอันตรายต่อคนในชุมชนเองอีกทาง


โครงการดีต่อใจนี้มีชื่อว่า จรจัดสรร เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยในระดับ ระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ของ อาจารย์ ยศพร จันทองจีน อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์จัดสร้าง สถาปัตยกรรมขนาดเล็ก เพื่อเป็นที่พักพิงสุนัขจรจัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในสังคมตระหนักและรับรู้ถึง ปัญหาสุนัขจร ปรับภูมิทัศน์ในชุมชนและหมาจรได้มีสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้คนและหมาจรสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยหวังว่าจะเป็นสื่อกลางในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างคนทุกกลุ่ม แม้จะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาสุนัขชุมชนที่ต้นเหตุ แต่ก็ช่วยในการปรับมุมมองด้วยความเห็นอกเห็นใจหัวใจของน้องหมาที่ต้องเผชิญสภาพอากาศร้อนไม่ต่างกันกับคนเรา  

ทั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากน้องหมาจรในชุมชน จนตอนนี้ที่พักถูกจับจองเต็มหมดครบทุกยูนิตแล้วโดยตอนนี้มีโครงกรางต้นแบบอยู่ที่ วัดนางนอง และ เมืองทองธานีจากโพสต์ที่ได้รับการแชร์ต่อๆ กันนี้ เป็นภาพจาก โครงการ จรจัดสรร ในโครงการสุนัขชุมชนเมืองทองธานี ที่ทำงานร่วมกันกับโครงการสุนัขชุมชน เพื่อดำเนินการเข้าไปติดตั้ง บานพับ หลบแดดนี้ในบริเวณพื้นที่

ส่วนคนที่สนใจอยากติดตั้งที่พักพิงนี้ในบริเวณชุมชนของตัวเอง ทางโครงการ จรจัดสรร แนะนำว่า ให้พูดคุยกับเพื่อนบ้านและคนในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันก่อนโดยส่วนใหญ่ที่ติดต่อเข้ามาจะเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งต้องรับผิดชอบในส่วนของการดูแล ทำหมัน ฉีดวัคซีน และทำความพื้นที่โดยรอบด้วย

การจัดการ ปัญหาสุนัขจร เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขดูแล กำหนดนโยบาย ควบคุม ผ่านการบังคับใช้กฏหมาย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยแนวทาง ปัญหาสุนัขจร ที่ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกำลังทำร่วมกันอยู่คือ 

  1. การทำหมัน สุนัขในชุมชนและปล่อยกลับคืนที่เดิม เนื่องจากศูนย์พักพิงมีพื้นที่ไม่เพียงพอรองรับ
  2. การฉีดวัคซีนและดูแลความสะอาดสุนัขตามชุมชน เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน และป้องกันปัญหาที่จะเกิดในภายหลัง

แท้จริงแล้ว ปัญหาสุนัขจร เป็นการผลักภาระความรับผิดชอบให้สังคมของคนเลี้ยงที่ไม่มีจิตสำนึก แต่แม้เราเองจะไม่อยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา แต่ก็ล้วนได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน การร่วมกันตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ทุกคน ไม่ละเลยทุกสิ่งมีชีวิตในสังคมเมือง ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมร่วมกัน

ที่มา
1 2