svasdssvasds

แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสาร ปัญหาหลังฝนตกในกรุงเทพฯ ที่เวียนกลับมาให้หัวจะปวด

แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสาร ปัญหาหลังฝนตกในกรุงเทพฯ ที่เวียนกลับมาให้หัวจะปวด

ฝนตก น้ำท่วม ซ้ำด้วยการโดนแท็กซี่ไม่รับ ชีวิตคนกรุงเทพฯ ที่ยังพูดได้ว่าดีได้ไม่ถนัดนัก แต่ถึงแม้จะสู้ชีวิตขนาดไหนก็ตาม การเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ก็ช่วยให้ส่งเสียงความอัดอั้นระบายออกไปสู่หูผู้มีหน้าที่ดูแลได้บ้าง

เวียนมาถึงหน้าฝนในกรุงเทพฯ นอกจากต้องเจอ น้ำท่วม ไม่ใช่สิต้องเรียก น้ำรอระบาย ยังต้องสู้รบกับปัญหา แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสาร

เมื่อมีฝนตกในกรุงเทพฯ อีกปัญหาหนึ่งที่คนเมืองต้องเจอ คือการลุ้นว่า เรียกแท็กซี่แล้วจะจอดรับคันที่เท่าไหร่ โดยเฉพาะช่วงเลิกงานหรือบริเวณในโซนจราจรคับคั่ง ถ้าใครไม่ได้เช็กสภาพอากาศ ลืมติดร่มพกใส่กระเป๋ามาด้วยแล้วก็คือพังพินาศ ยืนเปียกโชก ชะเง้อรอรอรถเมล์ ก็ไม่มีวี่แวว รถยนต์ส่วนตัวขับผ่านก็ไม่เคยชะลอเห็นใจคนยืนริมถนน ตัดใจขึ้นแท็กซี่ก็ยังโดนเทแล้วเทอีก ไม่รู้ว่าพี่คนขับอยากไปไหน 

รถแท็กซี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการขนส่งสาธารณะของคนในกทม.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่แปะป้ายสโลแกนเตือนใจไว้ว่า ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง เปลี่ยนเสียงบ่นให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้ข้อมูลไว้ว่า แท็กซี่ที่เปิดไฟต้องรับผู้โดยสาร (มีจุดหมายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)

ตามพ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารโดยไม่มีเหตุอันควร ถือเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และเป็นข้อหาที่ต้องถูกบันทึกคะแนน 20 คะแนน อีกทั้งยังถูกยึดใบอนุญาตขั้บขี่อีกด้วย สำหรับผู้โดยสารที่ถูกปฏิเสธควรรักษาสิทธิ์ของตน จดจำทะเบียน สีรถ และชื่อผู้ขับรถซึ่งติดอยู่ในใบอนุญาตหน้ารถ

แจ้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ สายด่วน 1584

หรือกองบังคับการตำรวจจราจร สายด่วน 1197 ให้ดำเนินการ  

ส่วนในเว็บไซต์สามารถเข้าไปยื่นร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทได้ ที่นี่  ทั้งนี้ยังสามารถติดตามผลได้โดยการใส่เลขบัตรประชาชนและวันที่แจ้งเรื่องร้องเรียนก็ตรวจสอบกระบวนขั้นตอนการทำงานได้ง่ายๆ 

รูปแบบหน้าตาและรายละเอี่ยดบนเว็บไซต์สำหรับยื่นเรื่องร้องเรียน

จากข้อมูลกรมการขนส่งทางบกปี 2561 พบว่า สถิติร้องเรียนรถแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร ถึง 50,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10,000 ครั้ง ทั้งนี้ได้มีการติดตามดำเนินการลงโทษได้คิดเป็นร้อยละ 80 จากข้อร้องเรียนทั้งหมด

นอกจากปัญหา แท็กซี่ไม่รับ ผู้โดยสารโบกจนมือหงิก ยังพบปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น 

  • ส่งรถหรือแก๊สหมด 
  • ขับรถไม่สุภาพ 
  • พูดจาและแสดงกิริยาไม่เหมาะสม 
  • อาชญากรรม

ส่วน QR code นี้เป็นของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สแกนเก็บไว้ รักษาสิทธิของเราเอง เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่เป็นธรรมไม่ว่าจะเรื่องแท็กซี่หรือเรื่องที่กระทบกับผู้บริโภคสามารถเมื่อไหร่แจ้งทันที บ่นด้วย ร้องเรียนด้วย ปัญหานี้จะได้ไม่ถูกเก็บไว้กับตัวแต่ยื่นให้กับหน่วยงานรับผิดชอบเร่งแก้ไขให้จริงจังเสียที 

สแกนโค้ดของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องสิทธิของประชาชน

ไหนๆ ก็ใกล้จะเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ทั้งนี้จะได้รับเรื่องร้องเรียน พร้อมสังคายนาปัญหาพร้อมกัน ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ของเมืองหลวงมีงานรอให้ทำและประสานงานกับหน่วยงานอีกเพียบ 

ที่มา 
1 2