svasdssvasds

ฝีดาษลิงโรคติดต่อจากสัตว์ แพทย์เตือน พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงแก่ชีวิต

ฝีดาษลิงโรคติดต่อจากสัตว์ แพทย์เตือน พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงแก่ชีวิต

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ตระกูลแทะ เช่น หนู ลิงไม่มีหาง และกระต่าย มีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 10 เปอร์เซ็น แม้พบได้ไม่บ่อยในทั่วไปขณะนี้ แพทย์ผิวหนังแนะนำให้สังเกตอาการและป้องกันตัวเองเบื้องต้นเพื่อเลี่ยงความเสี่ยง

โรคฝีดาษลิง ที่กำลังระบาดอยู่ในยุโรป ขณะนี้ อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ได้เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษในโปรตุเกส 6 ราย และมีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยอยู่ระหว่างตรวจวินิจฉัย อีกกว่า 12 ราย โดยในรายงานระบุว่า โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และสามารถติดต่อไปยังสัตว์อื่น โดยเฉพาะในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน 

สรุปข้อมูลฝีดาษลิง จากสถาบันโรคผิวหนัง

โดยแบ่งลักษณะการติดต่อออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ 

1.การติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สามารถติดต่อกันช่องทางการต่างๆ ดังนี้ 

  • สัมผัสผิวหนัง
  • เยื่อเมือกเช่น จมูก ปาก หรือตา กับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค 
  • สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง 
  • การนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร 
  • การถูกสัตว์ป่วย ข่วน กัด หรือสัมผัส 
  • เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น 

2.การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ สามารถติดต่อกันช่องทางการต่างๆ ดังนี้ 

  • ละอองฝอยทางการหายใจขนาดใหญ่ 
  • จากการอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะประชิด 
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย การสัมผัสเลือด หรือรอยโรคที่ผิวหนัง หรือ ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลังจากได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 7-14 สัปดาห์ และอาจใช้เวลานานถึง 21 วันในบางกรณี  

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการเริ่มต้นจะมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต โดยได้ให้ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างฝีดาษลิงและฝีดาษตามลักษณะอาการไว้ดังนี้ โดยเริ่มจาก

  1. ถ้าในฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับใน ฝีดาษลิง 
  2. ภายใน 1 – 3 วัน หลังจากมีอาการดังกล่าว  จะเริ่มมีผื่นขึ้นโดยเริ่มมีผื่นบริเวณใบหน้าแล้วลามไปที่ผิวหนังส่วนอื่น
  3. จากผื่นจุดแดง นูนขึ้นเป็นตุ่ม แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง และแตกออกเป็นสะเก็ดในที่สุด

โดยอาการของโรคตั้งแต่แรกจนจบจะกินเวลาอยู่ที่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขณะนี้ อัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้การตรวจด้วยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง

ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคฝีดาษลิง ได้แก่ ยาต้านไวรัส cidofovir , Tecovirimat, brincidofovir โดยในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ใช้วัคซีนที่ชื่อว่า JYNNEOS เพื่อป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้น

ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไปจาก ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง มีดังนี้

  • แนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล 
  • งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ

สำหรับในกรณีที่พบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้  หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง เพื่อป้องกันความเสี่ยงด่านแรก